ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำถังออมสิน

โดย : นายสุชาติ กาศสกุล วันที่ : 2017-03-23-14:28:19

ที่อยู่ : 71 หมู่ 1 ตำบลปงป่าหวาย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำถังออมสิน เป็น ภูมิปัญญาอย่างหนึ่งที่คนบ้านต้นม่วงได้เรียนรู้มาจากบรรพบุรุณ จนสำเร็จและสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น  โดยการนำเอาเศษไม้ที่เหลือจากทำเฟอร์นิเจอร์มาประดิษฐ์เป็นของใช้  อาทิเช่น  ถังออมสิน  ถังไวน์ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่คนในชุมชน   โดย   นายสุชาติ   กาศสกุล  ได้เรียนรู้การทำถังออมสินจากคนแก่คนเฒ่าในหมู่บ้าน   ซึ่งได้สนใจเรียนรู้จนเกิดความชำนาญ เนื่องจากวัสดุส่วนใหญ่สามารถหาได้ในหมู่บ้านมีราคาถูก และหาง่าย ทำให้เกิดรายได้ในครัวเรือน เป็นผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม ได้รับความสนใจจากลูกค้าทั้งในและต่างจังหวัด จึงได้มีการรวมกลุ่มกันทำเป็น กลุ่มอุตสาหกรรมในครัวเรือน ทำถังออมสิน  ปัจจุบันคนบ้านต้นม่วงนอกจากจะมีอาชีพทำการเกษตร ทำนา แล้ว ยังมีอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ให้แก่คนในครัวเรือนคือการทำถังออมสิน

 

วัตถุประสงค์ ->

ส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 1. เศษไม้สักหรือไม้มงคล ขนาดต่างๆ

 2. ปลายไม้

3.  กาว M / กาวลาเท็กต์

4.  สีเชอร์แคล ทินเนอร์ ยูริเทรนทำเงา

5.  ตะปูยิง(ทำถัง)

6. หูหิ้ว

7. มือจับ

8. สายยู

9. บานพับ

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.       ต้องเตรียมเครื่องเลื่อยแปรรูปไม้

2.      ไม้เป็นวัตถุดิบในการผลิตคือไม้สัก หรือไม้มงคล

3.      ตัดไม้ให้ได้ขขนาดตามต้องการ เช่น ถังออมสินขนาด 4” ต้องตัดไม้ยาว 4.5”  การตัดไม้ต้องเกินขนาดครึ่งนิ้ว ทุกขนาด ยกเว้นขนาด 8” – 9”

4.      ฐานก้นถังออมสินกลม ตามขนาดเส้นรวบวง 4” 5” 6” 9”

5.       ผ่าไม้ได้ขนาด นำไม้แต่ละชิ้นไปไล้ให้เอียงข้าง เพื่อจัดให้เป็นทรงกลม

               6.   นำชิ้นไม้ที่เอียงข้างไปยิงด้วยปืนลมเพื่อติดกับฐานถังออมสิน

               7.    จัดเรียงให้กลมติดกันด้วยกาวร้อน นำไปปั่นกับลูกกรึ่ง(เครื่องมือไฟฟ้า) ด้านในแล้วนำมาขัด  

                         กับแผ่นกระดาษทราย

    8.    อุดด้วยขี้เลื่อยผสมกาวลาเท็กซ์ ตากให้แห้งนำกลับไปขัดให้เงาไม่มีรอยแตก

    9.    ทาแชลแลค 1 รอบ นำกระดาษทราบเบอร์ 320 ขัดแชลแลคออก ประกอบฝาที่เจาะช่องใส่

           เหรียญ นำไปขัดแผ่นกระดาษทรายเบอร์ 120

   10.  ลงแชลแลคด้านนอก ขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 320

   11.  คาดด้วยสายคาดสีทองเสร็จลงเงาด้วยวานิชซันโก้ 1 รอบ รอให้แห้งใส่สายยูใส่มือจับ

          ไฟล์เบอร์ เสร็จสมบูรณ์ห่อกระดาษส่งตามใบสั่งซื้อ

ข้อพึงระวัง ->

     1.  การทำสีและลวดลายต้องทำตามความต้องการของลูกค้า

     2.  การนำไม้มาเข้ามุม ต้องได้ตามองศาและขนาดให้ได้กัน

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา