ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำลูกประคบ

โดย : นางบุบผา จินารักษ์ วันที่ : 2017-05-14-20:53:30

ที่อยู่ : ๗ หมู่ที่ ๓ ตำบลเหล่า อำเภอโกสุมพิสัย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

อยากให้คนในชุมชน หันมาใช้สมุนไพรในการรักษาโรคต่างๆลูกประคบ เป็นการ

ประคบด้วยสมุนไพร เป็นวิธีการบำบัดรักษาของการแพทย์แผนไทยซึ่งใช้ควบคู่กับการนวดไทย

วัตถุประสงค์ ->

1.              เพื่อให้ชุมชนใช้สมุนไพรในการรักษาโรคต่าง ๆ  และหาวัตถุดิบในชุมชนได้

2.             เป็นการรักษาภูมิปัญาของชุมชน

3.             เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

          1.พวกสมุนไพร     

               -หัวพาย                                -ขมิ้น

               -ตะไคร้                                 -ใบมะกรูด

               -ใบส้มป่อย                            -ใบมะขาม

               -ใบเป้า                                 -ใบนาด

2.พิมเสน                                                        

3. การะบูน

 

 

 

 

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์

1.    เขียง 1 อัน และมีด 1 เล่ม

  1. ตัวยาสมุนไพรรวมที่ใช้ทำลูกประคบสมุนไพร
  2. ผ้าดิบสำหรับห่อทำลูกประคบสมุนไพร 2 ผืน และเชือก 2 เส้น ยาว 1 เมตร
  3. หม้อนึ่งลูกประคบสมุนไพร

      5.    กะละมัง ถุงมือ ผ้าขนหนู

      6 .จานรองลูกประคบสมุนไพร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการทำลูกประคบสมุนไพร

1.             เตรียมสมุนไพรให้พร้อมก่อนลงมือปรุงตามสูตรลูกประคบสมุนไพร หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ โขลกพอแหลก นำสมุนไพรชั่งน้ำหนักแต่ละชนิดตามสูตรมาตรฐานที่กำหนดไว้

2.             นำส่วนผสมทั้งหมดของลูกประคบสมุนไพรมาคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน เมื่อส่วนผสมเข้ากันดีแล้วให้นำมาทดสอบน้ำหนักรวมกันอีกครั้งหนึ่ง

3.             นำส่วนผสมสมุนไพรลูกประคบมาใส่ในผ้า ห่อเป็นลูกประคบสมุนไพร รัดด้วยเชือกให้แน่น พร้อมใช้

 วิธีการห่อลูกประคบสมุนไพร
 

1.             นำส่วนผสมสมุนไพรของลูกประคบมาวางตรงกลางผ้า เริ่มต้นจับมุมผ้า 2 มุม ขึ้นมาทบกัน โดยจับทีละมุมจนครบทั้ง 4 มุม จากนั้นจะเกิดมุมผ้าขึ้นมาอีก 4 มุม ให้รวบมุมผ้าที่ละมุมอีกครั้งหนึ่งจนครบทั้ง 4 มุม

2.             แต่งชายผ้าให้เรียบร้อย ซ้อนกันเป็นชายเดียว จากนั้นค่อย ๆ จัดแต่งลูกประคบสมุนไพรให้เป็นรูปทรงกลมที่สวยงาม

3.             เมื่อได้ลูกประคบสมุนไพรที่เป็นรูปทรงกลมที่สวยงามแล้ว ให้นำเชือกมาพับครึ่ง ร้อยเป็นห่วงให้ชายทั้งสองเท่ากัน

4.             จากนั้นพันทบกัน 2 รอบแล้วผูกให้แน่นด้วยเงื่อนตาย 1 รอบ ก็จะทำให้เหลือปลายผ้าที่เท่ากันทั้งสองข้าง ค่อย ๆ จัดระเบียบชายผ้าในส่วนที่จะทำเป็นด้ามจับลูกประคบสมุนไพร

5.             การทำด้ามจับลูกประคบสมุนไพร โดยการจับชายผ้าที่เหลือมาซ้อนกันให้เรียบร้อย เสร็จแล้วพับเข้าหากันเพื่อเก็บชายผ้าทั้งสองด้าน

6.             หลังจากที่เราจัดแต่งและซ่อนชายผ้าของลูกประคบสมุนไพรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้พับลงมาประมาณ 2 นิ้วครึ่ง เพื่อทำด้ามจับ ใช้ปลายของเชือกเส้นเดิมมาพันทบกันอีก 2 รอบ โดยการผูกเชือกแบบเงื่อนตายให้แน่นอีกครั้งหนึ่ง

7.             ให้ซ่อนปลายเชือกไว้ในซอกผ้าตรงรอยพับที่เป็นด้ามจับ เพื่อให้ลูกประคบสมุนไพรมีความแข็งแรงและสวยงามคงทนต่อการใช้งาน

8.             นำเชือกป่านมาผูกให้แน่นอีกครั้งหนึ่งโดยผูกแบบเงื่อนตาย ปลายด้านหนึ่งยาวประมาณ 2 นิ้วครึ่ง เสร็จแล้วให้ยกขึ้นมาแนบกับด้ามจับลูกประคบสมุนไพร ใช้ปลายเชือกส่วนที่ยาวกว่าพันขึ้นมา โดยใช้ปลายนิ้วไล่กดเชือกให้แน่น การทำเช่นนี้จะทำให้เชือกเรียงกันดูสวยงามและเป็นระเบียบ

9.             เมื่อพันจนสุดชายเชือกแล้วให้ผูกเงื่อนตายไว้กับปลายเชือกเส้นที่แนบไว้กับด้ามจับในตอนแรก จากนั้นซ่อนปลายเชือกไว้ในซอกผ้าที่เป็นด้ามจับ

ข้อพึงระวัง ->

วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องและเหมาะสมในการใช้ลูกประคบสมุนไพร                                                                 

       วิธีการใช้ลูกประคบสมุนไพรให้ถูกวิธี                                                                              
   ๑. ใช้ผ้าจับลูกประคบขณะร้อน ยกขึ้นจากปากหม้อ
   ๒. ใช้ลูกประคบแตะที่ท้องแขนตนเองทดสอบความร้อน
   ๓. ช่วงแรก แตะลูกประคบ และยกขึ้นโดยเร็ว จนกว่าลูกประคบจะคลายความร้อนลง

   ๔. จากนั้น จึงวางลูกประคบให้นานพอประมาณ แล้วกดเน้นบริเวณที่ต้องการ
   ๕. เปลี่ยนลูกประคบเมื่อเย็นลง
ผ้าขนหนูก่อน  แล้วประคบ  ตอนแรกห้ามประคบที่ใดที่หนึ่งนานๆ  เพราะจะทำให้ผิวหนังผู้ป่วยพุพอง  หรือผู้ป่วยตกใจอาจช็อกได้  เมื่อร้อนต้องประคบเร็วๆ  คอยซักถามดูเรื่อยๆ  แล้วค่อยช้าลง  ถ้าไม่ร้อนเอาผ้าขนหนูออก
 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา