ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การดูแลพืชผลทางการเกษตรแบบผสมผสาน

โดย : นายสนิท นามสกุล สอนมา วันที่ : 2017-03-27-08:16:08

ที่อยู่ : 9 หมู่ที่ 6 ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การจัดการและการดูแลพืชผลทางการเกษตรแบบผสมผสาน เป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากการประกอบอาชีพของนายสนิท  สอนมา ที่ยึดถืออาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพหลักมานานกว่า 40 ปี โดยเกษตรแบบผสมผสานของนายสนิท  สอนมา ประกอบด้วย การปลูกต้นลางสาด ลองกอง เงาะ กาแฟ และผักต่างๆ ตามฤดูกาล การประกอบอาชีพเกษตรแบบผสมผสานดังกล่าวมีความเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมของบ้านนาแคม หมู่ที่ 6 ซึ่งเป็นหมู่บ้านบนพื้นที่สูง มีดินและแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ดังนั้นนายสนิท  สอนมา จึงได้นำทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่มาจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการปลูกผักและไม้ผลที่เหมาสมต่อพื้นที่สูง นอกจากนี้การดูแลพืชผลทางการเกษตรยังเป็นการใช้ปุ๋ยหมักแบบธรรมชาติซึ่งไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี ดังนั้นการประกอบอาชีพเกษตรแบบผสมผสานของนายสนิท  สอนมาจึงนับว่าประสบความสำเร็จในด้านการมีความสุและความพอเพียง   

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ปุ๋ยคอก          1 ส่วน (1 กระสอบ)

2. แกลบ            1 ส่วน (1 กระสอบ)

3. รำ                1 ส่วน (1 กระสอบ)

4. น้ำ EM ขยาย   1 ลิตร วิธีทำน้ำ EM ขยาย

5. กากน้ำตาล      1 ลิตร

6. น้ำสะอาด       25 ลิตร

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. เตรียมวัสดุและอุปกรณ์

2. นำปุ๋ยคอกที่ได้มาตากแดดให้แห้งโดยวิธีเกลี่ยให้โดนแดดทิ้งไว้ 1-2 วัน ถ้าปุ๋ยคอกที่ได้มาแห้งแล้วไม่ต้องตากแดด

3. เตรียมส่วนผสมให้พร้อม ปุ๋ยคอก ,รำ ,ข้าวเปลือก ในอัตรา 1:1:1

4. เทส่วนผสมทั้งหมดลงพื้นแล้วใช้จอบคลุกเคล้าให้เข้ากัน

5. เตรียมน้ำ EM และกากน้ำตาลที่เตรียมไว้ผสมกับน้ำให้เข้ากัน

6. นำน้ำ EM ที่ผสมแล้วไปรดที่กองปุ๋ยคอกที่เตรียมไว้ให้ชุ่ม แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน

7. ตักปุ๋ยที่เตรียมไว้ใส่ในกระสอบแล้วตั้งไว้ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก เก็บไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ แล้วนำไปใช้กับพืชผลทางการเกษตร

ข้อพึงระวัง ->

1. ข้อได้เปรียบของการทำระบบเกษตรผสมผสานคือ

1.1 ลดความเสี่ยงเนื่องจากความแปรปรวนของสภาพลมฟ้าอากาศราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอนและการระบาดของศัตรูพืช

1.2 ลดต้นทุนการผลิตเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรภายในพื้นที่ได้แก่ ที่ดินแรงงานและเงินทุน

1.3 มีอาหารเพียงพอแก่การบริโภคภายในครัวเรือนและมีรายได้อย่างต่อเนืองตลอดปี

1.4 การใช้แรงงานสม่ำเสมอตลอดปีจึงทำให้ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคการเกษตรไปสู่ภาคอื่น ๆ

1.5 เกษตรกรจะมีเศรษฐกิจที่พอเพียงจึงเป็นผลให้มีสภาพความเป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

1.6 เป็นระบบการเกษตรที่เหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อย

2. ข้อจำกัดของการทำระบบเกษตรผสมผสานคือ

2.1 เกษตรกรจะต้องมีที่ดิน ทุน แรงงาน ที่เหมาะสม

2.2 เกษตรกรจะต้องมีความมานะ อดทน และขยันขันแข็ง

2.3 ต้องมีการวางแผนและการจัดการทรัพยากรภายในฟาร์มตลอดจนเทคโนโลยีในการผลิตที่เหมาะสมสอดคล้อง สอดคล้องกับระบบการตลาดในท้องถิ่นและในระดับภูมิภาค

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา