ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่

โดย : นายสันติ นามสกุล ติแก้ว วันที่ : 2017-03-26-19:50:10

ที่อยู่ : 15 หมู่ 1 ตำบลแม่เกิ๋ง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เดิมอาชีพการเลี้ยงไก่ทำเป็นอาชีพเสริม ซึ่งตอนแรกได้รับการสนับสนุนจากบริษัทนิ่มซี่เซ็งและพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดแพร่ สนับสนุนไก่พันธุ์ไข่ จำนวน 200 ตัว ให้มาบริหารจัดการเอง จากพันธุ์ไก่ที่ได้รับสนับสนุนจากหน่วยงานดังกล่าว จึงเลี้ยงมาเรื่อย ๆ มีไข่ไว้กินและจำหน่ายสร้างรายได้เสริมให้กับตนเองและครอบครัว หลังจากนั้นจึงเริ่มศึกษาเรื่องสายพันธุ์ไก่ที่สามารถเลี้ยงได้ในพื้นที่และภูมิประเทศที่ตนเองอาศัยอยู่ และเริ่มนำไก่สายพันธุ์ดังกล่าวมาเลี้ยงและจำหน่ายนอกเหนือจากการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่และการขายไข่ พร้อมกันนี้ได้มีแนวคิดการลดต้นทุนการผลิตไข่ โดยการทำเป็นไก่ไข่ออร์แกนิค และสายพันธุ์เลี้ยงลาน พร้อมทั้งได้ศึกษาวิธีการทำเรื่องสาวไก่ เพื่อให้ไก่ที่หมดไข่สามารถกลับมาไข่ได้อีก หลังจากมีความรู้เรื่องการทำสาวไก่จึงนำมาใช้กับการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ของตนเองจนเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปทั้งในและนอกชุมชน และสามารถต่อยอดโดยการถ่ายทอดความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่และการทำสาวไก่ให้กับคนอื่นๆ ที่สนใจได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้ จนอาชีพการเลี้ยงไก่จากเดิมทำเป็นอาชีพเสริม ปัจจุบันกลายเป็นอาชีพหลักของตนเองและมีการส่งขายไก่รุ่นให้กับผู้สนใจเพื่อนำไปเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักได้ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาในเรื่องไก่ในหลายๆ ด้าน ทั้งโรคติดต่อของไก่ สายพันธ์ไก่ชนิดต่างๆ และการผสมสายพันธุ์ไก่

วัตถุประสงค์ ->

เผยแพร่วิะีการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ ทำเป็นอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. แม่ไก่พันธุ์ไข่                                                            7. ดอกดาวเรืองตากแห้ง

2. หัวอาหารไก่อัดเม็ด                                                     8. ปลาป่น

3. รำละเอียด                                                              9. ไดแคลเซียมฟอสเฟต

4. ข้าวโพดบด                                                             10. หัวเคมีอม๊อคซี่

5. หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์                                                11. เอลโลน้ำรักษาโรคอวิตา

6. วัคซีนไก่                                                                12. ปลายข้าว

อุปกรณ์ ->

1.ถังอาหาร ถังอาหารไก่ทำด้วยเอสล่อนหรือพลาสติก เป็นแบบถังแขวนมีขนาดเดียวเป็นมาตรฐาน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 นิ้ว มีเส้นรอบวงประมาณ 50 นิ้ว หลังจากลูกไก่อายุได้ 15 วัน

2. อุปกรณ์ให้น้ำ อุปกรณ์ให้น้ำไก่จะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุของไก่

3. เครื่องกกลูกไก่ (เครื่องกกแบบหลอดอินฟราเรต)

4. รังไข่เดี่ยว

          5. วัสดุรองพื้น(วัสดุรองพื้น หมายถึง วัสดุที่ใช้รองพื้นคอกเลี้ยงไก่ควรหาได่ง่ายในท้องถิ่น ราคาถูก และเมื่อเลิกใช้แล้วสามรถนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้อย่างดี)

          6. อุปกรณ์การให้แสง (หลอดกลมธรรมดา และหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดนีออน)

          7. คอนนอน

          8. โรงเรือน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีเริ่มต้นเลี้ยงไก่ไข่

          ผู้เลี้ยงที่ยังไม่มีความรู้ความชำนาญงานประเภทนี้ ควรเริ่มต้นหัดเลี้ยงด้วยไก่จำนวนน้อย เพื่อศึกษาหาความรู้ความชำนาญเสียก่อน สำหรับผู้ที่มีความรู้และชำนาญแล้ว อาจเริ่มต้นเลี้ยงตามขนาดของทุนและสถานที่ ถ้าเริ่มต้นด้วยไข่ฟัก หรือลูกไก่ ก็ย่อมลงทุนถูก หากเริ่มต้นด้วยไก่ใหญ่ ก็อาจต้องใช้ทุนมาก โดยทั่วไปผู้เลี้ยงอาจเริ่มจากระยะไหนก็ได้ สำหรับข้าพเจ้า ส่วนใหญ่จะเลี้ยงไก่รุ่น อายุ 7 – 14 สัปดาห์ ซึ่งมีวิธีการเลี้ยง ดังนี้

การเลี้ยงดูไก่รุ่น ( อายุ 7-14 สัปดาห์)

การเลี้ยงไก่ในระยะนี้ ส่วนใหญ่ไก่จะมีขนงอกเต็มตัวแล้ว และมีผลต่อเนื่องถึงการผลิตไก่สาวที่มีคุณภาพสูงเพื่อให้เป็นแม่ไก่ที่ดี ให้ผลตอบแทนสูง ไก่จะต้องเจริญเติบโต มีโครงสร้างที่ดีมีอวัยวะส่วนที่ใช้ผลิตไข่ที่ดี ต้องไม่อ้วนหรือผอมเกินไปไก่ร่าเริงแจ่มใส และแข็งแรง ควรจัดการ ดังนี้

          1. ควรจัดเตรียมพื้นที่เลี้ยงในอัตราไก่ 5-6 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร

2. เมื่ออายุ 7 สัปดาห์ ให้เปลี่ยนอาหารจากไก่ไข่เล็กเป็นอาหารไก่ไข่รุ่น  ให้อาหารแบบถังแขวนในอัตรา 4-5 ถังต่อไก่ 100 ตัว หมั่นปรับระดับที่ให้อาหารให้อยู่ในระดับหลังไก่เสมอ และทำความสะอาดที่ให้อาหารอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

จัดเตรียมที่ให้น้ำให้เพียงพอ โดยใช้ในอัตราตามขอบราง 1 นิ้วต่อไก่ 1 ตัว น้ำสะอาดต้องมีให้ไก่กินตลอดเวลา และทำความสะอาดที่ให้น้ำทุกวัน

3. ดูแลวัสดุรองพื้นอย่าให้แฉะหรือแข็งเป็นแผ่น หรือมีกลิ่นเหม็นของแก๊สแอมโมเนีย ต้องคุ้ยและพลิกกลับอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 2-3 วัน และทำความสะอาดบริเวณรอบโรงเรือน พร้อมทั้งกำจัดวัชพืชบริเวณรอบโรงเรือน

4. ชั่งน้ำหนักตัวไก่ จำนวน 5% ของฝูง ทุกสัปดาห์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของไก่แต่ละสายพันธ์ เพื่อลดหรือเพิ่มปริมาณอาหารที่จะให้ จดบันทึกเกี่ยวกับการจัดการ จำนวนอาหาร ไก่ตาย คัดทิ้ง การใช้ยาและวัคซีน สิ่งผิดปกติ และการปฎิบัติงาน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา