ความรู้สัมมาชีพชุมชน

แป้งข้าวหมาก

โดย : นางสาวนุชนาถ มุ่งกิจ วันที่ : 2017-06-13-15:41:10

ที่อยู่ : 77/4 หมู่ที่ 8 ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

          ได้รับความรู้การทำแป้งข้าวหมากมาจากแม่ ซึ่งทำกินกันในครอบครัว เมื่อแต่งงานมีครอบครัวจึงได้นำความรู้ที่มีมายึดเป็นอาชีพหารายได้เลี้ยงครอบครัวจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นสูตรเฉพาะ

วัตถุประสงค์ ->

          1. เป็นอาชีพที่ทำให้ครอบครัวมีรายได้

          2. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ข้าวเหนียวดิบ  ลูกแป้งข้าวหมาก ใบตอง

อุปกรณ์ ->

กะละมัง หวดนึ่งข้าวเหนียว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีทำ

1. ข้าวเหนียวดิบ (ปริมาณจะขึ้นกับลูกแป้งข้าวหมาก ข้าวเหนียวดิบ 2 โล ต่อ 1 ลูก) ใช้ข้าวเหนียว

เขี้ยวงู ข้าวเหนียวสันป่าตอง หรือ ข้าวเหนียว กข 6 ก็ใช้ได้ ใช้ข้าวกลางปี ดูเมล็ดข้าวอวบ ๆ แตกหักน้อยและดูว่าไม่มีเมล็ดข้าวอื่นปนมามาก ข้าวเหนียวเก่าก็ใช้ได้แต่เมล็ดข้าวจะเหลืองไม่สวย ข้าวเหนียวใหม่มากก็ไม่ดี ทำออกมาแล้วเม็ดจะเละ

2. ล้างข้าวเหนียวดิบให้สะอาด เพื่อเอาฝุ่นและสิ่งสกปรกออก ล้างประมาณ 2-5 ครั้ง 

3. เมื่อล้างเสร็จแล้วเอาข้าวเหนียวดิบแช่น้ำ ใช้น้ำสะอาด แช่ทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง หรือแช่ไว้ข้ามคืน 

4. เตรียมนึ่งข้าวเหนียว ตั้งน้ำให้เดือด นำข้าวเหนียวดิบที่แช่ทิ้งไว้ใส่ซึ้ง หรือหวด ใช้เวลานึ่งข้าวเหนียวประมาณ 30 -40 นาที ดูว่าให้สุกทั่วกัน และไม่เป็นไตแข็ง 
 

5. นำข้าวเหนียวที่สุกแล้วใส่ภาชนะ เช่น ถาด ผึ่งให้เย็น หรือพลิกข้าวเหนียวกลับไปกลับมา สังเกตจากไอของข้าวเหนียวว่าไม่มีแล้ว

6. นำข้าวเหนียวสุกที่เย็นแล้วไปล้างให้หมดยางข้าว ประมาณ 2 - 4 ครั้ง โดยใช้น้ำสะอาดผ่านการบำบัดคลอรีนและเชื้อโรค หรือน้ำที่ผ่านจากเครื่องกรองน้ำ (น้ำที่มีคลอรีนอาจทำให้เชื้อยีสต์จากลูกแป้งทำงานได้ไม่เต็มที่)

7. นำข้าวเหนียวสุกที่ล้างจดหมดยางข้าวขึ้นสะเด็ดน้ำ 

8. บดลูกแป้งข้าวหมากให้ละเอียด

9. นำข้าวเหนียวสุกที่สะเด็ดน้ำแล้วไปคลุกลูกแป้งข้าวหมากที่บดละเอียด (ค่อย ๆ โรยลูกแป้งข้าวหมากที่ละนิดให้ทั่วแล้วคลุกเคล้า อย่าโรยหมดในทีเดียว) ลูกแป้งนี้สำคัญมากที่จะให้รสชาติที่ดี การคลุกโดยทั่วไปก็ใช้มือ หรือไม้พาย คลุกไปคลุกมาให้ทั่ว 

10. เมื่อคลุกเคล้าให้ทั่วแล้ว ก็เตรียมบรรจุลงภาชนะ ตามต้องการ หม้อ ถ้วย ใบตอง แต่ของเรานำใส่กระปุกปิดฝามิดชิด ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของยีสต์ซึ่งจะเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาล ซึ่งเรียกว่าน้ำต้อย ใช้เวลา 3 วัน แต่ถ้าอากาศเย็นอาจใช้เวลาเพิ่มขึ้นอีก 1 วัน ก็ได้ข้าวหมากที่น่ากิน หวาน หอม (หลังจากข้าวหมากได้ที่แล้วนำใส่ตู้เย็นสามารถเก็บได้เป็นเดือน การใส่ในตู้เย็นเพื่อลดการทำงานของยีสต์ไม่ให้เป็นแอลกอฮอล์มากเกินไป)

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดภูเก็ต
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา