ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การสานตะกร้าพลาสติก

โดย : นางดารา หนึ่งชนะ วันที่ : 2017-03-23-09:26:04

ที่อยู่ : เลขที่ 42 ม.7 บ้านวังปลาโด ต.วังใหม่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จากการส่งเสริมของกลุ่มอาชีพการสานกระเป๋าพลาสติก ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่ เพื่อให้สมาชิกกลุ่มมีรายได้เสริมจากการประกอบอาชีพหลัก จึงได้มีการทำต่อเนื่องเรื่อยมา

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อหารายได้เสริมให้กับครอบครัว และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เส้นพลาสติกหลายๆ สี 

อุปกรณ์ ->

มีด ,กรรไกร , สายวัด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

  1. เริ่มต้นจากการวัดเส้นพลาสติกส่วนของกระเป๋า

- เส้นตั้งยาว 85 cm.  15 เส้น

- เส้นนอนยาว  90  cm.   9 เส้น

- เส้นสานยาว 100  cm.      15 เส้น

- เส้นเก็บขอบปากยาว 150 cm.  1 เส้น

หูกระเป๋า  

- เส้นกลางยาว 100 cm. 1 เส้น

- เส้นไขว้ยาว 120 cm.  2 เส้น

2. จากนั้นทำตามขั้นตอน ดังนี้

-                      วางเส้นตั้ง 15 เส้น ตามแนวตั้งแล้วนำเส้นนอน 9 เส้น มาสานขัดกับเส้นตั้ง โดยยกเส้นที่1 แล้วสานสับหว่างกันเน้นให้เส้นแนวนอนชิดกัน

-                      จากนั้นนำเส้นสานทั้ง 15 เส้น มาสานขึ้นไปด้านบนให้ครบ โดยเราจะเว้นเส้นตั้งเอาไว้ไม่ต้องสานไปจนหมด ถ้าเรากลัวเส้นที่สานไว้แล้วจะหลุด ให้พับเส้นที่อยู่ข้างล่างแล้วสอด จะช่วยล็อคเส้นไม่ให้หลุดได้

-          จากนั้นนับเส้นสานจากข้างบนลงข้างล่าง เส้นที่ 10 แล้วสานสลับกัน

-          สานเส้นให้ครบทุกเส้นด้านข้างของกระเป๋า พอถึงอีกมุม ก็นับเส้นสาน เส้นที่ 16 เหมือนเดิม

สานเส้นจนรอบทั้งใบ แล้วสอดเส้นตามลายแนวนอน ให้ครบทุกเส้น

-                      จากนั้นใช้เส้นเก็บขอบปาก มาทาบลงบนปากกระเป๋า แล้วพับเส้นด้านในลงมาทับเส้นเก็บปากอีกที พับเก็บให้รอบทั้งใบ

-                      พอทำจนครบรอบ พับเส้นที่อยู่ด้านนอกลงมาทับเส้นเก็บขอบปากอีกครั้ง เป็นอันเสร็จการเก็บขอบปากกระเป๋าสอดเส้นที่เหลือให้ยาวประมาณ ครึ่งกระเป๋า แล้วตัดเส้นให้สวยงาม ห้ามเห็นปลายเส้นโผล่ออกมานอกตัวงาน

-                      จากนั้นมาถึงขึ้นตอนการทำหู ใช้ทั้งหมด 3 เส้น โดยพับเส้นไขว้ด้านบนไปใต้เส้นหลักแล้วพับเส้นไขว้ด้านล่าง ประกบให้เท่ากัน พับไปเรื่อยๆความยาว 35 cm. ดังรูป

-                      ขั้นตอนสุดท้ายใสหูกระเป๋า สอดเส้นของหูกระเป๋าทั้งสามเส้นลงไปในช่องของปากกระเป๋า โดยจะให้แคบหรือกว้างก็ตามใจเราได้เลย

เส้นตรงกลางสอดลงมาถึงก้นประเป๋าแล้วตลบเส้นทำเป็นดอกเพื่อความแข็งแรงของหูกระเป๋า ส่วนเส้นไขว้ที่เหลืออีก 2 เส้น พับตลบออกไปด้านข้าง เพื่อทำเป็นดอกให้สวยงาม ตัดเส้นเก็บงานให้เรียบร้อย

ข้อพึงระวัง ->

วัดความยาวเส้นพลาสติกให้ได้ขนาดที่ถูกต้อง

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา