ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การตอนกิ่งพันธุ์มะนาว

โดย : นายสุชาติ พรหมมูล วันที่ : 2017-03-16-15:27:22

ที่อยู่ : 20 ม.5 ต.โคกมน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มะนาวเป็นพืชที่มีความต้องการทางตลาดมาก จึงมีความต้องการกิ่งพันธุ์สูง 

วัตถุประสงค์ ->

จำหน่ายกิ่งพันธุ์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการตอนนั้นปฏิบัติเป็นขั้นๆ ดังนี้

๒.๑  การเลือกกิ่ง กิ่งหรือต้นมะนาวที่จะตอนจะต้องเป็นกิ่งไม่อ่อนและไม่แก่เกินไป ใบงาม ไม่มีโรคหรือแมลงทำลาย ได้รับแสงแดดสม่ำเสมอ โดยปกติมักจะเลือกกิ่งกระโดง ซึ่งอาจจะเป็นกิ่งกระโดงตั้ง หรือกระโดงครีบ ก็ได้

๒.๒  การทำแผลบนกิ่ง การทำแผลบนกิ่งนั้นต้องเริ่มจากการควั่นรอยแผล 2 รอยแผลโดยแต่ละแผลจะห่างกันประมาณ 1.5 เซนติเมตรโดยประมาณ แล้วทำการลอกเปลือกของส่วนที่อยู่ระหว่าแผลออก หากช่วงนั้นมีหนามก็ให้ตัดหนามทิ้งได้ ส่วนการขูดผิวบางๆของรอยแผล เพื่อทำลายระบบการส่งสำเลียงอาหารนั้น มะนาวไม่จำเป็นต้องขูดออกเพราะมะนาวไม่ใช่พืชประเภทที่มียาง ดังนั้นขั้นตอนนี้ไม่จำเป็น

๒.๓  การทาฮอร์โมน การใช้ฮอร์โมนเร่งรากทาบริเวณที่ทำแผล หรือบริเวณที่กิ่งจะเกิดราก จะช่วยให้กิ่งมะนาวเกิดรากดีขึ้น คือ มีรากมากขึ้น รากเจริญเร็วขึ้น และอาจออกรากเร็วขึ้น การทาฮอร์โมนปกติจะทาเฉพาะบริเวณที่จะเกิดรากเท่านั้น เช่น บริเวณที่เป็นรอยควั่นของแผลด้านบน และการที่จะใช้ฮอร์โมนเร่งรากไม่จำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนแบบเข้มข้น เนื่องจากมะนาวเป็นพืชชนิดออกรากง่าย ซึ่งต่างกับพืชที่ออกรากยากจะต้องใช้ฮอโมนแบบมีความเข้มข้นมาก การใช้ฮอร์โมนที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าวนี้ นอกจากจะไม่ได้ผลดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการทำลายกิ่งพืชที่ตอน และทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกด้วย แถมยังเสียเวลาอีก

๒.๔  การหุ้มกิ่งตอน วัตถุที่จะใช้หุ้มกิ่งตอนอาจใช้วัตถุต่างๆ ได้หลายอย่าง แต่ที่ได้รับความนิยมมากสุดในปัจจุบันนั้นก็คือ การนำขุยมะพร้าวมาแช่น้ำพอหมาดๆ แล้วทำการบรรจุขุยมะพร้าวนั้นลงไปในถุงพลาสติกขนาดเล็กหรือถุงที่ใช้ใส่น้ำจิ้มหรือน้ำปลาพริกตามร้านอาหารตามสั่งนั่นเอง แล้วทำการมัดปากให้แน่ด้วยเชือกหรืออาจจะเป็นยางยืดก็ได้ หากทำไว้ในปริมาณมากควรเก็บไว้ในที่ทึบแสงและให้พ้นจากพวกมดแมลงต่างๆซึ่งจะเข้ามากัดถุงพลาสติดเป็นรูเล็กๆได้ ส่วนการหุ้มกิ่งนั้นให้ทำการผ่าถุงพลาสติกที่บรรจุขุยมะพร้าว จากนั้นนำถุงอัดขุยมะพร้าวมาทำการหุ้มตรงรอยแผลที่เกิดจากการควั่น ทาฮอร์โมนเร่งรากแล้ว แล้วให้ทำการมัดด้วยเชือกฟางด้านหัวและด้านท้ายของถุงอัดขุยมะพร้าวโดยที่ไม่ต้องมัดแน่นจนเกินไปเนื่องจากถ้ามัดแน่นจนเกินไปจะทำให้น้ำและความชื้นไหลออกทางรอยผ่า และเทคนิคที่สำคัญอีกอย่างก็คือรอยแผลผ่าของถุงอัดขุยมะพร้าวนั้นจะต้องหงายขึ้นด้านบนเสมอ เพื่อลดการสูญเสียน้ำและความชื้น และถ้ามีฝนตกลงมาน้ำฝนก็จะสามารถไหลเข้าทางรอยผ่าได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา