ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เกษตรผสมสาน (เลี้ยงไก่)

โดย : นายกนกพล.....ปะระมะ วันที่ : 2017-03-28-19:32:36

ที่อยู่ : 127......หมู่........4......ซอย..............-..............ถนน................-................ตำบล.....ห้วยหม้าย........ อำเภอ.......สอง...........จังหวัดแพร่ โทรศัพท์.........089-5562039

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ข้าพเจ้ามีอาชีพเกษตรกร และได้มีโอกาสได้ไปศึกษา อบรม ในวิชาชีพ การเลี้ยงไก่ จึงทำให้ได้รับความรู้ในเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ และได้ทำกิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่เป็นอาชีพเสริม และนำมาเผยแพร่ให้กับชุมชนประกอบเป็นอาชีพเสริมและเป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว สามารถพึ่งตนเองได้ ไก่ไข่เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพราะไข่ไก่เป็นที่นิยมบริโภคทั่วไปและเป็นที่ต้องการของตลาด สามารถนำไปแปรรูป หรือจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ทำอาหารประเภทต่างๆ ได้มากมายเกษตรกรสามารถเลี้ยงไก่ไข่เป็นอาชีพ

วัตถุประสงค์ ->

เกษตรปลอดผสมผสาน ปลอดสารพิษ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. พื้นที่ โรงเรือนสำหรับการเลี้ยงไก่

2. ไก่พันธุ์ไข่

3. อาหาร วิตามิน ยารักษาโรค

อุปกรณ์ ->

เผยแพร่การทำอาชีพเกษตรผสมสาน (เลี้ยงไก่)

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1 พันธุ์ไก่ไข่
            พันธุ์ไก่ไข่ มีทั้งไก่พันธุ์แท้ ได้แก่ ไก่พันธุ์ โร๊ดไอส์แลนด์แดง พันธุ์บาร์พลีมัทร็อค และไก่ลูกผสมที่เกิดจากการผสมระหว่างไก่พันธุ์แท้ 2 พันธุ์ และไก่ไข่ไฮบริด ที่เกิดจากการผสมขึ้นมาพิเศษ ควรหาซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ควรเป็นไก่พันธุ์ดี ให้ไข่ฟองโต ไข่ทน สีเปลือกไข่ตามความต้องการของตลาด 
2โรงเรือนและอุปกรณ์
            โรงเรือนสามารถสร้างด้วยวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น แต่ต้องแข็งแรง และทนทานต้องง่ายต่อการจัดการและทำความสะอาด อากาศถ่ายเทได้ดี และปลอดภัยจากศัตรูรบกวน อุปกรณ์การให้น้ำ – อาหาร ควรมีจำนวนที่เหมาะสม คือ ประมาณ 4 – 5 ถังต่อไก่ 100 ตัว พื้นที่เลี้ยง ถ้าเลี้ยงแบบรวมฝูงใช้ 3 ตัวต่อตารางเมตรมีรังไข่ในโรงเรือน 1 รัง ต่อไก่ไข่ 4 ตัว หรือถ้าเลี้ยงบนกรงตับ กรงตับควรมีขนาดกว้าง 30 ซม. ยาว 45 ซม. และสูง 45 ซม. สำหรับไก่ไข่ 1 ตัว
3 การจัดการเลี้ยงดู
            การเริ่มต้นเลี้ยงดูไก่ไข่ อาจเริ่มมาจากการซื้อลูกไก่มาเลี้ยง ซึ่งต้องใช้เวลานาน และลงทุนสูงหรือจะเริ่มด้วยการเลี้ยงไก่สาวอายุ 18-20 สัปดาห์ ก็ได้ โดยทั่วไปสำหรับเกษตรกรรายย่อยควรเริ่มด้วยการเลี้ยงไก่สาว เลี้ยงแบบฝูงหรือเลี้ยงแบบกรงตับ ให้อาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีนตามระดับที่ไก่ต้องการในช่วงอายุต่าง ๆ หรืออาจลดต้นทุนค่าอาหารด้วยการผสมอาหารเองจากวัตถุดิบที่ทำได้ในท้องถิ่น การให้อาหารต้องเพียงพอ และสม่ำเสมอทุกวัน ไก่ไข่กินอาหรประมาณ 120 กรัมต่อวันต่อตัว ไก่ไข่เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุประมาณ 22 สัปดาห์ และจะให้ไข่นานประมาณ 12 เดือน ให้ผลผลิตประมาณ 280 ฟองต่อตัวต่อปี ควรปลดระวางไก่ไข่หลังจากให้ไข่ไปแล้วประมาณ 1 ปี หรือเมื่อไก่ให้ผลผลิตต่ำกว่า 60% ของฝูง

 


4 การควบคุมและป้องกันโรค
            การเลี้ยงไก่ให้ประสบผลสำเร็จต้องเลี้ยงไก่ให้มีสุขภาพดีสมบูรณ์แข็งแรงจึงจะให้ผลผลิตสูง ต้องมีการทำวัคซีนป้องกันและควบคุมโรคระบาดตามโปรแกรมที่กำหนด ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล โรคหลอดลมอักเสบ โรคอหิวาต์ไก่ และโรคฝีดาษ
 

5. ต้นทุนและผลตอบแทน
            สำหรับการเลี้ยงไก่ไข่ที่เริ่มด้วยไก่สาว อายุ 18 สัปดาห์ จำนวน 500 ตัวต่อรุ่น


        5.1ต้นทุน
จะอยู่ประมาณ 250,000 – 280,000 บาท โดยจะเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าโรงเรือน อุปกรณ์ค่าพันธุ์ไก่ ค่าอาหาร ค่าวัคซีน ค่าเวชภัณฑ์ และค่าน้ำ ค่าไฟในการเลี้ยงดู
        5.2 ผลตอบแทน
จะได้ผลตอบแทนประมาณ 250,000 – 280,000 บาทต่อรุ่น โดยเกิดจากการจำหน่ายไข่ไก่ในราคา ฟองละ 1.80 บาท และผลตอบแทนจากการจำหน่ายแม่ไก่ปลดระวาง 500 ตัว จำหน่ายในราคาตัวละ 50 บาท ทั้งนี้ ต้นทุนและผลตอบแทนจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพปัจจัยในการเลี้ยงดูของแต่ละพื้นที่ ขนาดการเลี้ยงและระบบในการจัดการเลี้ยงดูของแต่ละพื้นที่ ขนาดการเลี้ยงและระบบในการจัดการเลี้ยงดูของเกษตรกร อาทิ ราคาพันธุ์ไก่ ราคาอาหารสัตว์ และราคาผลผลิตที่ตลาดรับซื้อ และเพื่อให้สามารถเลี้ยงเป็นอาชีพที่มั่นคงได้ เกษตรกรควรเลี้ยงจำนวนตั้งแต่ 1,000 ตัว ขึ้นไป อย่างไรก็ตามก่อนการตัดสินใจเลี้ยง เกษตรกรต้องศึกษาข้อมูลและรายละเอียดให้ชัดเจน

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา