ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

โดย : นางสายใจ สุขแจ่ม วันที่ : 2017-03-15-12:59:21

ที่อยู่ : 3/2 ม.9 ต.วังท่าดี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มีอาชีพเป็นเกษตรกรทำนา ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษเป็นอาชีพที่ทำมาแต่เดิมมีโอกาสไปอบรมเศรษฐกิจพอเพียงจึงคิดดำรงชีวิตแบบพอเพียง

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเลี้ยงไก่พื้นเมือง ควรมีพื้นที่กว้างขวางพอประมาณ ที่จะให้ไก่ได้หาอาหาร และเดินออกกำลังกาย ถ้าสามารถเลือกสถานที่ที่เป็นชายป่า หรือทุ่งนาก็ได้จะเป็นการดี เพราะจะเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติชั้นดีสำหรับไก่พื้นเมือง โรงเรือนไก่พื้นเมืองสามารถสร้างแบบง่ายๆ โดยใช้วัสดุในท้องถิ่นเป็นหลัก หลังคาอาจมุงด้วยสังกะสีเก่าหรือตับหญ้าคาหรือตับแฝก ด้านข้างของโรงเรือนควรตีด้วยไม้ไผ่สานขัดแตะหรือไม้รวกขัดแตะ หรือไม้ระแนงโยงเว้นซองให้อากาศถ่ายเทสะดวก จัดทำคอนนอนไว้มุมใดมุมหนึ่งของโรงเรือนให้เพียงพอกับจำนวนไก่ และต้องจัดทำรังไข่  โดยอาจใช้ลังกระดาษเก่า ตะกร้า กระบุง รังไข่ควรรองด้วยเศษหญ้าแห้ง ฟางข้าว หรือพืชสมุนไพรตากแห้งที่มีคุณสมบัติไล่หมัดหรือไรไก่ สำหรับรางน้ำและรางอาหารเกษตรกรควรจัดทำเองโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น อัตราการผสมพันธุ์ที่ใช้จะนิยมใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัวต่อแม่พันธุ์ 7 ตัว แม่แต่ละตัวจะให้ลูกได้ปีละ 4 ชุด โดยจะเลี้ยงรอดประมาณชุดละ 8 ตัว ในการเลี้ยงลูกไก่พื้นเมืองในระยะแรก ควรมีสุ่มครอบแม่ไก่กับลูกอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อให้ลูกที่เลี้ยงรอดมีจำนวนสูง และถ้าต้องการให้ไก่ไข่เร็วขึ้นก็ทำได้โดยแยกลูกไก่มาอนุบาลเป็นการเฉพาะ สำหรับการให้อาหารไก่พื้นเมือง โดยส่วนใหญ่จะปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ และเสริมด้วยอาหารที่หาได้ในท้องถิ่นที่ผลิตเองหรือหาซื้อเพิ่มเติม เช่น ข้าวเปลือก รำ ปลายข้าว ข้าวโพด หรือเศษอาหารที่เหลือ เฉพาะในอาหารลูกไก่ในระยะแรกเกิด ถึงประมาณ 1 เดือน ควรใช้อาหารไก่เนื้อระยะแรกเลี้ยงจะให้ผลดีมากกว่า

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา