ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงไส้เดือน

โดย : นางอนงค์ คำตั๋น วันที่ : 2017-03-21-16:27:07

ที่อยู่ : 65/1 หมู่ 1ตำบลสรอยอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

              เดิมได้จัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ขึ้นมาเพื่อรณรงค์ให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพและยังเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย เช่น ทำปุ๋ยหมัก ตั้งกลุ่มปลอดการเผาต่อมาได้เข้าร่วมโครงการปลอดการเผา ของ ธกส. และยังเป็นบ้านต้นแบบในเรื่องปลอดการเผา ต่อมาได้เริ่มทำฟางอัดก้อนและปุ๋ยหมักโดยใช้เปลือกถั่ว ซึ่งได้แนวคิดที่ว่าทำอย่างไรจะห่างไกลจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อมจึงมีแนวคิดเลี้ยงไส้เดือนเนื่องจากไส้เดือนมีประโยชน์ในเรื่องของการกำจัดขยะ และสามารถผลิตปุ๋ยได้อีกด้วย และไส้เดือนนั้นยังสามารถส่งขายได้ยังกรุงเทพได้ด้วยเป็นการสร้างรายได้ ต่อมาไดจัดตั้งกลุ่มเพาะกล้านาโยนขึ้นอีก 1 กลุ่ม โดยมีวิธีการปลูกกล้านาโยนทำให้ประหยัดเมล็ดพันธ์ ปลุกฮ่อม และเลี้ยงโคขุน จนทุกวัน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเผยแพร่ความรู้ และส่งเสริมอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.พันธุ์ไส้เดือนไทเกอร์                                          

2.มูลวัว

อุปกรณ์ ->

กะละมังสีดำ เบอร์ 56

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. เลือกพื้นที่เรียบหรือไม่มีหินหรือเศษแก้วที่เป็นอันตราย นำดินร่วนปูพื้นกว้างประมาณ 1 เมตร สูง 0.30 เมตร ความยาวขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่และปริมาณของขยะหรือของเสีย

2. ให้ความชื้นกับพื้นวัสดุให้พอชื้นไม่ต้องแฉะ

3. นำมูลวัวหรือเศษอินทรียวัตถุ โรยทับให้หนาประมาณ 15 เซนติเมตร แล้วรดน้าให้ความชื้นอีกครั้ง

4. นำไส้เดือนท้องถิ่นมาปล่อยในกอง

5. รดน้ำกองไส้เดือนทุกวัน

 6. ไส้เดือนจะกินเศษอาหารและมูลวัวแล้วถ่ายมูลเป็นขุยบนกองเลี้ยง เก็บมูลทุกๆสัปดาห์แล้วน ามาตากในร่มไส้เดือน 1 กิโลกรัม จะผลิตขุยได้ประมาณ 10 กิโลกรัม ภายใน 45-60 วัน

 7. เมื่อวัสดุเพาะเลี้ยงหมดให้นาวัสดุเพาะเลี้ยงมาใส่ใหม่เหมือนขั้นตอนแรก

 8. โกยขุยไส้เดือนออกมากองข้างๆกองเดิมและเมื่อกองวัสดุเพาะเลี้ยงเดิมเริ่มแห้ง ไส้เดือนจะย้ายไปอยู่ด้านใต้ของกอง

9. เก็บส่วนบนของกอง 3 ใน 4 ส่วนของกอง แยกไส้เดือนแล้วใส่ไส้เดือนกลับไปในกองใหม่

10. ควรเปลี่ยนกองทั้งหมดภายใน 6 เดือน ทั้งนี้เมื่อกองเพาะเลี้ยงเริ่มแน่น ไส้เดือนไม่สามารถชอนไชได้

 11. การเลี้ยงเพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งปี ควรมีการสร้างกองไว้หลายๆกองและเก็บข้อมูลสลับกันไปได้ทั้งปี

ข้อพึงระวัง ->

1.ไม่ควรใช้มือหรืออุปกรณ์อื่นๆตักไส้เดือนขึ้นมาบ่อยๆ เพราะจะทำให้ไปรบกวนไส้เดือน

2.ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์แช่ในน้ำแล้ววางบนกะละมังนั้นเพื่อเพิ่มความชื่นและไส้เดือนจะมาดูดน้ำจากกระดาษหนังสือพิมพ์

3. นำข้อมูลที่ศึกษาได้มาทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง ลองผิดลองถูกจนเห็นผลเป็นรูปธรรม เช่นการลดต้นทุนในการผลิต การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่ส่งผลกระทบต่อคนและยังเป็นการพัฒนาตนเองอีกด้วย เมื่อประสบผลสำเร็จจึงถ่ายทอดให้คนในกลุ่มได้ลองปฏิบัติและถ่ายทอดให้สังคมภายนอกต่อไช

4.เอาใจใส่และพยายามศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานต่างๆ เพื่อใช้วางแผนในการดำเนินงาน

          5. ศึกษาข้อมูลรอบด้านให้ครอบคลุมจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดหลักต้องมีความเข้าใจในด้านหลักอย่างไรบ้าง

 

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา