ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงสุกร

โดย : นายหิรัญ ปิ่นแก้ว วันที่ : 2017-03-23-16:03:14

ที่อยู่ : 45 หมู่ที่ 3 ตำบลท่าข้าม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ด้วยบริบทของชุมชน ประกอบกับมีอาชีพหลักเน้นหนักไปในด้านการเกษตร การทำนา ทำไร่ ดังนั้น ในเวลาที่นอกฤดูการเกษตร จะทำให้ไม่มีอาชีพ หรือแหล่งรายได้ สำหรับครอบครัว จึงได้ ทำอาชีพการเลี้ยงสุกร อีกอาชีพหนึ่งที่ทำควบคู่ไปกับการทำการเกษตร ซึ่ง การเลี้ยงสุกร ก็ถือว่าเป็นอาชีพที่เคยเห็น และคุ้นเคยมาตั้งแต่สมัย ปู่ ย่า บรรพบุรุษ ของครอบครัวและชุมชน จึงได้ศึกษาและทำการทดลองเลี้ยงตามวิถีชาวบ้านเรื่อยมา จากเลี้ยงครั้งละน้อยๆ แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้น ทำให้สามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

เผยแพร่ความรู้ ส่งเสริมอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. พื้นที่ในการเลี้ยง

2. คอก/เล้า (สำหรับเลี้ยงสุกร)

3. น้ำ

4. อาหารสำเร็จรูป

5. อาหารเสริม/วิตามิน/ยาบำรุง

6. อาหารธรรมชาติ (ผัก,รำข้าว,ปลายข้าว)

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

                     1.การเลือกทำเลที่ตั้งโรงเรือนที่ใช้เลี้ยงสุกรต้องสามารถป้องกันแดด กันฝน และ กันลม ยิ่งถ้าช่วงในฤดูร้อนควรจะต้องดูแลเป็นพิเศษ และ ควรจะสร้างโรงเรือนให้อยู่ห่างจากชุมชนสักหน่อยถ้าเป็นไปได้เพราะการเลี้ยงสุกรอาจจะทำให้มีกลิ่นที่แรง และอาจจะไม่เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนในย่านนั้น หรือไม่เกษตรกรก็ต้องมีการจัดการกับระบบมูลสุกรหรือของเสียที่อาจจะส่งกลิ่นออกมาให้ดี แหละถ้าให้ดีควรอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบอาหารที่สามารถหาซื้อได้โดยไม่แพงมากจนเกินไป หรือ อาจจะใกล้แหล่งที่สามารถหาอาหารเหลือใช้จากครัวเรือน หรือระบบไร่นาเพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงสุกรได้อย่างเพียงพอ  พื้นในคอกของสถานที่เลี้ยงควรเป็นพื้นคอนกรีต เพื่อความสะดวกในการทำความสะอาด

                   2.การแยกสุกรในการเลี้ยงควรแยกตามขนาดและวัยของสุกร  ลูกสุกร  สุกรรุ่น สุกรรุ่นเก่าที่ครบอายุขาย การจัดขนาด ควรมีการจัดขนาดให้ไล่เลี่ยกันในแต่ละคอก

                   3.การให้น้ำ ต้องมีกินและเล่นอย่างเพียงพอ

                   4.การให้อาหาร ต้องมีกินตลอดเวลา และสุกรสามารถเข้ามากินได้ทั่วถึงทุกตัว สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงกรณีที่เลี้ยงสุกรจำนวนน้อย ๆ ขอแนะนำว่า ควรซื้ออาหารเม็ดสำเร็จรูปที่มีสารอาหารครบส่วน ตามความต้องการในแต่ละระยะของสุกร เช่น สุกรเล็ก สุกรรุ่น และ สุกรขุน ข้อดี คือ สะดวกในการใช้เลี้ยง จัดหาซื้อได้ตามท้องตลาด โดยในช่วงแรกอาจให้อาหารสุกรเล็กจากระยะน้ำหนัก 10-20 กิโลกรัม ต่อมา เปลี่ยนชนิดเป็นอาหารสุกรรุ่นจากระยะน้ำหนัก 20-60 กิโลกรัมและใช้อาหารสุกรขุนจากระยะน้ำหนัก 60 กิโลกรัมขึ้นไป จนสุกรได้ น้ำหนัก 100 กิโลกรัม ก็สามารถขายได้ ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลาเลี้ยงนานประมาณ 4 - 5 เดือน ข้อสำคัญคือควรให้อาหารเต็มที่ คือ ให้สุกรกินเต็มอิ่มมีอาหารอยู่ในราง ตลอดเวลาสุกรจึงจะโตเร็ว

                 อีกวิธีการหนึ่งในการเลือกใช้อาหารเลี้ยงสุกรคือ ใช้หัวอาหารสำเร็จรูปชนิดผง(ส่วนใหญ่จะมีโปรตีนประมาณ 32-36 เปอร์เซ็นต์ และผสมไวตามินแร่ธาตุไว้ด้วยแล้ว) ใช้ผสมกับปลายข้าว ข้าวโพดบด   รำละเอียด ตามอัตราส่วนน้ำหนักที่ระบุจำนวน ที่ใช้ผสมไว้ข้างถุงอาหาร ซึ่งเมื่อผสมตามคำแนะนำ แล้วจะมีเปอร์เซ็นต์โปรตีนและโภชนะอื่น ๆ ตามความต้องการของสุกรแต่ละ ขนาด

                 5.การให้ยาปฏิชีวนะเสริมเพื่อช่วยลดการเจ็บป่วยที่จะเกิดขึ้นภายหลังการย้ายเข้าเลี้ยงของสุกรรุ่น แนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านจุลชีพที่ออกฤทธิ์กว้างในระดับป้องกันในโรคระบบทางเดินหายใจ และโรคระบบทางเดินอาหารในช่วงการรับเข้าเป็นเวลา 7-10 วันรูปแบบการให้ที่เหมาะสมมี 2 รูปแบบ คือ การให้ยาละลายน้ำกับการให้ยาผสมอาหาร

                เมื่อสุกรโตได้ขนาดประมาณ 4-5 เดือนก็พร้อมจำหน่ายได้

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา