ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำนา

โดย : นายกอง จันทร์ภูเขียว วันที่ : 2017-03-16-10:07:51

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ........51....... หมู่ .....6...... ตำบล ...บึงสามพัน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำนาข้าวเป็นอาชีพดั้งเดิมตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นอาชีพที่ทำเป็นตั้งแต่เกิด ตอนเด็กก็ได้ช่วยพ่อแม่ทำนา จึงทำให้เกิดความผูกพันกับอาชีพชาวนา อีกทั้งพื้นที่ก็เหมาะสมกับการทำนาเป็นอย่างมาก ติดกับแม่น้ำป่าสักทำให้ไม่ขาดแคลนน้ำในการทำนา

วัตถุประสงค์ ->

เป็ตนอาชีพสร้างรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธุ์ข้าว

ปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยเคมี

อุปกรณ์ ->

รถไถ

รถเกี่ยว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนและวิธีการปลูกข้าวนาดำ

1. การเตรียมดิน การเตรียมดินสำหรับปลูกข้าวแบบปักดำ ต้องมีการไถดะ การไถแปร และ การคราด

          1.1  การไถดะ และไถแปร   คือ การพลิกหน้าดิน ตากดินให้แห้งตลอดจนเป็นการคลุกเคล้า ฟาง วัชพืช  ฯลฯ  ลงไปในดิน เครื่องมือที่ใช้ อาจเป็นรถไถเดิมตามจนถึงรถแทรกเตอร์

          1.2 การคราดหรือใช้ลูก    คือ   การกำจัดวัชพืช ตลอดจนการทำให้ดินแตกตัว และเป็นเทือกพร้อมที่จะปักดำได้ และขังน้ำไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้มีสภาพดิน ที่ เหมาะสมในการคราดหรือการใช้ลูกทูบ แทรกเตอร์ขนาดเล็กในการไถ โดยแบ่งกั้นออกเป็นแปลงเล็ก ๆ คันนามีไว้สำหรับกักเก็บน้ำหรือปล่อยน้ำทิ้งจากแปลงนา ก่อนที่จะทำการไถจะต้องรอให้ดินมีความชื้นพอที่จะไถได้เสียก่อน

          1.3 การตกกล้า การเอาเมล็ดไปหว่านให้งอกและเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นต้นกล้า เพื่อเอาไปปักดำ ต้นกล้าที่แข็งแรงดีต้องมีความสูงสม่ำเสมอกันทั้งแปลง กาบใบสั้น มีรากมากและรากขนาดใหญ่ ไม่มีโรคและแมลงทำลาย

          1.4 การแช่และหุ้มเมล็ดพันธุ์ นำเมล็ดข้าวที่ได้เตรียมไว้บรรจุในภาชนะนำไปแช่ในน้ำสะอาด 1 วัน จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ขึ้นมาวางบนพื้นที่น้ำไม่ขังและอากาศถ่ายเทดี นำกระสอบป่านชุบน้ำจนชุ่มมาหุ้มเมล็ดพันธุ์โดยรอบ รดน้ำทุกเช้าและเย็น เพื่อรักษาความชุ่มชื้น หุ้มเมล็ดพันธุ์ไว้นานประมาณ 1-2 วัน เมล็ดข้าวจะงอกมียอดและรากเล็กน้อย (โดยรากจะยาวกว่ายอด) พร้อมที่จะนำไปหว่านได้

2. การปักดำ

          2.1 ตกกล้าในดินเปียกหรือดินแห้งก็ได้ ก็จะโตพอที่จะถอนเอาไปปักดำได้ อายุประมาณ 25-30 วัน (สูงประมาณ 1 ฟุต)

          2.2 ให้ถอนต้นกล้าขึ้นมาจากแปลงแล้วมัดรวมกัน เป็นมัด ๆ   ถ้าต้นกล้าสูงมากก็ให้ตัดปลายใบทิ้งสำหรับต้นกล้าที่ได้มาจากการตกกล้าในดินเปียกจะต้องสลัด  เอาดินโคลนที่รากออก

          2.3 ใช้เครื่องจักรปักเป็นแถวในพื้นที่นาที่ได้เตรียมไว้ และมีระยะห่างระหว่างกอมากพอสมควร โดยทั่วไปแล้วการปักดำมักใช้ต้นกล้า จำนวน 3-4 ต้นต่อกอ

3. การดูแลรักษาต้นข้าว

          3.1 ต้นข้าวต้องการน้ำและปุ๋ยสำหรับการเจริญเติบโต จะต้องมีการใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก มีน้ำเพียงพอกับความต้องการของต้นข้าว 

          3.2 หมั่นออกไปตรวจดูต้นข้าวที่ปลูกไว้เสมอ ๆ ในระยะนี้ต้นข้าวอาจถูกโรคและแมลงศัตรูข้าวหลายชนิด เข้ามาทำลายต้นข้าว และพ่นสารไล่แมลงชีวภาพกำจัดโรคแมลงศัตรูข้าว ถ้าต้นข้าวเจอเพลี้ยลง ให้นำตะไคร้หอมมาทุบ ๆ พอแหลก วางไว้ในนาข้าวให้ทั่ว ๆ สามารถกำจัดเพลี้ยได้

          3.3 หมั่นกำจัดวัชพืช ในแปลงปักดำอีกด้วย เพราะวัชพืชเป็นตัวที่แย่งปุ๋ยไปจากต้นข้าว

4. การเก็บเกี่ยวข้าว

          4.1 เมื่อดอกข้าวได้บานและมีการผสมเกสรแล้วหนึ่งสัปดาห์ก็จะเริ่มเป็นแป้งเหลวสีขาว สัปดาห์ที่สอง แป้งเหลวนั้นก็จะแห้งกลายเป็นแป้งค่อนข้างแข็งสัปดาห์ที่สามแป้งก็จะแข็งตัวมากยิ่งขึ้นเป็นรูปร่างของเมล็ดข้าวกล้อง       

          4.2 สัปดาห์ที่สี่นับจากวันที่ผสมเกสร เมล็ดข้าวแก่พร้อมเก็บเกี่ยว ออกดอกแล้วประมาณ 28-30 วัน

          4.3 ใช้เครื่องเกี่ยว เกี่ยวข้าวในนา โดยขับตามแถวที่ได้ปลูกข้าวไว้

          4.4 ข้าวที่เกี่ยวแล้วกองทิ้งไว้บนพื้นที่นาเป็นเวลา 5-7 วัน

          4.5 นำมาที่ลานสำหรับนวดข้าว ที่นวดแล้วจะถูกขนย้ายไปเก็บไว้ในยุ้งฉางหรือส่งไปขายที่โรงสีทันทีก็ได้

5. การนวดข้าว

          5.1 นวดข้าว โดยการเอาเมล็ดข้าวออกจากรวงขั้นแรกจะต้องขนข้าวที่เกี่ยวจากนา ไปกองไว้บนลานสำหรับนวด หลักสำคัญมีอยู่ว่าการกองจะต้องเป็นระเบียบ ถ้ากองไม่เป็นระเบียบมัดข้าวจะอยู่สูง ๆ ต่ำ ๆ ทำให้เมล็ดข้าวได้รับความเสียหาย ควรนวดข้าวหลังจากที่ได้ตากข้าวให้แห้งเป็นเวลา 1 สัปดาห์ การนวดข้าวก็ใช้แรงสัตว์ เช่น วัว ควายขึ้นไปเหยียบย่ำเพื่อขยี้ให้เมล็ดหลุดออกจากรวงข้าว

6. การตากข้าว

          หลังจากนวดและทำความสะอาดเมล็ดแล้ว เอาข้าวเปลือกไปตากอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะเอาไปเก็บไว้ในยุ้งฉาง การตากข้าวในระยะนี้ควรตาก บนลานที่สามารถแผ่กระจายเมล็ดข้าวให้ได้รับแสงแดดโดยทั่วถึงกัน และควรตากไว้นานประมาณ 3-4 แดด เพื่อลดความชื้นในเมล็ดโดยให้เมล็ดข้าวผ่านอากาศร้อน เพื่อรักษาคุณภาพเมล็ดข้าวให้ได้มาตรฐานอยู่เป็นเวลานาน ๆ

7. การเก็บรักษาข้าว 

          เก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง เพื่อ ไว้บริโภคและแบ่งขาย เมื่อข้าวมีราคาสูงและอีกส่วนหนึ่งชาวนาจะแบ่งไว้ทำพันธุ์ ฉะนั้นข้าวพวกนี้จะต้องเก็บไว้เป็นอย่างดีโดยรักษาให้ข้าวนั้นมีคุณภาพได้มาตรฐานอยู่ตลอดเวลาและไม่สูญเสียความงอก ควรเก็บไว้ในยุ้งฉางที่ดี ซึ่งทำด้วยไม้ยกพื้นสูงอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อจะได้ระบายความชื้นและความร้อนออกไปจากยุ้งฉาง นอกจากนี้หลังคาของฉางจะต้องไม่รั่วและสามารถกันน้ำฝนไม่ให้หยดลงไปในฉางได้ก่อนเอาข้าวขึ้นไปเก็บไว้ในยุ้งฉางจำเป็นต้องทำความสะอาดฉางเสียก่อนโดยปัดกวาดแล้วพ่นด้วยสารไล่แมลงชีวภาพ

ขั้นตอนและวิธีการวางแผนการทำการเกษตร (ระดับหมู่บ้าน)

          1. ราว ๆ เดือนมีนาคมของทุกปี ผู้นำหมู่บ้านได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น เกษตรอำเภอ พัฒนาชุมชน กรมอุตุนิยมวิทยา เขื่อนต่างๆ สือโทรทัศน์ ผู้รับซื้อสินค้าการเกษตรรายใหญ่และรายย่อย ตลาดชุมชน เป็นต้น

          2. วางแผนการดำเนินการ กำหนดประเภทของพืชที่จะปลูก โดยคำนึงถึง ปริมาณน้ำ กำลังซื้อ แนวโน้มตลาดทั้งภายในและภายนอกชุมชน จากนั้นจะได้แผนการทำการเกษตรเบื้องต้น

          3. นำเสนอแผนการทำการเกษตรเบื้องต้นในที่ประชุมประจำเดือน ปรึกษาหารือว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ตามศักยภาพของพื้นที่ ตรงตามความต้องการของทุกคนให้มากที่สุด  หลักการสำคัญคือ ต้องมีความยืดหยุ่นประนีประนอม ให้คำแนะนำแก่ชาวบ้าน

          4. รับรองแผนการทำการเกษตรเบื้องต้น และปฏิบัติตามแผน จะทำให้ชาวบ้านได้กำไรจากการทำการเกษตรอย่างดี เกิดการขาดทุนน้อยที่สุด และยังทำให้ภาวะขาดแคลนน้ำทำการเกษตรลดลงอีกด้วย

ข้อพึงระวัง ->

-

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา