ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกผักปลอดสารพิษ

โดย : นางสาวอนุสรา....ประธรรมเรือง วันที่ : 2017-03-27-14:00:48

ที่อยู่ : 113......หมู่.....6........ซอย.........-...............ถนน..........-..............ตำบล....ห้วยอ้อ......... อำเภอ.....ลอง........จังหวัดแพร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ครอบครัวตนเองมีอาชีพรับจ้างทั่วไป  และตนเองก็มีอาชีพรับจ้างทำงานกับนายทุนในหมู่บ้าน  เมื่อได้รับค่าตอบแทนแล้วจะนำไปซื้อข้าว  ซื้ออาหาร  และซื้อทุกอย่างเพื่อมาบริโภค  อุปโภค  ในครัวเรือน ทำให้มีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายได้จ่าย  ประกอบพ่อตนเองเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเมื่อพ่อได้รับการอบรมเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง  ก็จะนำความรู้ที่ได้รับมา พูดคุย  ปรึกษาหารือกันในครัวเรือน  จึงมีความเห็นพร้องต้องกันว่า  พื้นที่ว่างในบริเวณบ้านเรามาดัดแปลงเป็นแปลงผัก  เพื่อที่จะปลูกได้ปลูกผักไว้รับประทานในครัวเรือน  จึงทำให้ได้รับสารอาหารที่ปลอดภัย  ปราศจากสารพิษตกค้างในร่างการ  ทำให้คนในครอบครัวมีสุขภาพที่ดี   และเมื่อนำออกมาจำหน่ายก็ได้รับความสนใจแก่คนทั่วไป  จึงทำเป็นรายได้เสริมให้แก่ครอบครัวอีกทางหนึ่ง  นอกจากได้สุขภาพที่ดีแล้ว  ยังมีรายได้เพิ่ม  และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนทั่วไปสามารถนำไปดัดแปลงใช้ในครอบครัวได้

วัตถุประสงค์ ->

เผยแพร่การปลูกผักปลอดสารพิษ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การปลูกผักในแปลงปลูก มีขั้นตอน คือ

1. การพรวนดิน ใช้จอบขุดดินลึกประมาณ 6 นิ้ว เพื่อพรวนดินให้มีโครงสร้างดีขึ้น กำจัดวัชพืชในดินกำจัดไข่แมลงหรือโรคพืชที่อยู่ในดิน โดยการพรวนดินและตากทิ้งไว้ประมาณ 7 - 15 วัน

2. การยกแปลง ใช้จอบพรวนยกแปลงสูงประมาณ 4 - 5 นิ้ว จากผิวดิน โดยมีความกว้างประมาณ 1 - 1.20 เมตร ส่วนความยาวควรเป็นตามลักษณะของพื้นที่หรืออาจแบ่งเป็นแปลงย่อยๆ ตามความเหมาะสม ความยาวของแปลงนั้นควรอยู่ในแนวทิศเหนือ - ใต้ ทั้งนี้เพื่อให้ผักได้รับแสงแดดทั่วทั้งแปลง

3. การปรับปรุงเนื้อดินเนื้อดินที่ปลูกผักควรเป็นดินร่วนแต่สภาพ ดินเดิมนั้นอาจจะเป็นดิน ทรายหรือดินเหนียว จำเป็นต้องปรับปรุงให้เนื้อดินดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตราประมาณ 2 - 3 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน

4. การกำหนดหลุมปลูกจะกำหนดภายหลังจากเลือกชนิด ผักต่างๆ แล้วเพราะว่าผักแต่ละชนิดจะใช้ระยะปลูกที่ต่างกัน เช่น พริก ควรใช้ระยะ 75X100 เซนติเมตร ผักบุ้งจะเป็น 5X5 เซนติเมตร เป็นต้น

การปฏิบัติดูแลรักษา

การดูแลรักษาด้วยความเอาใจใส่ จะช่วยให้ผักเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์จนถึงระยะเก็บเกี่ยว การดูแลรักษาดังกล่าว ได้แก่

1. การให้น้ำ การปลูกผักจำเป็นต้องให้น้ำเพียงพอ การให้น้ำผักควรรดน้ำในช่วง เช้า-เย็น ไม่ควรรดตอนแดดจัด และรดน้ำแต่พอ ชุ่มอย่าให้โชก

2. การให้ปุ๋ย มี 2 ระยะ คือ

2.1 ใส่รองพื้นคือการใส่เมื่อเวลาเตรียมดิน หรือรองก้นหลุมก่อนปลูก ปุ๋ยที่ใส่ควรเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

คลุกในดินให้ทั่วก่อนปลูก เพื่อปรับโครงสร้างดินให้โปร่งร่วนซุย นอกจากนั้นยังช่วยในการอุ้มน้ำ และรักษาความชื้นของดินให้เหมาะสม กับการเจริญเติบโต ของพืชด้วย

2.2 การใส่ปุ๋ยบำรุง ควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อย้ายกล้าไปปลูกจนกล้าตั้งตัวได้

แล้ว และใส่ครั้งที่ 2 หลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 2-3 สัปดาห์ การใส่ให้โรยบางๆ ระหว่างแถว ระวังอย่าให้ปุ๋ยอยู่ชิดต้น เพราะจะทำให้ผักตายได้ เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วให้พรวนดินและรดน้ำทันที สูตรปุ๋ยที่ใช้กับพืชผัก ได้แก่ ยูเรีย หรือแอมโมเนียซัลเฟต สำหรับบำรุงต้นและใบ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ 12-24-12 สำหรับเร่งการออกดอกและผล

3. การป้องกันจำกัดศัตรูพืช ควรบำรุงรักษาต้นพืชให้แข็งแรง โดยการกำจัดวัชพืช ให้น้ำอย่างเพียงพอและใส่ปุ๋ยตามจำนวน ที่ กำหนด เพื่อให้ผักเจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อโรคและแมลง หากมีโรค และแมลงระบาดมากควร ใช้สารธรรมชาติ หรือใช้วิธีกลต่างๆ ในการป้องกันกำจัด เช่น หนอนต่างๆ ใช้มือจับออก ใช้พริกไทยป่นผสมน้ำฉีดพ่น ใช้น้ำคั้นจากใบหรือเมล็ดสะเดา ถ้าเป็นพวกเพลี้ย เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และเพลี้ยจั๊กจั่น ให้ใช้น้ำยาล้างจาน 15 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใต้ใบเวลาเย็น ถ้าเป็น พวกมด หอย และทากให้ใช้ปูนขาว โรยบางๆ ลงบริเวณพื้นดิน

การเก็บเกี่ยว สวนครัว การเก็บเกี่ยวผัก ควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ได้ผักสดรสดี และหากยังไม่ได้ใช้ให้ล้างให้สะอาด และนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผัก ประเภทผล ควรเก็บในขณะที่ผลไม่แก่จัดจะได้ผลที่มีรสดีและจะทำให้ผลดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปจะออกผลน้อยลง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา