ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การจักสานหมวกด้วยไม้ไผ่

โดย : นางสา.....ธิน่าน วันที่ : 2017-03-28-21:15:18

ที่อยู่ : 141......หมู่..........6..........ซอย............-.................ถนน..............-..............ตำบล..........ต้าผามอก............ อำเภอ.......ลอง.............จังหวัดแพร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ข้าพเจ้าได้เริ่มต้นเรียนรู้การจักสานหมวกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 โดยสมัยนั้นมีครู กศน. เข้ามาฝึกอาชีพในหมู่บ้าน

ได้แก่ เย็บผ้า,จักสาน,ทำอาหารและแปรรูปอาหาร ฯลฯ โดยจะสอนในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ข้าพเจ้ามีความสนใจ  

จึงได้ไปเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริง รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เรียนคนอื่นๆ มีการฝึกฝนอยู่ตลอดเวลา

จนเกิดความชำนาญในด้านการจักสานหมวกและมีการสอนให้กับคนในหมู่บ้านอีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

เผยแพร่วิะีจักสานหมวกด้วยไม้ไผ่

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. .............ไม้ไผ่ปล้องยาวหรือไม้ไผ่บ้าน...........................     

2. .............ผ้ากุ้นขอบหมวก..............................................

อุปกรณ์ ->

1. ...............ที่จักตอก.......................................................     

2. ...............จักเย็บผ้าสำหรับขึ้นรูปหมวก.......................      

3. ...............มีด,มีดพร้า...................................................

4. ...............เข็ม...............................................................               

5. ...............ด้าย..............................................................      

6. ...............กรรไกร..................

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การจักสานหมวกจากไม้ไผ่ (ตอก) เป็นการนำวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งสามารถ       สร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง โดยมีวิธีการขั้นตอนดังต่อไปนี้

          1. นำไม้ไผ่มาผ่าแล้วจักเป็นเส้นตอกเท่าๆกัน ขนาดประมาณ 1 - 2 มิลลิเมตร

          2. นำเส้นตอก 4 เส้น (ลายเกล็ดเต่า) หรือ 7 เส้น มาถักไขว้กัน จนเป็นเส้นยาวประมาณ 12 - 13 วา

          (หมวกใบเล็ก) และ 16 - 17 วา (หมวกใบใหญ่) ซึ่งส่วนนี้เรียกว่าเส้นโค้งหมวก

          3. นำเส้นโค้งหมวกมาเย็บขึ้นเป็นรูปหมวก

          4. นำหมวกที่เย็บเสร็จเรียบร้อยแล้วมาตกแต่งโดยกุ๊นขอบหรือประดับด้วยผ้าสีต่างๆ

ข้อพึงระวัง ->

การเก็บรักษาเส้นตอกไว้ใช้เป็นเวลานาน สามารถทำได้โดยการนำเส้นตอกไปแช่น้ำซาวข้าวไว้ประมาณ

          1 - 2 วัน แล้วนำไปตากแดด เพื่อป้องกันเชื้อรา แล้วนำไปห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หรือถุงพลาสติก จะสามารถ          เก็บรักษาเส้นตอกไว้ได้นานเป็นปี

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา