ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ทอเสื่อกก

โดย : นางจันดา แสนมี วันที่ : 2017-03-15-19:06:32

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 4 ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

  การทอเสื่อกก  เป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น  ที่นำเอาต้นกกมาแปรสภาพให้เป็นเส้น ย้อมสี  แล้วสานทอให้เป็นแผ่นผืน  เพื่อนำมาใช้ปูลาดรองนั่งหรือนอน  หรือทำธุรกรรมต่างๆ  ตลอดจนทำพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อ เสื่อกก  เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไปทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ  ทั้งนี้เพราะต้นกกเป็นพืชธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ทั่วทุกภูมิภาค และภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่นำต้นกกมาแปรสภาพก็มีลักษณะคล้ายกัน หรือได้อิทธิพลทางความคิดจากกันและกัน ทำให้เสื่อกกถูกจัดได้ว่าเป็นปัจจัยจำเป็นอย่างหนึ่ง  ต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในอดีต

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.เนื้อวัว

2.กระเทียม

3.เกลือ

4.ชูรส

5.ใบตอง

อุปกรณ์ ->

1.มีด

2.เขียง

3.ช้อน

4.ยางรัด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 ๑.  การปลูกกก นับเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างวัสดุในการทอเสื่อ  โดยเตรียมที่ดินด้วยการไถ  แล้วปักดำหัวกกลงในนาเหมือนการดำนาข้าว  จากนั้นมีการบำรุงรักษา ถอนหญ้า  ใส่ปุ๋ย ปลูกแซม  ด้วยเวลา  ๓-๔ เดือน  ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้
    ๒.  การตัดกก จะใช้มีดเล็กตัดเกือบถึงโคนต้นกก  แล้วนำมากองเรียงเพื่อคัดแยกขนาด ตั้งแต่ความยาว ๙ คืบ  ๘ คืบ  เรื่อยลงมาจนถึง  ๔ คืบ  จากนั้นนำแต่ละกองที่มีขนาดเท่ากันมัดเก็บไว้ด้วยกัน ตัดดอกทิ้งเพื่อทำการกรีดเป็นเส้น
    ๓.  การกรีดจะใช้มีดปลายแหลมที่ทำมาจากใบเลื่อย  กรีดแบ่งครึ่งกกแต่ละเส้นถ้าเป็นต้นเล็ก  ถ้าเป็นต้นใหญ่ก็กรีดเหมือนกัน  แต่จะมีส่วนที่กรีดทิ้ง  เพื่อให้แห้งง่าย
    ๔  หลังจากได้เส้นกกแล้ว ก็นำไปตาก  โดยแผ่วางเรียงเป็นแนวยาว  วันแรกจะตากเต็มวัน  จากนั้นนำมามัดเป็นมัดเล็กๆ  แล้วตากอีกราว ๒ วัน  ให้เส้นกกนั้นแห้ง
    ๕.  การย้อมสี  นำกกที่ตากแห้งแล้วมามัดแช่น้ำราว  ๑๐ ชั่วโมง  เพื่อให้เส้นกกนิ่ม  จากนั้นต้มน้ำให้เดือด  ใส่สีย้อม แล้วนำเส้นกกที่มัดเป็นกำแช่ลงไปในน้ำสีที่กำลังเดือดทิ้งไว้  ๑๐-๑๕  นาที  จึงนำไปแช่น้ำ  แล้วนำขึ้นตากในที่ร่มมีลมพัดผ่าน ๓-๔ วัน  เมื่อเส้นกกสีแห้ง  ก็สามารถนำไปใช้ในการทอได้
    ๖.  การทอจะร้อยเส้นเอ็นกับฟืมเป็นเส้นยืนตามขนาดของคืบที่กำหนด  แล้วใช้เส้นกกใส่กระสวยทอเรียงเป็นเส้นนอนคล้ายการทอผ้า  การใส่ลายสีในการทอนิยมใส่ตอนแรก และตอนสุดท้ายของการทอ  เมื่อจะเต็มผืน
    ๗  เมื่อทอได้เต็มผืนก็มัดริมเสื่อ  ตัดเสื่อออกจากกี่ และตัดริมอีกครั้งพร้อมแต่งเสื่อให้มีความเรียบร้อย
 

ข้อพึงระวัง ->

เลือกขนาดของฟืมให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ นำฟืมไปตั้งในโฮงที่จะทอแล้วตั้งให้ได้ระดับ ระยะห่างจากเหล็กตีนเสื่อประมาณ 2 ฟุต นำเชือกไนลอนมาขึงจามริมฟืมซี่แรก จะเริ่มจากด้านซ้าย หรือขวาก่อนก็ได้แล้วแต่ถนัด การขึงเชือกใช้คน 2 คน คนหนึ่งนั่งอยู่ที่หัวเสื่อคอยมัดเชือกที่ขึงให้ตึง และแน่น อีกคนนั่งอยู่ตีนเสื่อคอยสอดเชือกเข้ากับเหล็กตีนเสื่อ ใช้เชือกสอดเข้าไปในรูฟืมที่เจาะไว้ เป็นสองแถว แล้วดึงปลายเชือกไปเกาะติดกับตะปูที่เราตอกงอไว้ติดกับไม้อีกท่อนหนึ่ง แล้วยึดกันให้แน่น เชือกดึงให้ยาวตามความยาวของเสื่อ พรมนำใส่กกที่จะทอ ในการทอเสื่อจะใช้คน 2 คน คนแรกเป็นคนทอ อีกคนหนึ่งเป็นคนคอยสอดเส้นกก กกที่นำมาทอจะใส่ถุงพลาสติกเพื่อให้กกนิ่มและทอได้แน่น การทอคนทอจะต้องคว่ำฟืมเพื่อให้มีช่องว่างสำหรับสอดกก คนสอดจะสอดเส้นกกโดยแนบส่วนหัวของเส้นกกกับไม้สอด สอดไปตามช่องระหว่างเชือกที่แยกออกจากกันขณะที่คว่ำฟืม พอสอดไปสุดริมเชือกอีกข้างดึงไม้สอดกลับคืนคงเหลือแต่เส้นกก คนทอก็กระทบฟืมเข้าหาตัวแล้วคนทอก็หงายฟืม คนสอดก็ใช้ส่วนปลายของเส้นกกแนบกับไม้สอด สอดกกเข้าไปอีก คนทอก็กระตุกฟืมเข้าหาตัว แล้วไพริมเสื่อทางด้านซ้ายมือ การไพริมเสื่อ คือ การใช้ปลายกกม้วนงอลงแล้วสอดพับเชือกขัดไว้ให้แน่น ต่อไปคว่ำฟืม ไพริมเสื่อทางด้านขวามือ ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ขนาดตามที่ต้องการ ในขณะทอหากต้องการให้การทอง่ายยิ่งขึ้นให้ใช้เทียนไขถูกับเส้นเอ็นที่ขึงไว้ให้ทั่ว เพื่อที่จะให้เอ็นลื่นไม่ฝืด ตัดริมเสื่อทั้งสองด้านให้เรียบร้อย เสื่อจะมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น ใช้มีดตัดเชือกเอ็นทางตีนเสื่อเพื่อให้เสื่อออกจากโฮง มัดเอ็นที่ปลายเสื่อ เพื่อเป็นการป้องกันเสื่อรุ่ย นำเสื่อที่ทอเสร็จแล้วผึ่งแดดไว้จนแห้งสนิท จึงพับเก็บไว้จำหน่ายหรือแปรรูปต่อไป

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา