ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ปลาร้าอบ

โดย : นางมาลัย บุระตุ วันที่ : 2017-03-28-15:54:49

ที่อยู่ : 51 หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านกลาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สืบจากเดิมคุณเหรียญ และคุณมาลัย บุระตะ มีอาชีพขายปลาร้าทั้งปลีก และส่งตามท้องตลาด และหมู่บ้านในเขตอำเภอสองมาเป็นระยะเวลาร่วม 20 ปี และสินค้าเป็นที่ยอมรับ และลูกค้ามีความต้องการสูง จึงคิดพัฒนาคุณภาพของสินค้าทั้งด้านการผลิต และการบรรจุให้ได้คุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยการนำปลาร้ามาทำให้สุก จึงทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ ปลาร้าอบตราเหรียญทอง จากนั้นได้จำหน่ายสู่ท้องตลาดในจังหวัดแพร่ และเขตภาคเหนือ ปรากฏว่าได้รับการยอมรับจากท้องตลาดเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่มีการแปรรูปปลาร้าให้ได้มาตรฐานคือ สุก สะอาด

จากความคิดริเริ่มส่วนตัวมาเป็นการรวมกลุ่ม คือ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จากการออกมเงินอย่างเดียวมาเป็นการออกเพื่อ การผลิตปลาร้า โดยมีสมาชิกสตรีในหมู่บ้านเป็นสมาชิก มีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้กับคนในชุมชน ทำให้เกิดความสามัคคี ปรองดอง มีการพบปะสังสรรค์ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และเป็นการสืบสานภูมิปัญญา แล้วถ่ายทอดแก่เยาวชนคนรุ่นหลัง ตลอดทั้งสร้างชื่อเสียงให้แก่ชุมชน

 

วัตถุประสงค์ ->

เผยแพร่ความรู้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ปลาสด

2. เกลือไอโอดีน

3. ข้าวสารเหนียว

อุปกรณ์ ->

1. เครื่องบด

2. กระทะ

3. โอ่งมังกร

4. เตาอบ

5. เครื่องชิลปากถุง

6. ไดร์เป่า

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. นำปลาสดมาทำความสะอาด ตัดหัวขอดเกล็ด ควักใส้ออก ล้างให้สะอาด นำมาคลุกกับเกลือไอโอดีน

2. นำข้าวคั่วบดให้ละเอียด

3. เอาปลาที่คลุกกับเหลือมาคลุกกับข้าวคั่วบดละเอียด ใส่ลงในโอ่งมังกร หมักไว้อย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปี

4. นำปลาร้าที่หมักได้ที่แล้ว มาบดให้ละเอียด แล้วนำเข้าตู้อบผ่านความร้อนจนสุก

5. นำบรรจุถุง / ขวด / ทำเป็นก้อน        

ข้อพึงระวัง ->

ปลาร้า เป็นการแปรรูปปลาสดมาหมักเก็บไว้นานๆได้ ซึ่งนับว่าเป็นภูมิปัญญาของคนโบราณ และคิดว่าทุกคนเกิดมาคงจะรู้จัก ได้ยินชื่อ เป็นส่วนประกอบอาหารของคนเมืองเหนือ ไม่ทราบได้ว่าเกิดขึ้นมาเมื่อปีไหน การประกอบอาหารพื้นเมืองประเภทแกง, ยำต้องใส่ปลาร้า ไม่ว่าแกงแค แกงอ่อม ยำไก่ ยำเนื้อ แกงผักต่างๆ ( ใส่ปลาร้ายิ่งเยอะยิ่งอร่อย ) หรืออาจนำมาทำปลาร้าสับกินกับผักสดก็อร่อยดี สำหรับปลาร้า ในอดีตต้องเป็นปลาร้าจากสุโขทัย และปลาร้าจากพิจิตร ถึงจะอร่อยเข้มข้น

          ปัจจุบัน มักวิชาการด้านต่างๆ เกิดขึ้น คือ ด้านสาธารสุข ด้านเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย มีตัวชีวัด จปฐ. ว่าการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ มีการเสี่ยงกับโรคพยาธิ ซึ่งปลาร้าก็มีส่วนที่เป็นอาหารดิบนำมาหมัก หากจะรับประทานต้องทำให้สุกก่อน เช่น ต้ม หมก ( ปิ้ง ) อบ เป็นต้น  จึงต้องมีการปรับปรุงและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลาร้าให้สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องมีขั้นตอนยุ่งยาก จึงได้นำปลาร้าสมัครเป็นผู้ผลิตผู้ประกอบการโอทอป โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปลาร้าเป็นปลาร้าอบจำหน่ายตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2518

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา