ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงโคเนื้อ

โดย : นายอุดม แสนนุภาพ วันที่ : 2017-03-21-15:56:13

ที่อยู่ : ๙๕ หมู่ ๑๑ บ้านหนองสิม ตำบลเขวาไร่ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเลี้ยงโคเนื้อในอดีตเป็นการเลี้ยงเพื่อใช้ทำการเกษตรเป็นหลัก แต่ปัจจุบันรูปแบบการเลี้ยงโคเนื้อได้เปลี่ยนมาเป็นการเลี้ยงเพื่อผลิตเนื้อโค เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อโคเพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้นการเลื้ยงโคเนื้อในปัจจุบันจึงเป็นการเลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

๑. เพื่อผลิตโคเนื้อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

๒. เพื่อพัฒนาสายพันธ์โคเนื้อให้มีคุณภาพสามารถให้ผลผลิตคุ้มค่ากับการลงทุน

๓. เพื่อคิดค้นและพัฒนาสูตรอาหารสำหรับเลี้ยงโคเนื้อเพื่อลดต้นทุนการผลิด

๔. เพื่อเป็นอาชีพและมรดกไว้ให้ลูกหลาน

๕. เพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. สายพันธ์โคเนื้อ ลูกวัวสำหรับขุน หรือ แม่วัวสำหรับขยายพันธ์

๒. อาหารสำหรับเลี้ยงโคเนื้อ

    - หญ้าสด

    - ฟาง, หญ้าแห้ง

    - อาหารเสริม หญ้าหมัก, ฟางหมัก, กากมันสำปะหลังหมักยีสต์, ซังข้าวโพด ฯลฯ

    - ยารักษาโรคสำหรับโคและธาตุอาหารเสริม

อุปกรณ์ ->

๑. โรงเรือน

๒. พื้นที่สำหรับปล่อยโคเดิน

๓. พื้นที่สำหรับปลูกพืชอาหาร

๔. ภาชนะสำหรับเตรียมและผสมอาหารสำหรับเลี้ยงโค

๕. อุปกรณ์สำหรับบังคับและควบคุมวัว

๖. อุปกรณ์อื่นๆ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑. สร้างโรงเรือนและพื้นที่สำหรับเลียงวัว

๒. เตรียมพื้นที่สำหรับปลูกพืชอาหาร

๓. คัดเลือกโคแม่พันธ์ซึ่งโคตัวเมียที่พร้อมจะให้ลูกได้นั้น จะต้องมีอายุราว 2 ปี ซึ่งเพียงพอกับความพร้อมที่จะรับการผสมพันธุ์และติดลูกได้ สำหรับหลักเบื้องต้นจะเริ่มทำการคัดโคหลังจากที่หย่านมแล้ว ซึ่งต้องมีอายุเฉลี่ยราว 8 เดือน และทำการคัดซ้ำอีกครั้งก่อนเข้าฝูงผสมพันธุ์ การเข้าผสมพันธุ์ในฝูงใหญ่จะใช้ลูกโคเพศเมียอายุ 8 เดือน ผสมกันกับตัวผู้ที่ผ่านการตอนแล้ว เพื่อให้สามารถผสมเทียมติด
๔. สำหรับการเลี้ยงดูโคสาว หรือโครุ่นจำเป็นมากที่ต้องมีการจัดการเรื่องอาหารทั้งหญ้าและพืชตระกูลถั่วอย่างดีรวมถึงให้อาหารเสริมด้วย เพื่อให้โคมีการเติบโตที่ดี ซึ่งการเลี้ยงโคสาวจะปล่อยให้โคกินหญ้าในแปลงหญ้าตลอดวัน และควรที่เพิงกันแดดกันฝนสำหรับโคด้วย หญ้าที่ให้โคกินจะใช้เป็นหญ้าอ่อนเสมอ และมีน้ำสะอาดเพื่อให้โคมีน้ำกินตลอดเวลาด้วย
๕. อาหารข้นหรืออาหารเสริมที่จัดเตรียมให้โคนั้น ควรให้โคกินวันละ 1-2 กิโลกรัม เทียบเป็นเปอร์เซนต์ของโปรตีนคือราว 15% อาจใช้ปลายข้าว 2 ส่วน รำ 2 ส่วน และกากถั่วเหลือง 1 ส่วน นำมาผสมให้เข้ากัน และเตรียมแร่ธาตุตั้งไว้ให้โคกินได้ตลอดเวลาตามต้องการ

๖. หมั่นสังเกตุอาการความผิดปกติของโคดูแลรักษาความสะอาดของโรงเรือนและรักษาคุณภาพของอาหารสำหรับเลี้ยง


 

ข้อพึงระวัง ->

หมั่นตรวจสอบการเกิดโรคระบาดในโคถ้าเกิดจะได้ป้องกันได้ทันท่วงที

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดมหาสารคาม
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา