ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกกล้วยน้ำว้า

โดย : นายนฤเบศร์ บุญโฮม วันที่ : 2017-03-16-15:09:47

ที่อยู่ : 227 ม.3 ต.หลักด่าน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานโครงการตามพระราชดำริภูพานจังหวัดสกลนคร จึงเกิดแรงบันดาลใจในการทำการเกษตรแบบผสมผสาน โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต ยึดแนวทางสายกลางรู้จักพอเพียง มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิต

วัตถุประสงค์ ->

บริโภคในครัวเรือน จำหน่ายได้ทุกฤดูกาล

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๒.๑ หลุมปลูก

             หลังจากเราเล็งที่ปลูก ได้ที่ประมาณ 1 X 1 ตารางเมตร เรียบร้อยแล้ว ก็ขุดหลุม ประมาณ 50 X 50 X 50 เซ็นติเมตร ( กว้าง X ยาว X สูง ) ถ้ามีปุ๋ยคอก ก็ใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมสัก 1 - 2 ถ้วยแกง เท่านี้หลุมก็พร้อมแล้วครับ

 

๒.๒ พันธุ์กล้วยน้ำว้า

           พันธุ์กล้วยผมเองก็เคยได้ยินมามากมายหลายพันธุ์ เช่น มะลิอ่อง น้ำว้าขาว และอีกมากมาย แต่สวนตัวผม ไม่ได้คิดว่าไม่สำคัญ แต่คิดว่าพันธุ์กล้วยน้ำว้าบ้านๆที่เรามีกันอยู่ ทั่วทุกภาค ทุกบ้านก็ถือว่าดีพออยู่แล้ว แต่สำคัญที่เราจะดูแล ให้เขาเป็นกล้วยประดับรับ หน้าแขกของเราได้นั้น ถือเป็นการดูแลเอาใจใส่ มาที่ 1 ครับ แต่ถ้าใครอยู่ในเมือง ไม่สามารถหาเอาตาม บริเวณบ้านได้ ก็ให้หาซื้อ หรือขอซื้อมาสัก 1 หน่อก็พอที่จะมาทำไม้ประดับ แบบหน้าบานอิ่มท้องกันแล้วครับ

๒.๓ การดูแลบำรุงรักษา

            การดูแลแล้วครับ แต่สวนผมคิดว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่จะมีความสุขที่สุด เพราะเราจะได้คอยดูมันแตกใบ แตกหน่อ แล้วก็โตวันโตคืน พอเริ่มปลูกอาทิตย์เดียวใบก็จะเริ่มแตก แล้วก็เริ่มโตแต่ก็เป็นช่วงที่สำคัญครับดังนั้นผมจะจัดเป็นลำดับการดูแลรักษาดังนี้นะครับ

          ๒.๓.1 .การรดน้ำ  ให้รดน้ำทุก 2 - 3 วัน แต่ถ้าฝนตกเราก็งดการรดน้ำ นอกจากนี้กล้วยก็ยังเป็นพืชที่ เจริญเติบโต ในเขตภูมิประเทศบ้านเราได้ดีอยู่แล้ว หากขาดการดูแลรักษา หรือ จะไปธุระสักอาทิตย์ ก็ยังอยู่ได้สบายๆ โดยเราไม่ต้องเป็นห่วง

2.๓.๒ การใส่ปุ๋ย  จริงๆ แล้ว ปุ๋ยอะไรก็ได้นะครับ แล้วแต่เท่าที่เราจะสะดวก หาซื้อง่ายใกล้มือ ก็เอาเป็นว่าถ้าเราใส่ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพ ก็ให้ใช้อัตราการใส่ปุ๋ย 1 กิโลกรัม/ ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 เดือนครั้ง ครั้งละ 250 กรัม แต่ถ้าจะ ใส่มากกว่านั้นก็ไม่ว่ากัน เอาขั้นต่ำไปแล้วกันนะครับ

- ใส่ปุ๋ยหลังปลูก 1 สัปดาห์ ปุ๋ยหมัก ชีวภาพ ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยเคมีโดยใช้สูตร 15-15-15

- ใส่ปุ๋ยหลังครั้งที่ 1 ประมาณ 3 เดือน ปุ๋ยหมัก ชีวภาพ ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยเคมีโดยใช้สูตร 15-15-15

- ใส่ปุ๋ยหลังครั้งที่ 2 ประมาณ 3 เดือน ปุ๋ยหมัก ชีวภาพ ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยเคมีโดยใช้สูตร 15-15-15

- ใส่ปุ๋ยหลังครั้งที่ 3 ประมาณ 3 เดือน ปุ๋ยหมัก ชีวภาพ ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยเคมีโดยใช้สูตร 13-13-21

- ปุ๋ยพืชสด เมื่อกล้วยออกเครือจนเราสามมารถตัดได้ เราก็นำต้นเก่า มาสับให้เป็นชินเล็กๆ แล้วมาใส่ก็จะมีข้อดีตรงที่เราจะได้ ช่วยป้องกันความชื่น และในระยะยาวยังเป็นปุ๋ยให้กับต้นใหม่อีกด้วย

3. การตัดแต่งหน่อ และ ใบแก่ 

การไว้หน่อ และ การตัดแต่งหน่อก็มีความสำคัญในการปลูกกล้วยมากครับเพราะจะให้ต้นโต หรือ ต้นสมบูรณ์ดี พร้อมส่งผลไปถึง ลูก หรือ เครือกล้วยด้วย  หากเราไม่ตัดแต่งหน่อกล้วยออกทิ้ง ก็จะกลายเป็นกล้วยแคระแกรนไปเลยก็ได้

3.1 การตัดแต่งหน่อ ให้ตัดแต่หน่อกล้วยที่ขึ้นมาในทุกๆช่วง อยู่ตลอด หากยังไม่ถึงช่วงการไว้หน่อ

3.2 การตัดแต่งใบกล้วยที่ เหลืองเกิน 50 % ทิ้งไป พร้อมทั้งตัดใบที่งอหักลงไปด้วย เท่านี้ก็จะทำให้ ต้นกล้วยของเราดูไม่รกรุงรัง และ ดูสวยงามอีกด้วย

3.๓ การไว้หน่อกล้วย  เราจะไว้หน่อแรก เมื่อกล้วยของเราอายุ 4 เดือนไปแล้ว และ หน่อต่อๆไปทุก 4 เดือน แต่ในช่วงการออก ปลีกล้วยเราจะงด การไว้หน่อ เพื่อให้ผลกล้วย และ เครือสมบูรณ์ดี  

๔. ตลาด  

                 พอเห็นผลก็นึกขึ้นมาได้ถึงเรื่องตลาด ปัจจุบันตลาดมีความต้องการค่อนข้างสูง เพราะเนื่องจากปี พ.ศ.2554 ทุกคนก็ทราบดีว่าเกิดน้ำท่วมใหญ่ เลยทำให้แหล่งปลูกกล้วยภาคกลาง เกิดน้ำท่วมและกล้วยตายเกือบหมด รวมทั้งความต้องการทางการตลาดของกล้วยน้ำว้า ในการนำไปทำขนม เลี้ยงนก และ สัตว์ต่างๆอีกหลายชนิด ทำให้ราคาคอนข้างสูง

-ราคาขายส่งหวีละ 17 - 20 บาท

-ราคาขายปลีก 25 - 30 บาท

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา