ความรู้สัมมาชีพชุมชน

สบู่สมุนไพร

โดย : นางทองคำ จันทนามศรี วันที่ : 2017-05-08-21:32:34

ที่อยู่ : 25 หมู่ที่ 4 บ้านหนองกุงน้อย ตำบลแก้งแก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สืบเนื่องจากการอบรมวิทยากรสัมมาชีพ ณ จังหวัดนครราชสีมา จึงทำให้เกิดแนวคิดการมีออาชีพเสริมนอกเหนือจากการทำการเกษตร จึงได้นำความรู้จากการทำสบู่สมุนไพร/น้ำยาเอนกประสงค์ มาถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ทีมวิทยากรสัมมาชีพ 4 คน และครัวเรือนสัมมาชีพ 20 ครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อส่งเสริมสัมมาชีพแก่ครัวเรือนสัมมาชีพและคนในชุมชน

2.เพื่อเป็นอาชีพเสริมจากการทำการเกษตร

3.เพื่อสร้างกลุ่มอาชีพให้เกิดขึ้นในชุมชน

4.เพื่อสร้างรายได้แก่ครัวเรือนและชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.น้ำมันมะพร้าว

2.โซดาไฟ

3.น้ำสะอาด

4.กรีเซอรีน(หัวเชื้อสบู่)

5.น้ำสมุนไพรเข้มข้น

6.สีผสมอาหาร

 

อุปกรณ์ ->

1.หม้อสแตนเลส  (ไว้สำหรับตุ๋นน้ำมัน) 

2. เทอร์โมมิเตอร์  (อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส) 

3. ไม้พาย 1 อัน 

4. ทัพพี 1 อัน (สำหรับตักสบู่) 

5. ถ้วยตวงแก้ว 1 ใบ (สำหรับผสมสารละลายโซดาไฟ) 

6. ถาดใส่น้ำ 1 ใบ (สำหรับหล่อที่ใส่สารละลายโซดาไฟให้อุณหภูมิลดลง) 

7. เหยือก 1 ใบ (สำหรับใส่สารสะลายโซดาไฟที่อุ่นลงแล้ว) 

8. แท่งแก้ว (สำหรับกวนโซดาไฟ) 

9. เตาไฟฟ้า หรือเตาแก๊ส 

10. เครื่องชั่งขนาด 1-2 กิโลกรัม 

11. ถุงมือ,แว่นตา,เสื้อคลุม,ที่ปิดจมูก 

12. แม่พิมพ์สบู่ ใช้กล่องไม้ หรือ กระดาษแข็งรอด้วยกระดาษไข หรือพลาสติด 

13. อื่น ๆ ผ้าเช็ดมือ , กระดาษทิชชู ,กระดาษหนังสือพิมพ์ใช้แล้ว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.เตรียมแม่พิมพ์สบู่ 

2. เตรียมเครื่องมือทั้งหมด 

3. ผู้ผลิตใส่เสื้อกันเปื้อน สวมถุงมือ ผ้าปิดปากและจมูก และแว่นตา 

4. ชั่งด่างอย่างระมัดระวัง 

5. ชั่งน้ำที่ใช้ ค่อย ๆ เติมด่างลงในน้ำอย่างช้า ๆ ระวังไม่ให้กระเด็น คนจนละลายหมด วัดอุณหภูมิ ประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส 

6. ชั่งไขมันทั้งหมดผสมรวมรวมกัน วางบนเครื่องอังไอน้ำหรือตุ๋น วัดอุณหภูมิประมาณ 40 - 45 องศาเซลเซียส ยกลง 

7. เช็คอุณหภูมิน้ำด่างในข้อ 5 อีกครั้ง 

8. เมื่ออุณหภูมิน้ำด่างและไขมันใกล้เคียงกัน ค่อยเทน้ำด่างลงในไขมัน คนเบา ๆ เมื่อเทน้ำด่างหมด ให้คนแรง ๆ ควรคน 15 นาที พัก 5 นาที จนกระทั่งเนื้อของเหลวเป็นสีขุ่นจนหมด เทลงแบบพิมพ์ 

9. ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ แกะออกจากพิมพ์ ตัดเป็นก้อน 

10. ตรวจสอบ pH บริเวณผิวสบู่ และเนื้อในสบู่บริเวณต่ำกว่าผิวประมาณ 2 มิลลิเมตร ถ้ามีค่า pH อยู่ระหว่าง 8 - 10 สามารถนำไปใช้ได้ หากมีค่าเกิน 10 เฉพาะที่บริเวณผิว ให้ตัดเฉพาะผิวนอกทิ้ง หากเนื้อในและผิวมีค่า pH เกิน 10 ทั้งสองบริเวณ แสดงว่าสบู่นั้นมีปริมาณด่างเกินกำหนด ไม่ควรนำไปใช้ เพราะอาจเกิดอันตรายทำให้ผิวเหี่ยว ซีด หรือคัน เมื่อสัมผัส 

11. ห่อกระดาษ หรือบรรจุภาชนะแจกจ่ายในชุมชน 

 

ข้อพึงระวัง ->

 เพื่อความปลอดภัยของผู้ผลิต ควรสวมถุงมือยาง รองเท้า กางเกงขายาว เสื้อแขนยาว ใส่ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และแว่นตา ขณะที่ทำการผลิตสบู่ 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา