ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เลี้ยงไก่พื้นเมือง

โดย : นางสาวสุปรียา รักษาทรัพย์ วันที่ : 2017-06-07-11:13:06

ที่อยู่ : 38 หมู่ที่ 1 ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

          อาชีพการเลี้ยงไก่พื้นเมือง เป็นอาชีพดั้งเดิมถือเป็นธุรกิจตั้งรุ่นพ่อแม่ที่ทำนานแล้ว มีโอกาสช่วยเลี้ยง ดูแลลูกไก่ ทำให้มีความผูกพันกับลูกเจี๊ยบ ประกอบกับพี่ชายชอบเลี้ยงไก่ชนและนำไก่ลงสนามแข่งบ่อยๆ จึงได้รับตำแหน่งเป็นผู้อุ้มไก่ชน แต่เมื่อไก่ลงสนามแข่งแล้วรู้สึกสงสารเนื่องจากนักกีฬาไก่ทั้งหลายมักจะได้รับบาดเจ็บ จึงต้องประคบประหงมเป็นพิเศษ จนปัจจุบันเป็นผู้รับช่วงต่อในการฟักไก่และอนุบาลลูกเจี๊ยบ ด้วยความน่ารักของลูกเจี๊ยบจึงอยากฟักให้มีจำนวนมากเท่าที่จะทำได้ เลี้ยงไว้ด้วยความรัก อยากให้ไก่มีความสุขหลายครั้งที่มีโอกาสในการหาความรู้เพิ่มเติมจากในอินเตอร์เน็ต ผู้รู้ ปศุสัตว์และจากศูนย์เพาะพันธุ์ไก่บ้าง โดยเฉพาะเรื่องโรคต่างๆ ที่เกิดกับไก่

วัตถุประสงค์ ->

1.เลี้ยงเพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพเสริมที่ทำในครอบครัว

2. สามารถนำมูลไก่ไปใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ย เนื่องจากมีการปลูกพืชผักบริเวณบ้านหลายชนิด บางครั้งสามารถนำมูลไก่ไปจำหน่ายได้ด้วย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธุ์ไก่ที่นำมาเลี้ยง ได้แก่ ไก่พื้นเมือง ไก่ดำ และไก่สามสายพันธุ์ โดยจะฟักไข่เอง

อุปกรณ์ ->

ยาและเวชภัณฑ์ ถังน้ำ ถาดใส่อาหาร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อดีของไก่พื้นบ้าน 

1. หาอาหารเก่ง สามารถเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติได้ ทำให้ประหยัด ค่าอาหารได้มาก 
2. ทนต่อสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศได้เป็นอย่างดี 
3. ทนต่อโรคพยาธิได้ดีกว่าไก่พันธุ์อื่น ๆ 
4. มีความสามารถในการเลี้ยงลูกได้เก่ง 
5. เนื้อของไก่พื้นบ้านมีรสชาติถูกปากคนไทยมากกว่าเนื้อของไก่ที่ผลิต เป็นอาหารโดยเฉพาะ
 

ข้อเสียของไก่พื้นบ้าน 

1. โตช้า ใช้เวลาเลี้ยงนานกว่าไก่ทางการค้ามาก 
2. ให้ไข่น้อยปีหนึ่ง ๆ ให้ไข่เฉลี่ยประมาณ 40-50 ฟองต่อปี โดยจะให้ ไข่เป็น ชุด ๆ ละ

7 - 15 ฟอง 

3. เมื่อไข่ครบชุดแล้วไก่พื้นบ้านมีนิสัยชอบฟักไข่ โดยจะฟักไข่ประมาณ 21 วัน ไข่จะ

ออกเป็นลูกเจี๊ยบและจะเลี้ยงลูกเจี๊ยบต่อไปอีกประมาณ 2 เดือน จึงจะเริ่มกลับมาให้ไข่ใหม่อีก 


พันธุ์และการผสมพันธุ์ไก่ 

ไก่พื้นบ้านที่เลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันออกไปในเรื่องของพันธุ์ และสายพันธุ์

ตามสภาพท้องที่ต่างๆ แต่อย่างไรก็ดีมักจะมีวัตถุประสงค์การเลี้ยงที่ เหมือน ๆ กันคือ เลี้ยงเพื่อเอาไข่และเนื้อ โดยปล่อยให้ไก่เหล่านั้นหาอาหารกินเอง ตามธรรมชาติ มีการเสริมอาหารให้บ้างเล็กน้อยไก่พื้นบ้านเหล่านี้มีสีต่างๆ กัน แต่ที่นิยมเลี้ยงกันมากและตลาดต้องการคือ ไก่ที่มีผิวหนังสีเหลืองและสีขนดำ
 

การปรับปรุงพันธุ์ไก่พื้นบ้าน 

จากสภาพการเลี้ยงที่ปล่อยตามธรรมชาติ และขาดการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ทำให้การที่

จะนำไก่พันธุ์ดีเข้าไปเผยแพร่ เพี่อขจัดข้อเสียของไก่พื้นบ้านดังที่กล่าวมาแล้วเป็นไปได้ยาก เนื่องจากไก่พันธุ์ดีนั้น ๆ ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ ถ้าเอามาเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติจะไม่ ได้ผลเท่าที่ควร ฉะนั้น การที่จะส่งเสริมให้มีการเลี้ยงไก่พันธุ์แท้ในสภาพการเลี้ยงดูแบบนี้ด่อนข้างจะลำบาก อย่างไรก็ ตามยังมีหนทางที่จะปรับปรุงไก่พื้นบ้านให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นโดยการคงสภาพ ข้อดีของไก่พื้นบ้านไว้และในขณะเดียวกันก็แก้ไขข้อเสียของไก่พื้นบ้านโดยการหาลักษณะที่ดีเด่นของไก่พันธุ์อื่นเข้ามาแทนการปรับปรุงลักษณะเช่นนี้สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างไก่พันธุ์พื้นบ้านกับไก่พันธุ์แท้ที่มีลักษณะที่เรา ต้องการ ไก่ที่นำมาพิจารณา ในกรณีนี้ต้องเป็นไก่ที่เป็นพันธุ์ที่สามารถให้ผลผลิตทั้ง เนื้อและไข่ และค่อนข้างทนต่อสภาพภูมิอากาศแบบบ้านเราได้

 

เรือนโรงไก่ 

เรือนโรงไก่สามารถทำเป็นเเบบง่าย ๆ ได้ โดยอาศัยวัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่หรือไม้รวกเป็นต้น ขนาดของโรงเรือนก็ขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ที่จะ เลี้ยง และขี้นอยู่กับบริเวณพื้นที่ใต้ถุนบ้านหรือ บริเวณลานบ้าน เกษตรกรบางราย สร้างเรือนโรงดังกล่าวไว้ส่าหรับเลี้ยงไก่ แต่ก็มีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่ยังเลี้ยงโดย การปล่อยให้ไก่เกาะคอนนอนตามใต้ถุนบ้าน หรือตามต้นไม้ ซึ่งการเลี้ยงเช่นนี้ทำให้ การดูแลรักษาทำได้ลำบาก ก่อให้เกิดความสูญเสียมากพอสมควร

การสร้างเรือนโรงไก่ควรคำนึงถึงความโปร่งและให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มืดทึบและมีความสูงเพื่อที่จะให้ผู้เลี้ยงเข้าออกได้สะดวกพอควร บริเวณตัวเรือนโรงจะใช้ลวดตาข่าย แห อวนเก่า ๆ หรือไม้รวกผ่าชีกก็ ได้ นำมาปูรอบเรือนโรง นอกจากนั้นควรมีถุงปุ๋ยหรือกระสอบเก่า ๆ แต่ล้างให้ สะอาดแล้ว ส่าหรับทำเป็นม่านป้องกันลมและฝน โดยเฉพาะในระยะการกกลูกไก่ เรือนโรงที่สร้างอยู่ใต้ถุนบ้านไม่มีความจำเป็นต้องสร้างหลังคา แต่ถ้าสร้างอยู่บนลาน บ้านอาจใช้แผงจากมุงเป็นหลังคาได้ ขนาดของเรือนโรงขึ้นอยู่กับจำนวนไก่ ขนาดอายุของไก่ที่จะเลี้ยง เช่น ถ้าต้องการเลี้ยงเฉพาะระยะลูกไก่จนถึงระยะไก่รุ่นที่ได้น้ำหนักระหว่าง 1.5 - 2.0 กิโลกรัม จำนวนที่จะเลี้ยงได้นั้น จะใช้สัดส่วนประมาณ 8 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตาราง เมตร ดังนั้นถ้าเรือนโรงมีขนาดกว้าง x ยาว ประมาณ 3 X 5 เมตร จะสามารถเลี้ยง ไก่ได้ประมาณ 120 ตัว แต่ถ้าต้องการเลี้ยงเป็นพ่อและแม่พันธุ์ ควรใช้สัดส่วน ประมาณ 4 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร

อาหารและการให้อาหาร

ปกติแล้วการเลี้ยงไก่พื้นบ้านมักจะปล่อยให้ไก่หาอาหารกินเองตามมีตามเกิด หรือตามธรรมชาติ โดยที่ผู้เลี้ยงอาจมีการให้อาหารเพิ่มเติมบ้างในช่วงตอนเช้า หรือตอนเย็นอาหารที่ให้ก็เป็นพวกข้าวเปลือก ปลายข้าว หรือข้าวโพด เป็นต้น จากสภาพการเลี้ยงดูแบบนี้ทำให้ความสมบูรณ์ของไก่ผันแปรไปตามสภาพดินฟ้าอากาศ คือ ในช่วงฤดูฝน ไก่จะมีอาหารค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากได้รับทั้งเมล็ดวัชพืชและหนอนแมลงในปริมาณมาก ซึ่งอาหารทั้งสองชนิดนี้เป็นแหล่งของไวตามินและโปรตีนที่สำคัญ ตามธรรมชาติ ทำให้ไก่ในฤดูกาลนี้มีการเจริญเติบโตและความแข็งแรงมากกว่าไก่ในฤดูอื่น ๆ ทุกๆ วันจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนน้ำให้ไก่ด้วย เพื่อป้องกันการเกิดโรค

การเลี้ยงไก่แบบชาวบ้านแต่ละปีจะเกิดโรคระบาดเป็นสาเหตุทำให้ไก่ตายปีละมาก ๆ บางครั้งอาจตาย

เกือบทั้งหมู่บ้านทั้ง ๆ ที่ไก่บ้านเป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างจะทนทานต่อโรคเมื่อเทียบกับพันธุ์แท้อื่นๆ ก็ตาม ดังนั้นถ้าหากสามารถลดอัตราการตายได้จะยังผลทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนไก่ลูกผสมพันธุ์โรคกับไก่พื้นบ้านเมื่อจะนำไปเลี้ยงแบบชาวบ้านก็จำเป็นหาทางป้องกันโรคไว้ก่อนเสมอ โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญ ๆ

 

ข้อพึงระวัง ->

การเลี้ยงไก่บ้านเพื่อเป็นอาชีพเสริมทำที่บ้าน มีข้อจำกัดก็คือต้องมีพื้นที่บริเวณบ้านเพื่อให้ไก่ได้ออกหากินตามธรรมชาติ ไม่มีสัตว์เลี้ยงอย่างเช่นสุนัขคอยรบกวน

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดภูเก็ต
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา