ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เกษตรผสมผสาน

โดย : นายอัครวัฒน์ บุญชู วันที่ : 2017-03-28-16:21:19

ที่อยู่ : 37 หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านหนุน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายอัครวัฒน์   บุญชู  ได้เล่าถึงความเป็นมาก่อนที่จะมาทำเกษตรสมาผสานว่า  ก่อนหน้านี้ตัวเองมีอาชีพ

ทำธุรกิจส่วนตัว (บริการเช่ารถยนต์ตู้) บางครั้งรายได้ไม่เพียงพอและไม่แน่นอน เพราะค่าใช้จ่ายในครอบครัวมีเยอะ และในการบริการเช่ารถยนต์ตู้ บางเดือนมีคนเช่ามาก บางเดือนมีคนเช่าน้อย  ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริการให้เช่ารถก็เยอะ เช่น             ค่าน้ำมันรถที่สูงมาก พอหักกำไรขาดทุนก็เหลือน้อย และหลังจากที่ได้ฟังแนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็เริ่มมีแนวคิดว่า ที่จริงบริเวณรอบๆ บ้านของตนเองก็มีพื้นที่ว่างมากมาย จึงค่อยๆ เริ่มลงมือปรับปรุงบริเวณพื้นที่บ้านโดยปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเอง ทำการเกษตรหลายๆ ด้าน การเลี้ยงโคขุนเพื่อจำหน่าย เพื่อให้มีรายได้จากหลายๆ   ทาง

                   นายอัครวัฒน์   บุญชู  บอกว่า จริงๆ แล้วเศรษฐกิจพอเพียงและการเกษตรผสมผสานนั้น คือ การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ไว้ใช้เองกินเอง เหลือแล้วจึงจำหน่ายเพิ่มรายได้ให้คับครอบครัว แต่ตามแนวความคิดของนายอัครวัฒน์   บุญชู             อาจสวนทางไปบ้าง คือ มุ่งเน้นหารายได้ให้กับครอบครัว แต่ก็มีของไว้กินไว้ใช้ ไม่ต้องซื้อหา ก็ถือว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัวด้วยเหมือนกัน  แต่กิจกรรมแต่ละอย่างหนักเหมือนกัน เลยให้คติที่แกยึดไว้ว่า ขยัน และอดทน บวกกับการพอใจในสิ่งที่ตนเป็นอยู่ เท่านี้ก็สู้แล้ว แถมอีกอย่าง คือ กำลังใจจากครอบครัวสำคัญมากๆ ทำให้ต่อสู้กับปัญหาต่างๆ มาได้   

 

วัตถุประสงค์ ->

เผยแพร่ความรู้ ส่งเสริมอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เมล็ดพันธุ์ผัก  เช่น  ผักกาด  พริก  มะเขือ เป็นต้น                                               

2. ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์                                                    

3. ซังข้าวโพดหรือกอฟาง                                                  

4. พันธุ์สัตว์ เช่น โคขุน

5. หญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์

อุปกรณ์ ->

1. พื้นที่/อุปกรณ์สำหรับปลูก/แปลงผัก

2. พื้นที่/อุปกรณ์วัตถุดิบสำหรับเลี้ยงสัตว์

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1) การเตรียมพื้นที่ที่จะดำเนินการให้เหมาะสม ตามชนิดพืชที่จะปลูกและการเลี้ยงสัตว์

          2) แหล่งน้ำที่จะใช้ในการเพาะปลูก/เลี้ยงสัตว์ตามสภาพพื้นที่

          3) เตรียมปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักอินทรีย์ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี และหาวัสดุในท้องถิ่นที่จะนำมาทำปุ๋ยหมัก

4) เตรียมวัสดุที่จะใช้คลุมดิน เช่น ซังข้าวโพด/กอฟาง เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำที่รดต้นพืช โดยใช้วัสดุที่เหลือใช้ในการเกษตร ทำให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา และหญ้าหรือฟางสำหรับเลี้ยงสัตว์

          5) ต้นกล้าหรือต้นพืช หาได้ตามท้องถิ่นมาเพาะขยายพันธุ์ตามชนิดพืช และให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และฤดูกาล

          6) การกำจัดศัตรูพืชและแมลง ไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชและแมลง ใช้น้ำหมักชีวภาพและสารไล่แมลงจากพืชเท่านั้น

          7) พืชผักจะเจริญงอกงามได้อยู่ที่การเตรียมดินให้เหมาะสมกับพืชผักทุกชนิด ถ้ามีการเตรียมดินดีและเหมาะสม พืชผักก็จะแข็งแรง คนที่บริโภคก็แข็งแรงด้วย  และในการเลี้ยงสัตว์นั้นควรดูแลเอาใจใส่ในการเลี้ยง

ข้อพึงระวัง ->

ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ คู่มือเอกสารต่างๆ ศึกษาเรียนรู้จากอินเตอร์เน็ต ศึกษาดูงานและหาประสบการณ์จากแหล่งเรียนรู้นอกพื้นที่ แล้วนำมาปรับใช้ให้เข้ากับสภาพบริบทของตนเอง   เพื่อนำมาพัฒนากิจกรรมของตนเองให้มีสภาพที่ดีขั้น

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา