ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเกษตรแบบผสมผสาน

โดย : นายสิริพงศ์..........วงศ์ธุวานันท์ วันที่ : 2017-03-27-08:53:03

ที่อยู่ : 1/5...หมู่ที่...9... ซอย...-... ถนน...-... ตำบล....ห้วยม้า..... อำเภอ..เมืองแพร่.... จังหวัดแพร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หลังจากที่เกษียณอายุราชการก่อนกำหนด เมื่อปี 2547 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองนายก อบต.ห้วยม้า จากนั้นก็ได้ดำเนินชีวิตด้านเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จึงเกิดแนวคิดที่จะจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนขึ้นที่บ้านศรีสิทธิ์ หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยม้า โดยใช้สถานที่ของโรงเรียนบ้านศรีสิทธิ์เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมต่างๆ เช่น ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงกบในบ่อดิน ทำเห็ดฟาง เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า ทำลูกประคบสมุนไพร ทำไม้กวาด ทำน้ำหมักชีวภาพ แต่จากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ มีกิจกรรมที่ประสบผลสำเร็จบาง ไม่ประสบผลสำเร็จบาง เพราะขาดความต่อเนื่อง สมาชิกบางคนไม่เห็นว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้น เลยทำให้ยุบศูนย์เรียนรู้ที่บ้านศรีสิทธิ์ไป

          แต่ด้วยใจที่ตั้งมั่น ยังคิดว่าการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การทำเกษตรแบบผสมผสานดีต่อครอบครัว พร้อมกับตัวเองมีทักษะ และการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตของครอบครัวอยู่แล้วด้วย จึงคิดว่าจะย้ายครอบครัวมาอยู่ที่บ้านทุ่งล้อม หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยม้า เพราะมีที่นาอยู่จำนวน 4 ไร่ ซึ่งในขณะนั้นได้ทำนาปีละ 1 ครั้ง มีรายได้ไม่เกิน 20,000 บาท โดยยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย แรงงานที่ทำ จึงคิดว่าจะสานต่อแนวคิดและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ โดยจะได้ใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า จึงได้แบ่งพื้นที่ จำนวน 4 ไร่ ออกเป็นโซนต่างๆ คือ พื้นที่สำหรับปลูกบ้านประมาณ 2 งาน  ขุดสระเพื่อเลี้ยงปลารอบบริเวณบ้าน จำนวน 1 ไร่ เลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด ปลูกไม้ผลประมาณ 1 ไร่ พื้นที่ทำเห็ดประมาณ 1 งาน และที่เหลือก็ใช้เป็นพื้นที่ปลูกผักตามฤดูกาลหลายอย่างมากมาย เพื่อไว้สำหรับรับประทานและเอาไว้ขาย รายได้หลักของครอบครัว คือ การเพาะเห็ดและขยายพันธุ์ไม้ผล ถือว่าใช้พื้นที่ได้คุ้มค่ามากสำหรับครอบครัวของตัวเอง ก่อนที่จะประสบความสำเร็จนั้น ก็เคยใช้วิธีผิด คือ การปลูกพืชเชิงเดี่ยว ได้แก่ ข้าวและข้าวโพด มีการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีในแปลง ต้นทุนการผลิตสูง ขายผลผลิตไม่ได้ราคา ปัญหาด้านการตลาด ด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบด้านสุขภาพร่างกาย จึงนำที่ดินดังกล่าวปรับเปลี่ยนไปทำการเกษตรแบบผสมผสาน แบบอินทรีย์มาจนถึงปัจจุบัน จนได้รับคัดเลือกเป็นครอบครัวต้นแบบและเป็นที่ศึกษาดูงาน

วัตถุประสงค์ ->

เผยแพร่การทำอาชีพการเกษตรแบบผสมผสาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การเตรียมพื้นที่ ที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์

2. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ต่างๆ

3.  มีแหล่งน้ำ ใช้เพียงพอตลอด

อุปกรณ์ ->

1. เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเกษตร                5.  เมล็ดพันธุ์ต่างๆ         

2. แรงงาน                                              6. แหล่งน้ำ

3. เงินทุน                                               7. ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอก น้ำหมักชีวภาพ

4.  ที่ดิน                                                 8. อุปกรณ์เพาะเห็ด      

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.      ศึกษาปัญหา วิเคราะห์ปัญหาในครอบครัวร่วมกัน เรียงลำดับปัญหาและหาแนวทางแก้ไข

2.      เริ่มทำการเกษตรอินทรีย์ด้วยตนเองก่อน ด้วยการนำเกษตรทฤษฎีใหม่มาปรับใช้ในพื้นที่ แบ่งพื้นที่จำนวน 4 ไร่ เป็นที่นา 1 ไร่ ขุดบ่อเลี้ยงปลากินพืช 1 ไร่ ปลูกไม้ผล 1 ไร่  ทำเป็นที่อยู่อาศัย 2 งาน ปลูกผักสวนครัว 1 งาน โรงเรือนเห็ด 1 งาน ทำการเกษตรผสมผสานแบบพึ่งตนเอง โดยไม่มุ่งกำไรสูงสุดเป็นตัวตั้ง ผลิตปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพ และสารสกัดจากธรรมชาติกำจัดและป้องกันแมลง โดยที่ใช้วัตถุดิบหาได้ง่ายในท้องถิ่น ใช้ผลิตภัณฑ์ของตนเองมาทำการปรับสภาพดิน กำจัดและป้องกันศัตรูพืช สามารถลดต้นทุนการผลิต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (เคล็ดลับ) :  บอกเทคนิค/ข้อสังเกต/ข้อพึงระวังที่ทำหรือที่พบระหว่างการปฏิบัติตาม

ขั้นตอนให้เกิดความสำเร็จในการทำงาน และใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ

ข้อพึงระวัง ->

-          อย่าใจร้อนในการแก้ไขปัญหา

-          ไม่มุ่งกำไรสูงสุดเป็นตัวตั้ง หรือ เป็นเป้าหมายสุดท้าย

-          ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา