ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ตัดเย็บผ้าไทย

โดย : นางเกศสุดา ปัญโญ วันที่ : 2017-03-28-08:36:17

ที่อยู่ : 94 หมู่ 9 ตำบลสรอย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สภาพบ้านเมืองในปัจจุบันที่ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ ราคาสินค้าโดยทั่วไปปรับตัวสูงประชาชนทั่วไปจึงต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าทางการเกษตรก็ไม่คงที่มีขึ้น - ลง ตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลาบวกกับสภาพปัจจุบันมีการนำผ้าทอ ผ้าไหม ผ้าฝ้ายมาตัดเย็บเป็นชุดไทยเพื่อสวมใส่ในเทศกาลที่สำคัญอยู่ตลอดนอกจากนี้ยังสามารถสวมใส่ตามโอกาสต่างๆกันออกไป จึงทำให้จุดนี้เป็นการเริ่มต้นของตนเองในการส่งเสริมผ้าไทยโดยการนำผ้าชนิดต่าง ๆ มาตัดเย็บในมีความสวยงาม ทันยุคทันสมัยมากยิ่งขึ้น และเริ่มศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองตลอดจนการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพจนนำไปสู่การปฏิบัติจริง ซึ่งในระยะแรกเริ่มนั้นต้องมีการลองผิดลองถูก มีการทุนลงด้วยตนเองก็มีพลาดบ้าง ไม่ตรงตามแบบที่ได้ออกแบบไว้บ้าง แต่ก็มีการปรับ ศึกษา/อบรมเพิ่มเพิ่มพูนความรู้มากขึ้น จนปัจจุบันสามารถทำได้ตามที่วางไว้โดยการตัดเย็บชุดผ้าไทยออกมาตามสมัยนิยมที่สามารถสวมใส่ในโอกาสต่างๆได้อย่างลงตัวอีกทั้งยังเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้เป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้เราสามารถสร้างรายได้ให้กับตนอง ครอบครัวได้อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเผยแพร่ความรู้ และส่งเสริมอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.      ด้าย(สีต่างๆ)                                                 .                                                

2.      ซิป

3.      ตะขอ

4.      กระดาษเขียนแบบ

5.      ชอล์คขีดผ้า

6.      เข็มสอย เบอร์ 8

อุปกรณ์ ->

1.      ชุดไม้ฉาก

2.      กรรไกรตัดผ้า

3.      ผ้าเคมี

4.      ผ้าถุง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ขั้นตอนการวัดตัว เป็นการวัดขนาดเพื่อตรวจสอบความกว้าง ความยาว ความหนา ของสัดส่วน ซึ่งการวัดตัวนี้สำคัญมาก เพราะผลงานได้สัดส่วน สวมใส่ได้สวยงามเหมาะสม หรือตึงรั้งสวมใส่ไม่ได้

                   2. ขั้นตอนการสร้างแบบ โดยการนำสัดส่วนที่ได้วัดขนาดไว้หรือการออกแบบมาสร้างแบบตัดหรือแพ็ทเทิร์น (Pattern) ลงกระดาษสร้างแบบ ตามกระบวนการของการสร้างแบบเสื้อผ้าแต่ละชนิด โดยสร้างแบบตัดเสื้อ สร้างแบบตัดกระโปรง สร้างแบบตัดกางเกง เป็นต้น

                     3. ขั้นตอนการคำนวณผ้า/เลือกผ้า การตัดเย็บเสื้อผ้านั้นต้องคำนวณผ้าให้ถูกต้องเพื่อความประหยัดและเลือกผ้าให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย โดยคำนึงถึงคุณสมบัติของผ้า ซึ่งผลิตจากเส้นใยแต่ละชนิด เช่น ผ้าฝ้าย จะเป็นผ้าที่ได้จากเส้นใยของเมล็ดฝ้าย ซับน้ำได้ดี ทนต่อความร้อนสูง แต่ยับง่าย, ผ้าไนลอน เป็นผ้าใยสังเคราะห์ ไม่ทนต่อความร้อนและแสงแดด จับจีบได้ คงรูป เป็นต้น

                4. ขั้นจัดเตรียมผ้า เป็นการจัดเตรียมวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการเย็บทุกชนิด เช่น เข็ม ด้าย กรรไกร ผ้า จักรเย็บผ้าบริเวณปฏิบัติงาน และแสงสว่าง เป็นต้น

                5. ขั้นตอนการวางแบบตัดและตัดผ้า ในขั้นตอนนี้ควรระมัดระวัง โดยอ่านรายละเอียดบนแบบตัด การทำเครื่องหมายต่างๆ ที่เขียนไว้ และกดรอยผ้าเส้นเย็บทุกเส้น เพื่อเป็นเครื่องหมายหรือเป็นเส้นแนวในการเย็บ

                6. ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพ เป็นการตรวจสอบคุณภาพของงาน ซึ่งในการตรวจสอบคุณภาพของงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่สวยงาม ไม่ผิดพลาด ควรตรวจสอบทั้งขณะทำการเย็บ เช่น เนาลองตัว ตรวจสอบการประกอบการเย็บทุกขั้นตอน ตรวจสอบความเรียบร้อยของตะเข็บ เป็นต้น 

7. ขั้นตอนการแก้ไขจุดบกพร่อง ในการตัดเย็บผ้าทุกชนิด เมื่อพบข้อบกพร่องไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรดำเนินการแก้ไขเพื่อให้ได้ผลงานที่สวยงามและมีคุณภาพ

ข้อพึงระวัง ->

1.  สำหรับการใช้งานบางประเภทที่ต้องการให้คงรูปดีขึ้น หรือแข็งแรงมากขึ้น อาจจะรีดผ้ากาวหรือใช้ผ้าซับใน โดยให้เลือกผ้าให้เหมาะสมกับรูปแบบของเสื้อผ้า และการใช้งาน เช่น ผ้าสาลู มีเนื้อหนา เหมาะกับชุดที่ต้องการการอยู่ตัวมากหน่อย ส่วนผ้าชีฟอง เนื้อผ้าบางพลิ้ว นำมาเสริมกับผ้าไหมแล้ว จะทำให้ผ้าไหมอยู่ตัวดีขึ้น สวมใส่สบาย ไม่ทำให้ผ้าไหมแข็ง

2. กรรไกรสำหรับตัดผ้าไหมควรเป็นกรรไกรสำหรับตัดผ้าโดยเฉพาะ ซึ่งจะไม่ทำให้ผ้าเสียหายได้ และควรตัดผ้า

ทีละชิ้น การตัดผ้าที่ซ้อนกัน 2 ชั้น จะทำให้พลาดได้

3. นำข้อมูลที่ศึกษาได้มาทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง ลองผิดลองถูกจนเห็นผลเป็นรูปธรรม เช่นการลดต้นทุนในการผลิต การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่ส่งผลกระทบต่อคนและยังเป็นการพัฒนาตนเองอีกด้วย เมื่อประสบผลสำเร็จจึงถ่ายทอดให้คนในกลุ่มได้ลองปฏิบัติและถ่ายทอดให้สังคมภายนอกต่อไป

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา