ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเพาะเห็ด

โดย : นางทองใบ นามสกุล แสงสร้อย วันที่ : 2017-03-23-18:59:18

ที่อยู่ : 91/1.........หมู่......1...ตำบล สบสาย อำเภอ..........สูงเม่น............จังหวัดแพร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หลังจากการทำอาชีพเกษตรกรรมแล้วทำให้คนในชุมชนว่างงาน  จึงได้ไปฝึกอบรมการเพาะเห็ดนางฟ้า ซึ่งเห็ดนางฟ้าจัดเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญที่นิยมรับประทานมากในเมืองแพร่ไม่แพ้เห็ดลม  เห็ดฟาง  หรือถั่วเหลือง  เนื่องจาก เห็ดชนิดนี้สามารถเพาะได้ง่าย มีเวลาในการเพาะสั้น ดอกเห็ดออกจำนวนมาก ดอกเห็ดให้เนื้อนุ่ม สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด อาทิ  เห็ดนางฟ้าชุบแป้งทอด ต้มยำเห็ดนางฟ้า และห่อหมกเห็ดนางฟ้า เป็นต้น  หรือจะแปรรูปเป็นแหนมเห็ด  หรือน้ำพริกเห็ดนางฟ้าก็ได้

วัตถุประสงค์ ->

เผยแพร่การเพาะเห็ด เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ขี้เลื่อยไม้ยางพารำแห้ง 100 กิโลกรัม                – รำละเอียด 5 กิโลกรัม
– ปูนขาว 1 กิโลกรัม                                   – ยิบซั่ม 2 กิโลกรัม
– ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม                                 – ความชื้น (น้ำ ) 50 – 60 เปอร์เซ็นต์

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์ที่จะต้องใช้มี ถุงร้อนขนาด 7×11 นิ้ว หรือ 9×12 นิ้ว หรือใหญ่กว่านี้ คอขวดพลาสติกทำจากพลาสติก     ทนร้อน สำลี ยางรัด กระดาษหุ้มสำลี และช้อนตัก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทำถุงเชื้อ
– นำขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนหรือขี้เลื่อยไม้ยางพารำ ผสมด้วยปูนขาวประมาณ 1-2 เปอร์เซ็นต์ รำละเอียดประมาณ 3 – 5 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามส่วนผสมนี้บางฟาร์มอาจแตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสมหรืออาจมีส่วนผสมอื่นๆ เพิ่มเติมก็ได้
– การหมักปุ๋ยเมื่อครบกำหนด 1 คืนแล้ว วันรุ่งขึ้นจึงเติมรำละเอียดตามอัตราส่วน หรืออาจเติมดีเกลือลงไปด้วย การผสมน้ำ สำหรับเห็ดนางฟ้า อาจต้องผสมน้ำ ให้ชื้นปกติไม่ให้แห้งหรือแฉะเกินไป

– บรรจุในถุงพลาสติก เกือบเต็มถุง หรือประมาณ 1 – 1.2 กิโลกรัม เว้นปากถุงไว้สำหรับสวมคอขวดพลาสติก เพื่อ  การเขี่ยเชื้อ เมื่อใส่ปุ๋ยหมักลงในถุงแล้วให้ยกถุงกระทุ้งเบาๆเพื่อให้ขี้เลื่อยแน่นหรือ อาจใช้มือกดลงไป บางฟาร์มเห็ดมีเครื่องบรรจุถุง ก็นำ มาใช้ได้ เมื่อปุ๋ยแน่นแล้วก็รวบปากถุงและใช้คอขวดสวมลงไป ใช้มือดึงถุงให้ตึงแล้วรวบปากถุงลงมา ด้านนอกใช้ยางรัดให้แน่น ก็จะทำ ให้ปากถุงก้อนเชื้อแคบลงมีขนาดเท่ากับคอขวด มันจะคงรูปร่างเช่นนี้เรื่อยไป เพื่อใช้สำหรับให้มีที่ว่างของอากาศสำหรับเขี่ยเชื้อเห็ดลงไป
– ใช้ไม้ปลายแหลมเจาะรูปุ๋ยจากคอขวดให้ลึกลงเกือบกึ่งกลางถุง เพื่อ ให้
เชื้อเห็ดที่ใส่ลงไปเจริญได้จากบริเวณกลางถุงหรืออาจไม่เจาะก็ได้ หากไม่เจาะเส้นใยเห็ดก็จะเจริญ
จากด้านบนลงมา เช่นเดียวกับการทำ หัวเชื้อในเมล็ดข้าวฟ่าง ทั้งนี้ก็แล้วแต่การปฏิบัติของแต่ละฟาร์ม
– ใช้สำลีอุด แล้วหุ้มด้วยกระดาษและรัดด้วยยาง หรืออาจใช้ฝาครอบสำลี
แทนกระดาษก็ได้ เพื่อ ไม่ให้สำลีเปียกในเวลานึ่ง สำลีที่เปียกอาจนำ เชื้อราต่างๆ เข้ามาในถุงได้ง่าย

การนึ่งฆ่าเชื้อถุงปุ๋ย
      เมื่อเตรียมถุงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันหรือหม้อนึ่งลูกทุ่ง เพื่อฆ่าเชื้อต่างๆ ที่เป็นศัตรูเห็ด เวลาในการนึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของหม้อนึ่งและจำนวนก้อนเชื้อ อาจนึ่งเพียง 2 ชั่วโมง สำหรับการนึ่งเชื้อจำนวนน้อยและนึ่ง 4- 6 ชั่วโมง สำหรับเชื้อจำนวนมาก การนึ่งเชื้อจำนวนมากต้องระมัดระวัง และแน่ใจว่าสามารถนึ่งฆ่าเชื้อได้ทั่วถึง หลังจากนึ่งเรียบร้อยแล้ว นำก้อนเชื้อออกมาวางเรียงกันให้เย็นสนิทดีเสียก่อน เพื่อรอการเขี่ยเชื้อเห็ดนางฟ้า จากเมล็ดข้าวฟ่างลงถุงต่อไป

การเขี่ยเชื้อเห็ดจากหัวเชื้อลงในถุงก้อนเชื้อ
     ก้อนเชื้อที่ได้จากการนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันเรียบร้อยแล้ว จึงนำเอาหัวเชื้อเห็ดนางฟ้าในเมล็ดข้าวฟ่าง      ที่ทำขึ้นหรือซื้อเตรียมไว้ล่วง หน้า มาเขี่ยลงไปในก้อนเชื้อโดยปฏิบัติ ดังนี้
– วางก้อนเชื้อเรียงกันเป็นแถว
– แกะเอากระดาษที่หุ้มปิดสำลีออกให้หมด แต่ยังคงจุกสำลีไว้โดยไม่ต้องเปิด และระวังไม่ให้สำลีหลุดออกมาจาก    คอขวด
– เช็ดมือด้วยแอลกอฮอล์ให้ทั่ว นำขวดหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่าง ที่คัดเลือกไว้แล้วเขย่าในขณะที่ยังปิดจุกสำลีอยู่ เพื่อให้เมล็ดข้าวฟ่างกระจาย
– ถอดจุกสำลีที่ขวดเมล็ดข้าวฟ่างออก
– นำปากขวดไปลนไฟจากตะเกียงแอลกอฮอล์ ใช้มืออีกข้างหนึ่งเปิดจุกสำลีก้อนเชื้อ แล้วเทหัวเชื้อลงไปในถุงประมาณ 10-20 เมล็ด จากนั้นจึงรีบปิดจุกสำลีทันที ไม่ต้องใช้กระดาษปิดทับ ถุงต่อไปก็ทำเช่นเดียวกัน ทุก 3-4 ถุง ให้ลนปากขวดด้วยไฟจากตะเกียงแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ เมื่อเปิดขวดหัวเชื้อแล้ว ก็เขี่ยเชื้อให้หมด แต่หากเหลือไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่ เพราะเชื้อในขวดอาจตายแล้วหรือเชื้อมีความอ่อนแอ

          - หัวเชื้อหนึ่งขวด สามารถเพาะใส่ถุงได้ประมาณ 50-60 ถุง และสำหรับ เห็ดนางฟ้าบางแห่งจะใช้หัวเชื้อมากกว่านี้ คือ ประมาณ 25-30 ก้อน ต่อเชื้อหนึ่งขวด ทั้งนี้เพื่อให้เชื้อเจริญเร็ว และเชื้อเสียน้อย

 

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา