ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำนา

โดย : นายสุพจน์ ข้ามเขา วันที่ : 2017-03-27-06:34:44

ที่อยู่ : 90/3 .หมู่ 9 .ซอย.........-.....................ถนน............-....................ตำบลไทรย้อย อำเภอ เด่นชัย จังหวัดแพร่ โทรศัพท์ 061-2976332

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เราเป็นลูกชาวนา พ่อแม่ก็ทำนากันมาตั้งแต่บรรพบุรุษแล้ว  แท้จริงแล้วข้าวคือสิ่งจำเป็นที่สุดในชีวิต  

วัตถุประสงค์ ->

เผยแพร่วิะีการทำนาอินทรีย์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

               ขั้นตอนการทำนา

                1. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว

                    นำเมล็ดข้าวไปเพาะให้งอก โดยแชน้ำนานประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วนำเมล็ดขึ้นจากน้ำและเก็บไว้ในที่มี ความชื้นสูงเมล็ด จะงอก ภายใน 48 ชั่วโมง จึงนำเมล็ดที่เริ่มงอกเหล่านี้ไปปลูกในดินที่เปียก ส่วนที่เป็นรากจะเจริญเติบโตลึกลงไปในดิน ส่วนที่เป็น ยอดก็จะสูงขึ้นเหนือผิวดินแล้วเปลี่ยนเป็นใบ ต้นข้าวเล็กๆนี้เรียกว่า “ต้นกล้า” หลังจากต้นกล้ามีอายุ ประมาณ 40 วัน จะมีหน่อใหม่เกิดขึ้นโดยเจริญเติบโตออกจากตา บริเวณโคนต้น ต้นกล้าแต่ละต้นสามารถแตกหน่อใหม่ประมาณ 5-15 หน่อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธ์ ข้าวระยะปลูก และความอุดมสมบูรณ์ของดิน แต่หน่อต้นกล้าให้ร่วงข้าวหนึ่งรวง  แต่รวงข้าวมีเมล็ดข้าวประมาณ 100-200 เมล็ด โดยปกติต้นข้าวที่โตเต็มที่แล้วจะมีความสูงจากพื้นดินถึงปลายรวงที่สูงที่สุดประมาณ100-200 เซนติเมตรซึ่งแตกต่างไปตามพันธุ์ ข้าว ตลอดจนถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินและความลึกของน้ำ
              2.  การปลูกข้าว
                   วิธีการปลูกข้าว ดังนี้
                  การปลูกข้าวนาดำ หรือเรียกว่า การปักดำ ซึ่งมีวิธีการปลูกแบ่งเป็นสองตอน

                  ตอนแรกได้แก่การตกกล้าในแปลงขนาดเล็ก และตอนที่สองได้แก่การถอนต้นกล้านำไปปักดินในนาผืนที่ใหญ่ ดังนั้น การปลูกแบบปักดำซึ่งต้องเตรียมดินที่ดีกว่าการปลูกข้าวไร่ ซึ่งมีการไถดะ การไถแปร และการคราด ปกติการไถและคราดในนาดำมักจะใช้แรงวัวควาย หรือแทรกเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า ควายเหล็ก หรือรถไถเดินตาม ทั้งนี้เป็นเพราะพื้นที่นาดำมีคันนาแบ่งกั้นออกเป็นแปลงเล็กๆ ขนาดแปลงละ 1 ไร่ หรือเล็กกว่า คันนามีไว้เพื่อกักเก็บน้ำ ปล่อยน้ำทิ้งจากแปลงนา นาดำจึงมีการบังคับน้ำในนาไว้ได้บ้างพอสมควร
                   การไถดะ หมายถึง การไถครั้งแรกเพื่อทำลายวัชพืชในนาและพลิกกลับหน้าดิน แล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงทำการไถแปรซึ่งหมายถึงการไถตัดกับรอยไถดะ การไถแปรอาจไถมากกว่าหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับน้ำในนาตลอดจนถึงชนิดและปริมาณของวัชพืช เมื่อไถแปร แล้วทำการคราดได้ทันที การคราดก็คือการคราดเอาวัชพืชออกจากผืนนา และปรับพื้นที่นาให้ได้ระดับเป็นที่ราบเสมอกัน ด้วยพื้นที่นาที่มีระดับเป็น ที่ราบจะทำให้ต้นข้าวได้รับน้ำเท่าๆกัน และสะดวกต่อการไขน้ำเข้าออก
                   การปักดำ คือการนำต้นกล้าที่ถอนขึ้นจากแปลงแล้วมัดรวมกันเป็นมัดๆ จะต้องสลัดดินโคลนที่รากออก แล้วนำไปปักดำในพื้นที่นา ที่ได้เตรียมไว้ ถ้าต้นกล้าสูงมากก็ตัดปลายใบทิ้ง พื้นที่นาที่ใช้ปักดำควรมีน้ำขังอยู่ประมาณ 5-10 เซนติเมตร เพราะต้นข้าว อาจถูกลมพัดจนพับลงได้เมื่อนานั้นไม่มีน้ำขังอยู่เลย ถ้าระดับน้ำในนั้นลึกมากต้นข้าวที่ปักดำอาจจมน้ำในระยะแรก และ ข้าวจะต้องยืดต้น มากกว่าปกติ จนผลให้แตกกอน้อย การปักดำที่ได้ผลผลิตสูงจะต้องปักดำให้เป็นแถวเป็นแนว และมีระยะห่างระหว่างกอมากพอสมควร

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา