ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะเห็ด

โดย : นางสาวพวงพันธ์ นามสกุล กองป่า วันที่ : 2017-03-27-08:28:55

ที่อยู่ : 50 หมู่ที่ 3 ซอย - ถนน - ตำบล วังธง อำเภอ เมืองแพร่ จังหวัด แพร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากต้องทำงานในบ้านที่ไม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านจึงมีความใจเพาะเห็ดในโรงเรือนจึงได้ไปเรียนการเพาะเห็ดในถุงพลาสติกที่ฟาร์มเห็ดอาจารย์อานนท์ เอื้อตระกูล และศึกษาด้วยตนเอง เรียนผิดเรียนถูกมาโดยตลอดระยะเวลา 9 ปี ปัจจุบันมีโรงเพาะเห็ดในบ้าน 6 โรง และมีอุปกรณ์ในการผสม / นึ่ง สามารถเป็นวิทยากรให้แก่ผู้สนใจได้

วัตถุประสงค์ ->

เผยแพร่การทำอาชีพเพาะเห็ด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ขี้เลื่อยไม้ฉำฉาแห้ง / ไม่แห้ง                                 6. ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม

2. ฟอสเฟต 1 กิโลกรัม                                                                                

3. รำละเอียด 6 – 8 กิโลกรัม                                                                           

4. น้ำเปล่าประมาณ 60 – 80 ลิตร                                                                

5. ปูน / ยิบซัมอย่างละ 1 กิโลกรัม

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. หาวัสดุที่จะเตรียมตัวก่อน ดังนี้ เริ่มจากขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน หรือขี้เลื่อยยางพารา ในส่วนของทางปฏิบัตินั้น ขี้เลื่อยยางพาราจะเป็นตัวให้ผลดีที่สุด จากนั้นให้หาส่วนผสมต่างๆ เพื่อให้เราได้คุฯค่าทางอาหารมากยิ่งขึ้น ในส่วนของสูตรการทำก้อนเชื้อเห็ดนางรม ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้ามีส่วนผสมหลักๆ

2. เมื่อส่วนผสมมาครบแล้ว ให้นำขี้เลื่อยผสม โดยเติมน้ำเปล่าลงประมาณร้อยละ 70 แล้วให้ทำการทดสอบโดยการกำส่วนผสม ถ้าหากว่ากำแล้วมีน้ำซึมออกมาตามง่ามมือนั้น แสดงว่าผสมน้ำมากเกินไป แต่ถ้าหากบีบมือแล้วขี้เลื่อยแตกเป็น 3 ก้อน แสดงว่าการผสมใช้ได้ แต่ถ้ากำแล้วแบมืออก ขี้เลื่อยจับตัวไม่เป็นก้อน นั่นแสดงว่าใส่น้ำน้อยเกินไป เมื่อเราผสมกันได้อย่างพอดีแล้ว ก็ทำการกรอกใส่ถุงเพาะเห็ดนางฟ้า ถุงเพาะเห็ดนางรม ใส่ถุงให้ได้น้ำหนักประมาณ 800 – 900 กรัม แล้วหลังจากนั้นก็ให้เริ่มทำการรวบรวมปากถุงเห็ด กระทุ้งกับพื้นให้แน่นพอประมาณ แล้วทำการใส่คอขวด

3. เมื่อทำก้อนเชื้อเห็ดเสร็จแล้ว เราก็นำก้อนเชื้อที่ได้มาทำการหยอดเชื้อ และบ่มเชื้อเห็ดนางฟ้า เชื้อเห็ดนางรม ตามลำดับ ซึ่งก่อนอื่นเลย ก้อนเชื้อที่ได้มานั้นจะนำมาทำการนึ่ง(เพื่อฆ่าเชื้อ)  ถ้ามีหม้อนึ่งความดันอยู่แล้วให้นึ่งที่ความดัน 25 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ให้ใช้ระยะเวลาในการนึ่งประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง ถ้าหากไม่มีหม้อนึ่งความดัน อาจเลือกใช้หม้อนึ่งถังน้ำมัน 200 ลิตร แทนได้โดยต้องทำการนึ่ง ประมาณ 3 ครั้งใช้อุณหภูมิ 100 องศาเซียลเซียว และใช้ระยะเวลาในการนึ่งประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง(ทำแบบนี้ 3 ครั้ง) เมื่อผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อเป็นที่เรียบร้อย จะเริ่มทำการหยอดเชื้อเห็ดลงสู่ก้อนเห็ดที่เตรียมไว้ เชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่างนั้น ควรหยอดเชื้อลงในประมาณ 20 – 25 เมล็ด เมื่อหยอดเชื้อลงสู่ก้อนเชื้อเห็ดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการปิดปากถุงก้อนเชื้อ หลังจากนั้นให้บ่มเชื้อ นำก้อนไปบ่มไว้โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 20 – 25 วัน ซึ่งกรรมวิธีการบ่มเชื้อเห็ดก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรมากมาย เพียงแต่ต้องเก็บให้เป็นระเบียบ ไม่ให้ถูกฝน ถูกแดด ลมไม่โกรก ไม่มีหนู ไม่มีแมลง ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกนั้นเอง

4. วิธีการเก็บเห็ดนางฟ้าและเห็ดนางรม หลังจากทำการบ่มเชื้อเห็ดในโรงเพาะเสร็จเรียบร้อย ก็เป็นช่วงเวลาของการเปิดดอกเห็ด และทำการเก็บเกี่ยวดอกเห็ดนางรม ดอกเห็ดนางฟ้า เห็ดจะออกดอกเมื่อมีความชื้นสูงพอ ออกเมื่ออากาศไม่ร้อนมาก เมื่อเห็ดถูกเหนี่ยวนำด้วยอากาศเย็นตอนกลางคืนจะทำให้ออกดอกได้ดี

 

ข้อพึงระวัง ->

1. เห็ดไม่ออกดอกเพาะเชื้อในถุงไม่เดิน สาเหตุเกิดจาก ขณะที่หยอดเชื้อ ถุงก้อนเชื้อร้อนเกินไป โดยวิธีแก้ไข คือ ให้เราต้องถุงเชื้อให้เย็นอย่างน้อย 24 ชั่วโมง โดยคัดเชื้ออ่อนแอทิ้ง ก่อนการหยอดเชื้อ หยอดเชื้อต้องตั้งใจ

2. ปัญหาเพาะเห็ดหนอนแมลงหวี่กินเส้นใย สาเหตุเกิดจาก แมลงหวี่ไข่ตรงฝาจุกหรือสำลี วิธีแก้ไขโดย ตรวจสอบสุขภาพอนามัยของโรงเรียน จุก สำลี ที่ใช้ก็ต้องทำการ นึ่ง เพื่อฆ่าเชื้อ สำลีต้องอุดให้แน่น ควรปิดกระดาษให้สนิท ไม่ให้มีช่องเหลือ

3. เชื้อเห็ดเดินแต่หยุด ก้อนเห็ดมีกลิ่นบูด มีน้ำเมือก มีสีเขียว สีเหลืองหรือดำ ราหรือแบคทีเรียปนเปื้อน เพราะอาจนึ่งฆ่าเชื้อไม่หมด นึ่งฆ่าเชื้อพอดี หรือในส่วนของกระบวนการลดความร้อนและปิดหม้อนึ่งนั้นไม่ถูกต้อง เชื้อเห็ดที่ใช้ไม่มีคุณภาพ วิธีการหยอดเชื้อไม่ดีพอหรือบ่มถุงก้อนเชื้อหนาแน่นเกินไปอาจทำให้อากาศระบายไม่ดี เพราะมีคาร์บอนไดออกไซด์มากจนเกินไป วิธีแก้ไข คือ ให้ลองทบทวนสาเหตุหลักของการปนเปื้อน ตรวจสอบกระบวนการนึ่ง ทั้งเรื่องอุณหภูมิ เวลา จำนวนก้อน วิธีการไล่อากาศในหม้อนึ่ง ควรค่อยๆ ลดความร้อน อย่าเปิดหม้อนึ่งแบบรวดเร็ว ตรวจจุกสำลีว่ามีความหนาแน่นหรือไม่

4. ปัญหาเชื้อเห็ดเดินเต็มก้อน แต่ไม่ออกดอก สาเหตุเกิดจาก เชื้อเห็ดอาจเป็นหมัน เชื้อไม่ดีพอ สภาพแวดล้อมในโรงเรียนไม่เหมาะสม มีสิ่งปนเปื้อน เช่น แบคทีเรีย หนอน รา ไร และมีการใช้สารเคมีมากจนเกินไป วิธีแก้ไข จัดหาเชื้อใหม่ คุณภาพดี จัดสภาพในโรงเรือนให้เหมาะสม ให้การจัดการสุขอนามัยฟาร์ม อุณหภูมิ แสง ความชื้น การถ่ายเทอากาศและที่สำคัญไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดแมลง

5. ปัญหาเกิดดอกเห็ดแต่ก้านยาวหมวกดอกไม่แผ่ออก สาเหตุเกิดจาก มีแสงไม่เพียงพอ หรือคาร์บอนไดออกไซด์มากจนเกินไป วิธีแก้ไขโดยการ ปรับแสงให้มากขึ้น จัดการให้อากาศถ่ายเทได้ดีกว่าเดิม

6. เกิดหน่อมากแต่ดอกกลับโตน้อย สาเหตุเพราะใช้เชื้อเห็ดอ่อนแอ หรือขาดออกซิเจน และแสง อาหารในก้อนเชื้อนั้นไม่เพียงพอหรือเชื้อไม่มีคุณภาพ เกิดจุลินทรีย์ต่างๆ รบกวน หรือการถ่ายเทอากาศไม่ดีพอ มีความชื้นสูงเกินไป การแก้ไขโดยการให้เปลี่ยนเชื้อใหม่ ควรเพิ่มการถ่ายเทอากาศ เพิ่มช่องแสงให้มากขึ้น ที่สำคัญคือการงดใช้สารเคมีในช่วงเปิดดอกเห็ด

7. ปัญหาเกิดดอกเพียงรุ่นเดียวรุ่นต่อไปไม่เกิด สาเหตุเพราะอาหารในก้อนเชื้อไม่เพียงพอ อาจเกิดการปนเปื้อน หรือจัดโรงเรียนไม่ดี เชื้อไม่ดี การแก้ไขโดย ให้ปรับสูตรอาหารใหม่ จัดการเรื่องสุขอนามัยฟาร์มโดยทำการปรับความชื้น เรื่องแสง อุณหภูมิ ขูดลอกผิวส่วนที่ปรับถุงออก ค่อยๆ ปรับปรุงวิธีการจัดการและควรเอาใจใส่การแห็ดให้มากขึ้นหรือเปลี่ยนเชื้อใหม่

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา