ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ของฝากของที่ระลึกจากเศษไม้

โดย : นาย เศวต สันป่าเป้า วันที่ : 2017-03-28-15:34:51

ที่อยู่ : 38 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านกลาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำของฝากของที่ระลึกจากเศษไม้ถือเป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ให้คนในครอบครัว ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถหาวัสดุได้จากท้องถิ่น และเป็นการนำของที่เหลือใช้มาแปรรูปให้เกิดประโยชน์ สร้างมูลค่าเพิ่ม ช่วยลดขยะให้กับชุมชน/หมู่บ้านได้อีกทางหนึ่ง เพราะ หากเศษไม้ที่เหลือใช้ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ก็จะถูกนำไปทิ้งหรือกำจัดโดยการเผา ซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน ดังนั้นการทำของฝากของที่ระลึกจากเศษไม้จึงถือว่าเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง ทั้งยังสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวได้เป็นอย่างดี เนื่องจาการทำของฝากของที่ระลึกจากเศษไม้เป็นงานฝีมือ ต้องใช้แรงงานทักษะฝีมือที่มีความเชี่ยวชาญในระดับหนึ่ง และเป็นงานที่มีความประณีต จึงเป็นที่นิยมของผู้ที่ชอบงานประดิษฐ์จากงานไม้ จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถจำหน่ายได้ดีในระดับหนึ่ง ทั้งยังสามารถนำผลิตภัณฑ์สู่ OTOP ได้

วัตถุประสงค์ ->

เผยแพร่ความรู้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ไม้คือวัสดุที่ใช้มากที่สุดไม้ที่ใช้ในการแกะสลักมีอยู่หลายชนิดแต่ละชนิดให้ลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามสีสันและลวดลายของไม้

          1.1 ไม้สัก เป็นไม้ที่นิยมใช้ในการแกะสลักมากที่สุดเพราะมีผิวละเอียดและลายไม้สวย

          1.2 ไม้ชิงชัน เป็นไม้ที่นิยมมากเช่นเดียวกัน

          1.3 ไม้โมกมัน เป็นไม้ที่นิยมกันพอสมควรเพราะราคาถูกและลวดลายไม้สวยงาม

          1.4 ไม้ฉำฉา เป็นไม้ที่นิยมกันพอสมควรเพราะราคาถูกที่สุด ผลิตง่ายเพราะเป็นไม้เนื้ออ่อน แม้ว่า ลวดลายจะไม่สวยเท่าไม้อื่น ๆ

อุปกรณ์ ->

1. ค้อนไม้   เป็นค้อนที่มีลักษณะคล้ายตะลุมพุกเล็กๆ ทำจากไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้แดง ไม้ชิงชัน ค้อนไม้จะเบา และไม่กินแรงเวลาใช้งานและช่วยรักษาด้ามสิ่วให้ใช้งานได้นานอีกด้วย

สิ่ว  เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการแกะสลักมีหลายชนิดได้แก่ สิ่วขุด สิ่วฉาก สิ่วขมวด

2. สิ่วเล็บมือ  สิ่วทำจากเหล็กกล้าที่แข็งและเหนียว ที่สำคัญคือจะต้องลับให้คมอยู่เสมอ

3. มีด  เป็นมีดเล็กๆ ปลายแหลม ใช้แกะลายเล็กๆ หรือแกะร่อง

4. เลื่อย  ใช้ในการเลื่อยไม้ส่วนที่ไม่ต้องการออกไป เพื่อขึ้นรูปหรือขึ้นโครงของงาน

5. บุ้งหรือตะไบ  ใช้ถูตกแต่งชิ้นงานในขั้นตอนหลังจากแกะสลักแล้ว

6. กระดาษทราย  ใช้ขัดตกแต่งชิ้นงานหลังจากแกะสลักแล้ว

7. กบไสไม้  ใช้ไสไม้ให้เรียบก่อนลงมือแกะหรือตกแต่งอื่นๆภายหลัง

8. สว่าน  ใช้เจาะรูไม้เพื่อแกะหรือฉลุไม้

9. แท่นยึดหรือปากากาจับไม้ ใช้ยึดจับไม้

10. เครื่องมือประกอบอื่นๆ   ได้แก่ ไม้บรรทัด ดินสอ กระดาษลอกลาย กระดาษแข็งทำแบบ

11. วัสดุตกแต่ง  ได้แก่  ดินสอพอง แลกเกอร์ แชลแลก น้ำมันลินสีด ทินเนอร์ หรือสีทาไม้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. กำหนดรูปแบบและลวดลาย ออกแบบหรือกำหนดรูปแบบและลวดลายนับเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการออกแบบ สำหรับงานแกะสลักต้องรู้จักหลักในการออกแบบ และต้องรู้จักลักษณะของไม้ที่จะนำมาใช้แกะสลัก เช่น ทางไม้หรือเสี้ยนไม้ที่สวนกลับไปกลับมา สิ่งเหล่านี้ช่างแกะสลักจะต้องศึกษาหาความรู้และแบบงานแกะสลักต้องเป็นแบบ ที่เท่าจริง

2. การถ่ายแบบลวดลายลงบนพื้นไม้ นำแบบที่ออกแบบไว้มาผนึกลงบนไม้ หรือนำมาตอกสลักกระดาษแข็งต้นแบบให้โปร่ง เอาลวดลายไว้และนำมาวางทาบบนพื้นหน้าไม้ที่ทาด้วยน้ำกาว หรือน้ำแป้งเปียกไว้แล้วทำการตบด้วยลูกประคบดินสอพองหรือฝุ่นขาวให้ทั่ว แล้วนำกระดาษต้นแบบออก จะปรากฏลวดลายที่พื้นผิวหน้าไม้

3. การโกลนหุ่นขึ้นรูป คือการตัดทอนเนื้อไม้ด้วยเครื่องมือช่างไม้บ้างเครื่องมือช่างแกะสลักบ้าง แล้วแกะเนื้อไม้เอาส่วนที่ไม่ต้องการออกให้ไม้นั้นมีลักษณะรูปร่างที่ใกล้ เคียงกับแบบเพื่อให้เกิดรูปทรงตามต้องการ มีความชัดเจนตามลำดับเพื่อจะนำไปแกะสลักลวดลายในขั้นต่อไป

การโกลนภาพ เช่นการแกะภาพลอยตัว เช่น หัวนาคมงกุฎ หรือแกะครุฑและภาพสัตว์ต่าง ๆ ช่างจะต้องโกลนหุ่นให้ใกล้เคียงกับตัวภาพ

4. การแกะสลักลวดลาย คือการใช้สิ่วที่มีความคม มีขนาดและหน้าของสิ่วต่าง ๆ เช่น สิ่วหน้าตรง หน้าโค้ง และฆ้อนไม้ เป็นเครื่องมือในการแกะสลัก เพื่อทำให้เกิดลวดลายซึ่งต้องใช้ฆ้อนไม้ในการตอกและใช้สิ่วทำการขุด การปาดและการแกะลวดลายทำให้เกิดความงามตามรูปแบบที่ต้องการ

     การขุดพื้น คือการตอกสิ่วเดินเส้น โดยใช้สิ่วที่พอดีกับเส้นรอบนอกของตัวลาย เพื่อเป็นการคัดโคมของลวดลายส่วนใหญ่ทั้งหมดก่อนโดยใช้ฆ้อนตอก เวลาตอกก็ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม สม่ำเสมอเพื่อคมสิ่วจะได้จมลึกในระยะที่เท่ากันแล้วจึงทำการใช้สิ่วหน้าตรง ขุดพื้นที่ไม่ใช่ตัวลายออกให้หมดเสียก่อน ขุดชั้นแรกขุดตื้น ๆ ก่อน ถ้าพื้นยังไม่ลึกพอก็ตอกซ้ำอีกแล้วจึงขุดต่อไปเพื่อให้ได้ช่องไฟที่โปร่งถ้า ต้องการนำลวดลายแกะสลักนั้นไปประดับในที่สูงก็ต้องขุดพื้นให้ลึกพอประมาณ เพราะมองไกล ๆ จะได้เห็น การแกะยกขึ้น หลังจากที่ทำการขุดพื้นแล้วก็แกะยกชั้น จัดตัวลายที่ซ้อนชั้นกันเพื่อให้เห็นโคมลายชัดเจน ซึ่งก้าวก่ายกันในเชิงของการผูกลายเพื่อปรับระดับความสูงต่ำของแต่ละชั้นมี ระยะ 1 – 2 – 3 การแกะแรลาย เริ่มจากการตอกสิ่วเดินเส้นภายในส่วนละเอียดของลวดลายแล้ว ก็จะใช้สิ่วเล็บมือทำการปาดแกะแรลายเก็บแต่งส่วนละเอียด

 

ข้อพึงระวัง ->

          การแกะสลักไม้ จำเป็นต้องมีวิธีการแปลกออกไปแล้วแต่สภาพ เช่น การแกะบานประตูหน้าต่างอาจใช้ไม้แผ่นเดียวทำได้สำเร็จ แต่การแกะหน้าบัน พระที่นั่งโบสถ์มีขนาดใหญ่ วิธีการแกะจึงต้องเพลาะไม้หลาย

แผ่นเข้าด้วยกัน แต่อาจจะเรียงต่อกันโดยยึดพอที่จะแกะ เสร็จแล้วจึงถอดเป็นชิ้นส่วนนำขึ้นไปประกอบทีละแผ่น หรือลวดลายที่ต้องการแสดงรูปเกือบลอยตัวก็แยกแกะต่างหากตามแบบแล้วนำเดือย สลักติดเข้ากับตัวลายหน้าบันนั้น ๆ ต่อไป

 

          ในปัจจุบันการแกะสลักก็ยังคงยึดวิธีการแบบโบราณ แต่มีการวิวัฒนาการปรับปรุงเครื่องมือเข้ามาช่วย ก็คือการใช้เครื่องมือขุดพื้น การลอกแบบลงบนไม้ ซึ่งแต่เดิมใช้วิธีการปรุกระดาษแล้วโรยฝุ่น หรือใช้เขียนลง

บนไม้ ก็ใช้พิมพ์เขียวแล้วทากาวผนึกลงบนไม้ แต่ละใช้ได้เฉพาะแกะให้รู้รูปร่าง แต่เมื่อโกลนหุ่นแล้วก็ต้องใช้วิธีการเขียนแบบเดิมซึ่งทำกันมาแต่โบราณ

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา