ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทอผ้าตีนจกด้วยไหมประดิษฐ์

โดย : นางอำพัน........ณ..น่าน วันที่ : 2017-03-27-14:15:51

ที่อยู่ : 10/1....หมู่...4....ซอย............-..................ถนน............-....................ตำบล...ห้วยอ้อ......................... อำเภอ.....ลอง..........จังหวัดแพร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ผ้าตีนจก เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของอำเภอลอง ซึ่งได้นำวัฒนธรรมการทอผ้ามาด้วย โดยเฉพาะการทอผ้า

ตีนจก เป็นการทอผ้าโดยใช้เทคนิคพิเศษในการทอ คือใช้ขนเม่นในการจกฝ้ายจากด้านล่างขึ้น ด้านบน บนเส้นยืนเพื่อให้เกิดลวดลายตามที่ต้องการ การทอผ้าตีนจกแต่ละผืนจะใช้ระยะเวลาในการทอหลายวันติดต่อกัน ซึ่งบ่งบอกถึงความวิริยะอุตสาหะของผู้ทอผ้าแต่ละคนเป็นอย่างดี ผ้าตีนจกจึงเป็นผ้าทอที่มีความปราณีต มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวไทยพวน และมีสีสันที่สวยงาม สีสันที่ใช้ในการทอส่วนใหญ่ตัวผ้าซิ่นจะ เป็นสีเขียว เชิงจกจะเป็นพื้นสีแดง และลวดลายจะเป็นสีเหลือง โครงสร้างของผ้าซิ่นตีนจกประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1. หัวซิ่น ได้แก่ ส่วนที่อยู่บนสุดของผ้าซิ่น แบบโบราณจะใช้สีขาว และสีแดง 2. ตัวซิ่น ได้แก่ ส่วนที่เป็นตัวกลางของผ้าซิ่น ซึ่งผ้าซิ่นของไทยพวนของหาดเสี้ยว จะมีลวดลายแตกต่างกันไป เช่น ซิ่นเข็น ซิ่นตาหว้า เป็นต้น 3. ตีนซิ่น หรือตีนจก ได้แก่ ส่วนล่างสุดของผ้าซิ่น ซึ่งลวดลายของผ้าตีนจกจะประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ลายหลัก และลายประกอบ ซึ่งแต่ละลายจะมีความหมายของลวดลายแตกต่างกันไป 

 

วัตถุประสงค์ ->

เผยแพร่การทอผ้าตีนจกด้วยไหมประดิษฐ์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

(1) เส้นไหม ใช้เส้นไหมคุณภาพมาตรฐาน ประกอบด้วยเส้นไหมยืน และเส้นไหม

อุปกรณ์ ->

(1) หลักเฝือ คือ อุปกรณ์ในการค้นเส้นยืน เพื่อทำการเตรียมเส้นยืน ก่อนที่จะนำไปติดตั้ง กี่ทอผ้า
(2) กง คือ อุปกรณ์สำหรับใส่เส้นไหมเพื่อการกรอเส้นไหมเข้าอัก
(3) อัก คือ อุปกรณ์สำหรับการม้วนเก็บเส้นไหมที่ทำการกรอจากกง
(4) ไน/หลา คืออุปกรณ์สำหรับการกรอเส้นไหมเข้าหลอด หรือ เป็นอุปกรณ์ในการตีเกลียวเส้นไหม และควบตีเกลียวเส้นไหม
(5) หลอด คือ อุปกรณ์สำหรับการม้วนเก็บเส้นไหม เพื่อนำไปใส่ในกระสวยเพื่อการพุ่ง เส้นพุ่งในการทอผ้าแพรวา
(6) กระสวย คือ อุปกรณ์สำหรับใส่หลอดม้วนเส้นไหมพุ่งเพื่อพุ่งนำหลอดเส้นพุ่งในการทอผ้า
(7) ไม้เก็บลายหรือไม้เก็บขิดลาย คือ อุปกรณ์สำหรับการทำลายขิด เป็นแผ่นไม้ปลาย แหลมเพื่อการล้วงเส้นไหมในการเก็บลาย
(8) ไม้ลาย คือ อุปกรณ์สำหรับสอดค้ำเส้นไหมตามที่เก็บขิดลายไว้ เป็นไม้แบนขนาดกว้างประมาณ 6-7 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร
(9) ไม้เผ่ายกลายหรือไม้ยกลายหรือไม้ค้ำขิด คือ อุปกรณ์สำหรับการยกค้ำเส้นไหมเพื่อการสอดนิ้วก้อย เป็นไม้แบนคล้ายกับไม้เก็บลายแต่มีขนาดกว้างกว่า คือ ประมาณ12-13 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร
(10) ฟืม คือ อุปกรณ์สำหรับการจัดเรียงเส้นไหมยืนก่อนที่จะนำเส้นยืนไปกลางตั้งขึ้นบนกี่ทอผ้า
(11) กี่ทอผ้า คือ อุปกรณ์สำหรับการทอผ้า
(12) ไม้เหยียบหูก คือ อุปกรณ์ที่เป็นท่อนไม้ที่อยู่ด้านล่างของกี่ทอผ้า มีเชือดโยงติดกับตะกอฟืม เพื่อใช้เท้าเหยียบให้เส้นยืนสลับขึ้นและลง เพื่อการสอดเส้นพุ่งในการทอผ้า
(13) แปรงทาแป้งบนเส้นยืน คืออุปกรณ์สำหรับใช้ทาน้ำแป้งบนเส้นยืน เพื่อป้องกันเส้นยืนแตกในขณะที่ทอผ้า
(14) ไม้คันผัง คืออุปกรณ์ที่ทำด้วยไม้ไผ่ ใช้ค้ำยันขอบริมผ้าหน้ากว้างทั้งสองด้านของหน้ากว้างผืนผ้าให้ตึงและตรงตลอดทั้งแนวความยาวของผืนผ้าที่ทอ
(15) วัสดุลอกกาวธรรมชาติ คือ ขี้เถ้าที่ได้จากการเผากาบต้นกล้วยที่ใช้ในการ เตรียมลอกกาวเส้นไหม
(16) สารธรรมชาติลอกกาวเส้นไหม คือ สารที่ได้จากการนำวัสดุลอกกาวเส้นไหมธรรมชาติผสมน้ำแล้วแช่ทิ้งไว้ ให้เกิดการตกตะกอน แล้วนำไปกรองด้วยผ้าบางเพื่อแยกตะกอนออกจากสารลอกกาวธรรมชาติ
(17) สีธรรมชาติย้อมเส้นไหม คือ สีย้อมเส้นไหมที่ได้มาจากวัสดุที่เป็นธรรมชาติ เช่น จากชิ้นส่วนของพืช  และสัตว์ เช่น   สีแดง คือ สีที่ได้จากครั่ง  , สีเหลือง  คือ  สีที่ได้จากแก่นประโหด , สีน้ำเงิน คือ สีที่ได้จากคราม  สีเขียว คือ สีที่ได้จากสีน้ำเงินจากครามทับ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. คัดเลือกปุยฝ้าย  ผึ่งแห้งให้สนิท  แล้วหีบแยกเมล็ดกับปุยฝ้าย

2. ยิงฝ้าย  คือ  ทำฝ้ายให้พองตัวโดยใช้อุปกรณ์คือ  กงฝ้าย  ลักษณะคล้ายคันธนู

3. ล้อมฝ้าย  โดยใช้ไม้กลม ๆ คล้ายตะเกียบ  ม้วนฝ้ายเป็นม้วนกลม ๆ

4. เข็นฝ้าย  ต้องใช้ความชำนาญในการส่งด้ายเข้าหมุนเพื่อเส้นด้านจะได้สม่ำเสมอ  ไม่เป็นปุ่ม  จนกระทั่งได้ด้ายเป็นกลุ่มหลอดด้าย

5. เปียฝ้าย  นำด้ายมาเป็นไจ  หรือเป็นเข็ด  อุปกรณ์ที่ทำด้ายเป็นไจ  เรียกเปียเมื่อเพียงพอแก่ความต้องการแล้วเรียก  เข็ดหนึ่ง  นำมาย้อมสี  แล้วต้มในน้ำข้าวผึ่ง  แดดให้แห้งนำมาทอโดยใช้เครื่องทอ  เรียกว่า หูก

6. การทอจะมีด้ายแนวยืนกับแนวขวาง  แนวยืน  ด้ายเป็นแนวยืน  นำมาใส่ในกวัก หรือกวักฝ้าย  แล้วคันคือนำด้าย

มาเรียงยืนตามความกว้างยาวที่ต้องการ  ต่อด้ายเครือหูกให้ติดกับด้านฟืมซึ่งมีลักษณะเป็นฟันซี่ ๆ คล้ายหวี  สำหรับสอดด้ายและไหม ใช้กระทบด้ายและไหมประสานกัน เรียกว่า สืบหูก จากนั้นนำไปเข้า กี่ หรือเครื่องสำหรับทอ พร้อมที่จะทอ แนวขวาง นำด้ายมาพันไม้ก้อหลอดหรือกรอหลอด เรียกว่า กรอหลอดด้าย อุปกรณ์กรอ ก็คือ หลา นำไปใส่ในกระสวยพุ่งขวางไป - มาตามฟืม ผ้าซิ่นตีนจกนั้นมีลวดลายงดงามแปลกตา นับเป็นเอกลักษณ์ของชาวหาดเสี้ยวที่คิดค้นลวดลาย ๙ ลาย เรียกว่า ๙ หน่วย คือ ลายสี่ขอ ลายแปดขอ ลายเครือน้อย ลายเครือกลาง ลายเครือใหญ่ (เหย่อ) ลายน้ำอ่าง ลายสิบสองหน่วยตัด ลายสิบหก ลายสองห้อง ปัจจุบันได้คิดประดิษฐ์ลวดลายแปลกใหม่มากกว่าเดิม

 

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา