ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ข้าวหลาม

โดย : นายสมศรี พันเดช วันที่ : 2017-05-16-18:26:53

ที่อยู่ : 28 หมู่ 5 ตำบลเสือเฒ่า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ครอบครัวมีอาชีพด้านการเกษตรมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และได้มีการถ่ายทอดให้กับลูกหลาน เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาการร้อยมาลัย  การทำอาหารต่าง  ทำขนม  ข้าวหลาม  เพื่อเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย มีอาหารไว้บริโภคในครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

2. กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวัง ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ

          การทำข้าวหลาม   ไผ่ ที่ใช้ทำข้าวหลามไม่ใช่ว่าเป็นไม้ไผ่ก็จะทำได้ทุกชนิด จะมีบางชนิดเท่านั้นที่ใช้ทำข้าวหลามได้ดี แต่ข้อสังเกตคือ ทุกจังหวัดทำข้าวหลามขายแต่ไม่มีไผ่ให้เห็น ไม่มีการปลูกไผ่ ไม่ส่งเสริมการปลูกไผ่ แต่ใช้ไม้ไผ่จำนวนมากมายมหาศาลต่อวัน ใช้แล้วก็กลายเป็นวัสดุไร้ค่า เป็นเพียงเศษไม้อย่างมากก็ทำเชื้อเพลิง แต่บ้านที่ไม่ใช้ฟืนหุงต้มก็จะทิ้งขว้างเป็นขยะต่อไปไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ชนิดของไผ่ที่เหมาะในการทำข้าวหลามสามารถ เรียงจากคุณภาพได้ดังนี้

1. ไผ่ข้าวหลาม   เป็นคุณสมบัติพิเศษ คือ ปล้องยาว 30 - 60 เซนติเมตร มีขนาดหลายแบบทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ และเยื่อไผ่ร่อนดีมาก ทำให้การปลอกออกจากลำไผ่ได้ดีมีทั้งความหอมได้รูปทรงของข้าวหลาม

2. ไผ่ป่า  เป็นไผ่พื้นเมืองที่ให้เยื่อดีมีอยู่ทั่วไป ลำต้นตรงข้อพองแต่เนื้อไม่หนา มีปล้องภายในประมาณเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 - 2.5 นิ้ว

3. ไผ่สีสุก  เป็นไผ่ขึ้นตรงลำยาวปล้องยาวและใหญ่แต่เยื่อไม่ค่อยร่อนแต่ก็สามารถใช้ได้

ข้าวสารเหนียว  เป็นข้าวเหนียวชนิดดี เมล็ดยาวเมื่อสุกมีความหวานอ่อนนุ่ม

มะพร้าว  ส่วนที่ใช้เป็นส่วนผสมโดยคั้นเป็นกะทิ จะต้องสะอาดไม่ปนเปื้อนให้มีเฉพาะเนื้อมะพร้าวที่ขาวสะอาดคั้นเป็นหัวกะทิ กรณีบ้านเราจะใช้ไม้ไผ่ป่าเป็นหลักลำหนึ่งใช้ได้ 10 ปล้อง

สูตรการทำข้าวหลาม

1. ข้าวเหนียวชนิดดำหรือขาว จำนวน 1 ถัง

2. น้ำตาลทราย จำนวน 4 กิโลกรัม

3. น้ำกะทิ จำนวน 10 กิโลกรัม

4. เกลือ จำนวน 2 - 3 ขีด

ข้าวหลามไส้สังขยาหรือไส้ถั่วดำ ไส้สังขยาจะใช้ไข่ กะทิ น้ำตาล ตีให้เข้ากันให้มีความข้นพอดี

วิธีทำ

1. นำเข้าเหนียวที่จะทำ นำไปแช่น้ำช่วงเวลาเย็น

2. ทำการคั้นกะทิไว้ควรคั้นสดในช่วงเช้าจะดี

3. รุ่งขึ้นตอนเช้าซาวข้าวเหนียวที่แช่ไว้นำมาใส่กะทิ น้ำตาล และเกลือ คลุกเคล้าให้เข้ากัน

4. นำข้าวเหนียวที่ผสมใส่ลงไปในกระบอกไม้ไผ่ที่ได้เตรียมไว้แล้ว ให้น้ำท่วมเมล็ดข้าวเหนียวให้เหลือพื้นที่ปากกระบอกไม้ไผ่ไว้ประมาณ 2 นิ้ว

5. นำไปเผาไฟโดยใช้ความร้อนปานกลางเผาให้สุกอย่าให้ไฟลุกจะทำให้ไหม้กระบอก ควรเป็นลักษณะไฟถ่าน ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง

6. ถ้าจะใส่ไส้สังขยาหรือถั่วดำให้เปิดจุกแล้วใช้ไม้สะอาดขนาดเท่านิ้วมือเราแทงลงไปตรงกลางข้าวหลามให้เป็นรูแล้วนำสังขยาเทใส่ ปิดฝาอุด แล้วนำไปเผาต่อให้สุกใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

7. เมื่อสุกแล้วยกลงปอกเปลือก กระบอกไม้ไผ่ออก จะได้ข้าวหลามรสสังขยาหรือถั่วดำ หรือแม้แต่ไส้อื่น ๆ ก็ทำได้เช่นกัน

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา