ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้าตีนจก

โดย : นางจรรยา..........ยาอุด วันที่ : 2017-03-26-19:27:36

ที่อยู่ : 115...............หมู่......2..............ซอย..............................ถนน....................ตำบล..ป่าสัก........................... อำเภอ.....วังชิ้น............................จังหวัดแพร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                เดิมนางจรรยา  ยาอุด ประกอบอาชีพเป็นช่างเสริมสวย แต่ด้วยมีใจรักและเป็นคนที่ไม่อยู่นิ่งเฉย ซึ่งหลังจากว่างจากการทำงานประจำแล้วก็จะใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ จึงไปหัดทอผ้าตีนจกเป็นอาชีพเสริมทำมาเรื่อยๆ จากการที่เป็นคนไผ่รู้และอดทน จึงได้ศึกษารายละเอียดต่างๆ รวมถึงวิธีการทอผ้าในลายต่างๆ ทำให้มีความชำนาญและสามารถแก้ลายได้ และสามารถอธิบายวิธีการทอผ้าให้กับบุคคลที่สนใจ และอยากยึดเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ต่อมาหมู่บ้านมีการจัดตั้งกลุ่มทอผ้าตีนจก เป็นการรวมกลุ่มของสตรีในหมู่บ้านซึ่งจะทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

เผยแพร่วิธีการทอผ้าตีนจก ทำเป็นอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

8. ด้ายเส้นยืน ” เป็นเส้นด้ายที่เรียงอยู่ในฟืม

1.ด้ายสอด ” เป็นเส้นด้ายหรือไหมสีต่าง ๆ ที่ใช้ทอทำลวดลายด้วยวิธีการยกเขา

2.ด้ายพุ่ง ” เป็นเส้นด้ายที่ใสกระสวยแล้วพุ่งไประหว่างด้ายเส้นยืน(เป็นสีเดียวกันกับด้ายเส้นยืน)

3.ด้ายแต่งดอก ” เป็นเส้นด้าย ( สีต่าง ๆ ) สำหรับแต่งเป็นลวดลาย

อุปกรณ์ ->

1. กี่ หมายถึง เครื่องมือในการทอผ้าทำเป็นโครงสร้างไม้หรือเหล็ก

2. ไม้ดาบ ” เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แยกด้ายเส้นยืนออกจากกัน

3. กระสวย ” ใช้สำหรับทอพุ่งเส้นด้ายพุ่ง

4. ฟืม ” เป็นอุปกรณ์สำหรับการเรียงเส้นด้ายเพื่อทอ

5. ม้าเหยียบ ” เป็นเครื่องมือในการทอผ้าที่ประกอบคู่กับกี่ทอผ้า

6. เขาเหยียบ ” เป็นอุปกรณ์ที่ยกเส้นด้ายยืนออกจากกันในการทอ

7. เขาฟืม ” เป็นอุปกรณ์สำหรับเรียงเส้นด้าย

8. ด้ายเส้นยืน ” เป็นเส้นด้ายที่เรียงอยู่ในฟืม

9. ลอกล้อ ” เป็นอุปกรณ์สำหรับดึงเขายกดอกกับม้าเหยียบ

10. หลอด ” เป็นเครื่องมือที่ใช้ใส่ด้าย

11 เผี่ยน ” เป็นอุปกรณ์ในการปั่นฝ้ายในเป็นเส้นด้าย

12. เขายกดอก ” เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บลายผ้า

13. เผียขอ ” เป็นอุปกรณ์สำหรับโว้นด้ายเพื่อนำไปทอผ้า

14. โก้งกว้าง ” เป็นอุปกรณ์ในการกวักด้ายเพื่อนำไปโว้น

15. หางเห็น ” เป็นอุปกรณ์สำหรับเสียบมะกวักเพื่อกรอเส้นด้าย

16. มะกวัก ” เป็นอุปกรณ์ในการกรอเส้นด้ายเพื่อนำไปโว้น

17. ขนเม่น หรือ ไม้แหลม ” เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจกด้ายพุ่งเส้นยืน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑. คัดและตรวจสอบเส้นด้ายที่จะทำการทอ

๒.การให้สีที่กลมกลืนและลงตัว

๓. การทอต้องเรียบและแน่น

ข้อพึงระวัง ->

๑. มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย มีความหลากหลาย ตรงตามความต้องการของลูกค้า อย่างต่อเนื่อง

๒.มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ให้มีความสวยงาม สามารถดึงดูดลูกค้าได้

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา