ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้าตีนจก

โดย : นางสาวจำลอง..ใจปัน วันที่ : 2017-03-30-20:04:01

ที่อยู่ : ๖๓/๒.....หมู่.......๑๑......ซอย.............-.................ถนน...............-...............ตำบล.......ทุ่งแล้ง............ อำเภอ......ลอง...........จังหวัดแพร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แต่เดิม ไม่มีความรู้ ทอไม่เป็น  แต่มีความสนใจ เห็นเขาทอกัน ซึ่งตอนนั้นกำลังเริ่มทอกันใหม่ ๆ ก็เลยสนใจไปหัดเรียนรู้กับคนที่ทำเป็น หัดทำ จนทำเป็น ก็เลยทอมาตลอด แรกๆ ก็ทอขายเอง แต่ไม่มีตลาด ไม่รู้จะไปขายที่ไหน ไม่มีตลาดที่แน่นอน  ตอนหลังมีคนมาจ้างให้ทอ ก็เลยรับจ้างทอตลอด

วัตถุประสงค์ ->

เผยแพร่วิธีการทอตีนจก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ฝ้าย    

อุปกรณ์ ->

1. กี่  ใช้ในการทอผ้าเป็นโครงสร้างไม้หรือเหล็ก              

      2. ไม้ดาบ ”เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แยกด้ายเส้นยืนออกจากกัน                                                                               

3. กระสวย ” ใช้สำหรับทอพุ่งเส้นด้ายพุ่ง                  

4. ฟืม ” เป็นอุปกรณ์สำหรับการเรียงเส้นด้ายเพื่อทอ      

5. ม้าเหยียบ ” เครื่องมือในการทอผ้าที่ประกอบคู่กับกี่ทอผ้า 

6. เขาเหยียบ อุปกรณ์ที่ยกเส้นด้ายยืนออกจากกันในการทอ   

7. เขาฟืม ” เป็นอุปกรณ์สำหรับเรียงเส้นด้าย                    

8. ด้ายเส้นยืน ” เป็นเส้นด้ายที่เรียงอยู่ในฟืม        

9. ด้ายสอด ” เส้นด้ายสีต่าง ๆ ที่ใช้ทอทำลวดลายด้วยการยกเขา

10. ด้ายพุ่ง ” เป็นเส้นด้ายที่ใสกระสวยแล้วพุ่งไประหว่างด้ายเส้นยืน(เป็นสีเดียวกันกับด้ายเส้นยืน)

11. ด้ายแต่งดอก ” เป็นเส้นด้าย ( สีต่าง ๆ )

12. ลอกล้อ”อุปกรณ์สำหรับดึงเขายกดอกกับม้าเหยียบ

13. หลอด ” เป็นเครื่องมือที่ใช้ใส่ด้าย

14. เผี่ยน ”  ใช่ในการปั่นฝ้ายในเป็นเส้นด้าย

15. เขายกดอก ” เป็นอุปกรณ์ที่ใช้การเก็บลายผ้า

16. เผียขอ ”  อุปกรณ์สำหรับโว้นด้ายเพื่อนำไปทอผ้า

17. โก้งกว้าง ” อุปกรณ์ในการกวักด้ายเพื่อนำไปโว้น

18. หางเห็น ” เป็นอุปกรณ์สำหรับเสียบมะกวักเพื่อกรอเส้นด้าย

19. มะกวัก ” เป็นอุปกรณ์ในการกรอเส้นด้ายเพื่อนำไปโว้น

20. ขนเม่น หรือ ไม้แหลม ” เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจกด้ายพุ่งเส้นยืน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การนำเส้นฝ้ายมาขัดกันให้เป็นลายโดยขึงเส้นกลุ่มหนึ่งเป็นหลักเรียกว่าเส้นยืน   แล้วใช้อีกเส้นหนึ่งเรียกว่าเส้นพุ่งสอดตามขวางของเส้นยืนเมื่อสานขัดกันก็จะเกิดลวดลายต่างๆ  ผ้าบางชนิดผู้ทอจะคิดหาวิธีสอดด้ายและสอดสีสลับกัน บางวิธีก็จะจับผูกและมัดเน้นเป็นช่วงๆ ทำให้เกิดลวดลายสวยงาม ผ้าทอมือจึงมีเทคนิคการทอและความสวยงามเป็นที่สุด

 

 

ข้อพึงระวัง ->

-ต้องมีใจรัก มีความใจเย็น ต้องให้เวลาในการทอผ้า ต้องอาศัยความชำนาญ มีความละเอียด ปราณีตในการทอผ้า

-การทอผ้าตีนจกต้องใช้ความละเอียด ต้องใช้ฝีมือในการทอ ต้องทอให้แน่น การเก็บสีเก็บลาย

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา