ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกยาสูบ

โดย : นางสาววิลาวัลย์ ตุ้ยอินทร์ วันที่ : 2017-03-03-12:58:21

ที่อยู่ : 8 หมุ่ที่ 5 ต.บ้านไร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากครอบครัวมีอาชีพเกษตรกรและอาชีพหลักคือการทำนาหลังสิ้นสุดฤดูการทำนาจึงหันมาปลูกยาสูบเพื่อเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อให้ผู้สนใจใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มรายได้ต่อไป

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เบี้ยยาสูบ,ปุ๋ย,ยาฆ่าแมลง

อุปกรณ์ ->

รถไถ,จอบ,คราด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเพาะกล้ายาสูบ
-    ให้นำวัสดุเพาะกล้า(มีเดีย) บรรจุลงในถาดเพาะ แล้วหยอดเมล็ด เมื่อเมล็ดงอกแล้วประมาณ 10 วัน ให้แยกกล้าไปใส่ในถาดเพาะที่วางไว้ในกะบะซีเมนต์ที่บรรจุน้ำไว้ ดูแลรักษาโดยการป้องกันโรคและตะไคร่น้ำด้วย “อีเรเซอร์-1” ใส่ไปในกะบะที่ใส่ถาดเพาะที่มีน้ำก่อนย้ายกล้ามาชำ 1-3 วัน อัตรา 10 ซี.ซี/น้ำ 1 บัว  รดบนถาดกล้า และฉีดพ่นป้องกันโรคเน่าคอกล้าด้วย “คาร์บอกซิล-พลัส” ก่อนตัดใบให้ฉีดพ่นด้วย “คาร์บอกซิล-พลัส” และหลัง ตัดใบเสร็จให้ฉีดพ่นด้วย “อีเรเซอร์-1” เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ที่จะทำให้กล้าเน่า ,ยอดเน่า

-    การให้ปุ๋ยให้ใช้ปุ๋ย “โฟทอนิค” ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ไม่มีเกลือฟอสเฟต ที่ทำอันตรายกับกล้า สูตร 20-5-30 หรือสูตรใกล้เคียงในอัตรา 90กรัม/น้ำ 1 ถังมะตอย (1 แปลงใช้ 2 ถังมะตอย) ก่อนให้ปุ๋ยให้เอาน้ำออกจน Media แห้ง ใส่ช่วงกล้าอายุ 20 วัน (ก่อน Clipping ใบ 5 วัน)
1. สภาพพื้นที่ดินปลูก
    1.1     ดินที่มีค่าความเป็นกรด -  ด่าง ( PH ) ไม่เหมาะสม  ควรมีการตรวจเช็คค่า PH ของดินปลูกเพราะโดยส่วนใหญ่เท่าที่สำรวจจะพบว่า ดินปลูกยาสูบจะมีความเป็นกรดเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยจะมีค่า PH ประมาณ 4.8 – 5.4   ซึ่งถือว่าเป็นกรดค่อนข้างจัด และไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตสำหรับยาสูบ ทั้งนี้เพราะดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของยาสูบควรมีค่า PH ประมาณ 5.8 – 6.6 คือเป็นกรดอ่อนๆ วิธีแก้ไขเราควรที่จะมีการปรับสภาพของดินปลูกให้ได้ค่า PH ที่เหมาะสม โดยการใช้สารปรับปรุงดิน อาทิ แคลเซียมซัลเฟต หรือ โคโลไมท์
    แนะนำให้ใช้ สารปรับปรุงดิน “ซอยล์แอสท์” 50 – 100 กิโลกรัม (ดูรายละเอียดในภาคผนวก)

    เมื่อสภาพดินมีค่าความเป็นกรด จะมีผลต่อธาตุอาหารต่าง ๆ ที่เราใส่ลงไปในดินดังนี้ คือ
1.     มีการจับธาตุฟอสฟอรัส (P) ไว้   จนพืชนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้
2.     มีการไล่ธาตุไนโตรเจน (N) , โปแตสเซียม (K) , แคลเซียม (Ca ) , แมกนีเซียม (Mg ) ให้หลุดออกจากอนุภาคดินได้ง่าย นั่นหมายถึง ธาตุต่าง ๆ ดังกล่าวจะถูกชะล้างและสูญเสียง่าย
3.     มีการจับ จุลธาตุ (ธาตุอาหารเสริม) บางตัวไว้จนละลายออกมาไม่ได้ (ถูกตรึงไว้) ทำให้พืชไม่ได้ประโยชน์จนทำให้ขาดจุลธาตุดังกล่าว อาทิ โบรอน สังกะสี ทองแดง เป็นต้น
4.     มีการไล่จุลธาตุบางตัว อาทิ เหล็ก (Fe) และ อลูมีเนียม ( A1) ออกมาจนเป็นพิษต่อพืชได้
ตารางที่ 1-7 เป็นตารางแสดงว่าความเป็นกรด – ด่าง ที่เหมาะสมต่อธาตุอาหารแต่ละตัวที่จะถูกปลดปล่อยออกมาให้เป็นประโยชน์ต่อพืช


1.2  ดินที่มีโครงสร้างไม่ดี  แน่นทึบ ( SOIL COMPACTION ) ลักษณะดินประเภทนี้ จะมีผลต่อระบบรากของยาสูบ  ตลอดจนกระทั้งการระบายน้ำให้แก่รากยาสูบ อันทำให้การเจริญเติบโตและการดูดกินอาหารของยาสูบมีปัญหา  ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าระบบรากของยาสูบถือเป็นหัวใจสำคัญ ทั้งนี้เพราะรากยาสูบเป็นแหล่งสร้างนิโคติน ดังนั้นก่อนมีการปลูกยาสูบควรมีการเลือกลักษณะดิน ในกรณีที่จำเป็นต้องปลูกในดินที่มีโครงสร้างดังกล่าว ควรมีการปรับโครงสร้างดินด้วยวิธีการดังนี้ คือ
    (1.2.1) ให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ในปริมาณที่มากขึ้น (อัตราตั้งแต่ 200 กิโลกรัมต่อไร่ขึ้นไป )
    (1.2.2) ให้ใช้สารสกัดอินทรีย์เข้มข้น อาทิ ซอยล์ไลฟ์ ( SOIL-LIFE ) ในอัตราไร่ละ 500 – 1,000 กรัม โดยผสมสาร  10-15 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร รดที่หลุมปลูกต้นละ 250 ซี.ซี. (หรือ 1 กระป๋องนม )
    (1.2.3) ให้ใช้ G-5 ที่มีสารสกัดอินทรีย์แข้มข้นผสมฮอร์โมน Seaweed Extract และ อะมิโน แอซิด ตลอดจนสารป้องกันโรคเน่าต่างๆ

    1.3 ดินที่มีการสะสมของเชื้อโรคสาเหตุของการเน่าและเหี่ยวต่าง ๆ ( SOIL BORNE DISEASE) ในสภาพดินที่มีการเพาะปลูกมานาน ย่อมมีการสะสมของเชื้อโรคต่าง ๆ หลายชนิด อาทิ เชื้อโรค เหี่ยวด้านเดียว (หรือ “ตายผาก” ) ....เชื้อโรคแข้งดำ ฯลฯ และอืน ๆ อีกมากมาย ซึ่งโรคต่าง ๆ เหล่านี้ทำความเสียหายแก่ยาสูบเป็นอันมาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชื้อโรคสาเหตุเหล่านี้จะชอบสภาพดินที่มีความเป็นกรดสูง ซึ่งมันมักจะระบาดรุนแรง  การแก้ไขปัญหาตรงนี้คงต้องใช้วิธีผสมผสานและป้องกันไว้ก่อน ถ้าทราบมาโดยตลอดว่าพื้นที่ตรงนั้น ๆ มีการเกิดโรคเป็นประจำ โดย
    (1.3.1) ควรมีการปรับสภาพของดินปลูก โดยเฉพาะดินที่มีความเป็นกรด ( SOIL ACIDITY )  ซึ่งจะเหมาะสมต่อการขยายพันธุ์หรือแพร่ระบาดของเชื้อสาเหตุโดยการใช้ สารปรับสภาพดิน อาทิ ซอยแอสท์ ( SOIL -AST ) หว่านหลังไถขึ้นแปลงเรียบร้อย
    (1.3.2) ควรมีการเลือกใช้สารป้องกันกำจัดที่มีประสิทธิภาพสูงและเชื้อไม่ดื้อยา ไม่ว่าจะเป็นเชื้อ Fusarium oxysporum f.sp. nicotianae  ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุของโรค “เหี่ยวด้านเดียว” (โรคตายผาก ) หรือเชื้อ Phytopthora parasitica var nicotianae ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค “แข้งดำ) หรือเชื้อ Rhizoctonia solani ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค “แข้งเน่า”  หรือ  “โคนเน่า”  เป็นต้น แนะนำให้ใช้   “คาร์บ๊อกซิล-พลัส เอ็กซ์ตร้า” จะมีประสิทธิภาพสูงสุด และครอบคลุมหลายเชื้อ (Broad spectrum ) โดยใช้สารอัตรา 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นไปให้ทั่วลำต้นและใบเมื่อปลูกเสร็จ

3.    ช่วงเวลาปลูก (PERIOD  PLANTING )
ช่วงเวลาที่พืชได้รับแสงมีผลต่อการออกดอกของพืชหลายชนิด จากการศึกษาของ Gardner และ Allard  นักสรีระวิทยาชาวอเมริกัน ในปี ค.ศ. 1920 พบว่า ยาสูบพันธุ์ Maryland Mammoth จะออกดอกเมื่อช่วงแสงกลางวันสั้นกว่ากลางคืน ถ้าช่วงวันยาวกว่า 14 ชั่วโมงยาสูบจะไม่ออกดอก แต่ถ้าในฤดูหนาวที่มีช่วงวันสั้นกว่า 14 ชั่วโมง ยาสูบพันธ์นี้จะออกดอก  นอกจากนี้เขายังได้ศึกษาช่วงวันที่มีผลต่อการออกดอกของพืชอีกหลายชนิดพบว่าพืชแต่ละชนิด ต้องการความยาวช่วงวันแตกต่างกัน ซึ่งเขาได้เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “โฟโตเพอริโอดิซึ่ม” ( Photoperiodism ) หมายถึงปรากฏการณ์ที่พืชมีการตอบสนองต่องช่วงเวลาที่ไดรับแสงในการส่งเสริมการออกดอกของพืชแต่ละชนิด จะมีช่วงวิกฤติในการชักนำการออกดอกทีแตกต่างกัน สามารถแบ่งพืชตามการตอบสนองต่อช่วงยาวของวันได้  3 ประเภท คือ
    1.     พืชวันสั้น ( short day plant ) หมายถึง  พืชที่ออกดอกเมื่อช่วงวันสั้นกว่าช่วงวันวิกฤติ อาทิ ยาสูบ  เบญจมาศ   ถั่วเหลือง   ข้าว   สตอร์เบอรี่  เป็นต้น
    2.     พืชวันยาว ( long day plant )  หมายถึง  พืชที่ออกดอกเมื่อช่วงวันยาวกว่าช่วงวันวิกฤติ ได้แก่ ข้าวสาลี  ข้าวบาร์เลย์   ข้าวโอ๊ต   ป้วยเล้ง   ผักกาดหวาน   แรดดิช  เป็นต้น
    3.     พืชไม่ตอบสนองต่อช่วงวัน ( day neutral plant ) หมายถึง พืชที่ออกดอกโดยไม่ขึ้นกับช่วงวัน เช่น ข้าวโพด   ข้าวฟ่าง   มะเขือเทศ   ฝ้าย   แตงกวา  เป็นต้น
    ช่วงแสงวิกฤติของพืชแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป  ตัวอย่าง ยาสูบ  ซึ่งเป็นพืชวันสั้น  ต้องการช่วงแสงวิกฤติเท่ากับ  14 ชั่วโมง  ยาสูบจะออกดอกได้ ถ้าได้รับแสงในช่วงวันเท่ากับ 14 ชั่วโมง  หรือน้อยกว่า แต่ถ้าช่วงวันยาวกว่า  14 ชั่วโมง  ยาสูบจะไม่ออกดอก ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่ายาสูบต้องการช่วงความมืดยาวในการออกดอก การเกิดแสงในช่วงมืดเพียงเล็กน้อง โดยการใช้แสงรบกวนในเวลากลางคืน   ( night break ) ก็มีผลทำให้พืชวันสั้นไม่ออกดอก  ฉะนั้นอาจเรียกพืชวันสั้นว่า “พืชที่ต้องการช่วงเวลากลางคืนยาว”  ( long night – reguiring plant )

                          ตาราง 1-6  ตัวอย่างค่าช่วงวันวิกฤติของพืชบางชนิด


    ดังนั้น...เมื่อเราทราบแล้วว่า  ยาสูบเป็นพืชวันสั้น (SHORT DAY PLANT)  เราก็ควรจะเลือกช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม  ถ้าเราไปเลือกปลูกในช่วงที่มีแสงสั้น อาทิ  ในเดือน ธันวาคม – มกราคม  ยาสูบก็จะออกดอกเร็ว  อันจะหมายถึงว่า การสร้างชุดใบยาจะสิ้นสุดลง  จึงทำให้ได้จำนวนใบยาน้อย  ผลผลิตก็จะต่ำ  ดังนั้นเราควรจะคำนึงถึงช่วงที่เหมาะสมมากที่สุด  เพื่อให้ยาสูบได้ผลผลิตสูงสุด  ช่วงที่เหมาะสมควรจะเป็นช่วงตั้งแต่ เดือน กันยายน ไปจนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน

4.    การเตรียมแปลงและระยะปลูก ( CULTURAL  PRACTICEA AND RIDGE  SPACING)
    ยาสูบเป็นพืชที่มีลักษณะทรงพุ่มที่มีใบกว้างและยาว  และต้องการพื้นที่ในการรับแสงที่มากเพียงพอต่องการสร้างคุณภาพและผลผลิตที่สูง  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องจัดระยะห่างของพื้นที่ระหว่างต้นยาสูบแต่ละต้นให้เหมาะสม
    ระยะปลูกควรคำนึงถึงความพอเหมาะพอดี  เพื่อให้ได้ปริมาณต่อพื้นที่สูงสุด อันจะทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงและต้องให้ได้คุณภาพที่ดีด้วย
    ระยะปลูกที่เหมาะสม  เพื่อให้ได้เป้าหมายทั้ง 2 ประการนั้น ควรจะเป็นดังนี้
        ¥     ระยะระหว่างแถว          120     เซนติเมตร
        ¥     ระยะระหว่างต้น          60    เซนติเมตร
    ซึ่งระยะดังกล่าวจะทำให้พื้นที่ 1 ไร่ได้จำนวนต้นยาสูบประมาณ  2,220 ตัน
    การเตรียมแปลงเพื้อให้ได้ระยะดังกล่าว แสดงได้ดังภาพ
 


ข้อเสียของการไม่เข้มงวดเรื่องระยะปลูก  จนทำให้มีการปลูกต้นยาสูบที่ถี่กว่ากำหนด
1.    จำนวนใบยาต่อต้น  จะน้อยกว่า
2.    ใบยาจะสั้นกว่า  และเล็กกว่า
3.    ใบยาจะบางกว่า   และคุณภาพเนื้อใบยาไม่สม่ำเสมอ
4.    ใบยาจะเหลืองเร็วกว่า  แต่จะเป็น “จำเหลือง” ทั้งนี้เพราะขาดแสงแดดที่เพียงพอ
5.    ใบยาจะเน่าช้ำได้ง่าย  เนื้อใบยาไม่แกร่ง  เนื้องจากเพราะมีการอมน้ำสูง
6.    สิ้นเปลืองแรงงานสูง  ทั้งนี้เพราะต้องเก็บใบยาปริมาณมากในแต่ละครั้ง
7.    ความเสียหายสูง
8.    อัตราแปรสภาพใบยา ( Ratio ) กว้าง ทำให้ต้นทุนสูง

5.    การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมและถูกต้อง (FERTILIZER  APPLICATION )

    ลักษณะปุ๋ยสำหรับยาสูบและการเลือกใช้
    ปุ๋ยที่ใช้กับยาสูบ  ควรจะประกอบไปด้วย

    1.     ปุ๋ยหลัก  (N - P - K  Fertilizer ) หรือรองพื้น ( Base dressing )    ซึ่งจะประกอบไปด้วยธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน (N) , ฟอสฟอรัส (P) และโปแตสเซียม ( K) รวมทั้งธาตุอาหารรองที่จำเป็น อาทิ  แมกนีเซียม (Mg) และธาตุอาหารเสริมพื้นฐาน โบรอน ( B) ปริมาณธาตุอาหารหลัก N-P-K  จะถูกกำหนดโดยดูพื้นฐานของธาตุอาหารในดินปลูกซึ่งควรมีการวิเคราะห์เบื้องต้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิเคราะห์ธาตุฟอสฟอรัส (P)  เมื่อทราบแล้วก็จะนำมาจัดสัดส่วนความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารทั้ง 3 ตัวหรือที่เรียกว่า  “ N-P-K  Ratio ”  สัดส่วนธาตุอาหาร 
N-P-K   หรือ  N-P-K  Ratio  นั้นในประเทศไทยของเรามีปุ๋ยสำเร็จรูปสูตรมาตรฐานที่ใช้กับยาสูบที่เหมาะสม อาทิ 6-12-24 หรือ 1:2:4   หรือ สูตร 8-12-24   หรือ N-P-K ratio = 1:1.5:3   เป็นต้น ในสภาพดินปลูกยาสูบเมืองไทยโดยทั่ว ๆ ไป  กำหนดความต้องการธาตุอาหารหลักโดยประมาณดังต่อไปนี้
    ธาตุไนโตรเจน (N)        12.0 - 15.0    กิโลกรัม N / ไร่
    ธาตุฟอสฟอรัส (P)        12.0 - 16.0    กิโลกรัม P / ไร่
    ธาตุไปแตสเซียม (K )        28.0 - 36.0    กิโลกรัม K / ไร่
    การเลือกใช้อัตราธาตุอาหารแต่ละตัวในปริมาณเท่าใด  ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานบางประการ นั่นคือ
        1.1     สภาพดิน   ดินอุดมสมบูรณ์สูงหรือต่ำ เนื้อดินปลูก อาทิ ดินร่วน หรือ ดินทราย เป็นต้น
        1.2     ฤดูกาลปลูก  อยู่ในช่วงต้นฝน  หรือปลายฝน หรือต้นหนาว เป็นต้น

    2.     ปุ๋ยเสริม  หรือปุ๋ยเติมแต่ง  ( Side  dressing)    ในบางกรณีเมื่อมีการใช้ปุ๋ยหลัก (N-P-K Fertilizer ) ตามปกติแล้ว แต่จำเป็นต้องมีการเสริมหรือปรับการให้ธาตุอาหารหลักบางตัว อาทิ  ไนโตรเจน หรือ โปแตสเซียม (K)  ก็ควรจะมีการเลือกปุ๋ยที่จะเติมแต่งเข้าไป ทั้งนี้เพราะว่าในบางสภาพ ปุ๋ยรองพื้นอาจมีการสูญเสียหรือถูกชะล้างไปได้  การเลือกเติมแต่งให้กับยาสูบ (Side dressing)  จะอยู่ในช่วงอายุ  3 สัปดาห์  และรูปของปุ๋ยก็ควรจะเหมาะสม โดยส่วนใหญ่จะเน้นไนโตรเจนในรูปไนเตรด (NO3) ส่วนจะมีธาตุอาหารหลักตัวอื่นเพิ่มเติมหรือไม่ จะขึ้นอยู่กับสภาพดินปลูก  สูตรปุ๋ยเสริมหรือเติมแต่งที่เหมาะสมในประเทศไทยเราที่นิยมใช้จะมีหลายสูตร อาทิ 13-0-46  (โปแตสเซียมไนเตรต ) , สูตร 15-0-14 (โซเดียมโปแตสเซียมไนเตรต ) หรือที่เรียกว่า “ชีเลี่ยนไนเตรต” หรือ  15-0-0 ( แคลเซียมไนเตรต ) และอื่น ๆ

    ดังนั้น..จากปุ๋ย 2 ประเภทที่กล่าวมาจึงนำมากำหนดเป็นโปรแกรมที่เหมาะสมดังต่อไปนี้คือ
4.1    ปุ๋ยรองพื้น (BASE  DRESSING ) 
กำหนดให้ใช้ปุ๋ย  N : P : K  =  1 : 1.5 : 3  ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมมาก อาทิ ปุ๋ยเพาเวอร์เฟอร์ท สูตร 8-12-24  + 4  MgO + 0.06 B อัตราไร่ละ 100 กิโลกรัม
4.2    ปุ๋ยแต่งข้างหรือปุ๋ยเสริม (SIDE  DRESSING ) กำหนดให้ใช้ปุ๋ยในรูปไนเตรตซึ่งมี N : P : K  =  1 : 0 : 0  หรือ  1 : 0 : 1    จะเป็นสูตรที่เหมาะสมสำหรับการเติมแต่ง เพื่อชดเชยหรือเพิ่มธาตุอาหาร  ทั้งไนโตรเจน ( N ) และโปแตสเซียม ( K ) ที่อาจไม่เพียงพอ ถ้าจะใช้เพียงเฉพาะแค่ปุ๋ยรองพื้น ( BASE  DRESSING) เ พียงอย่างเดียว

    การใช้ปุ๋ยเติมแต่งนับว่ามีความจำเป็นมากสำหรับยาสูบ  การเลือกปุ๋ยเติมแต่ง ( SIDE  DRESSING ) จึงมีความจำเป็นต้องเลือกปุ๋ยที่เหมาะสม  จึงควรใช้หลักในการพิจารณาดังต่อไปนี้ คือ
4.2.1    ปุ๋ยเติมแต่งข้าง ( Side dressing ) ธาตุอาหารไนโตรเจน ( N ) ควรอยู่ในรูป ไนเตรต ( NO3 )
4.2.2    ปุ๋ยเติมแต่งข้าง ( Side dressing ) ธาตุอาหารโปแตสเซียม ( K ) ควรมาจากแม่ปุ๋ย โปแตสเซียมไนเตรต ( KNO3 ) จะมีประสิทธิภาพดีที่สุด
4.2.3    เมื่อคิดต้นทุนต่อธาตุอาหาร ทั้งธาตุอาหารไนโตรเจน ( N ) และ โปรแตสเซียม ( K ) แล้ว  จะต้นทุนต่ำสุดเมื่อเทียบกับการไปใช้ปุ๋ยในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
4.2.4    ควรเลือกปุ๋ยเติมแต่ง ที่จะไปเสริม ปุ๋ยรองพื้น ( Base  dressing ) ให้มีประสิทธิภาพ โดยเมื่อคิดต้นทุนรวมแล้วจะต่ำกว่าปุ๋ยทั่วไป

วิธีการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง
( ก ) ปุ๋ยรองพื้น      ( Base  dressing )  ควรแบ่งใส่  2 ครั้ง  ตามช่วงอายุดังนี้
    ครั้งที่  1     หลังย้ายกล้าปลูก  7 – 10 วัน      โดยฝังปุ๋ย    อัตรา  30  กิโลกรัมต่อไร่
    ครั้งที่  2     หลังย้ายกล้าปลูก  25  วัน     โดยฝังปุ๋ย    อัตรา  70  กิโลกรัมต่อไร่

( ข )     ปุ๋ยแต่งข้างหรือเติมแต่ง ( Side  dressing )    กำหนดให้ใส่ อาจโดยการฝัง หรือผสมน้ำรด ก็ได้  ในช่วงอายุ 7 – 10 วัน  และอายุ  25 วัน อัตราไร่ละ  40 – 50 กิโลกรัมต่อไร่
สำหรับ ปุ๋ยเติมแต่ง  อาจใช้ในกรณีพิเศษได้ดังต่อไปนี้
    ( ข.1 )  ผสมน้ำรด     เพื่อเร่งการเติบโตได้  ในช่วงอายุ 7 – 10 วัน  ในอัตราไม่เกิน  10 กิโลกรัมต่อไร่
    ( ข.2 )  ผสมน้ำรด     เพื่อชดเชยการขาดธาตุอาหารไนโตรเจน ในช่วงใดช่วงหนึ่ง  ตั้งแต่ยาสูบอายุ 35 วันขึ้นไป  จนถึง  55 วัน โดยจะไม่ทำให้เกิดผลกระทบด้านคุณภาพใบยา    ในอัตราไร่ละไม่เกิน 10 กิโลกรัม

5.  การดูแลรักษา ( PEST  MANAGEMENT )
    5.1     การป้องกันโรคต่าง ๆ  ( DISEASES  CONTROL )
    5.2     การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูต่าง ๆ ของยาสูบ ( INSECTS CONTROL )
    5.3     การป้องกันและกำจัดวัชพืช ( WEEDS  CONTROL )
    5.4     การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเจริญเติบโต หรือสภาพดินฟ้าอากาศที่ผิดปกติ  ( ENVIRONMENTAL  FACTORS CONTROL )


5.1    การป้องกันและกำจัดโรคต่าง ๆ
5.1.1    โรคที่เกิดจากเชื้อรา  ( FUNGUS  DISEASES )
5.1.2    โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  ( BACTERIAL  DISEASES )
5.1.3    โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส   ( VIRAL  DISEASES )
5.1.4    โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย  ( NEMATODE  DISEASES )


5.1.1    โรคที่เกิดจากเชื้อราต่าง ๆ ที่สำคัญ และการป้องกันกำจัด
    5.1.1.1     โรคเน่าคอกล้า ( Damping – off )  เกิดจากเชื้อ Pythium spp.  และ Rhizoc tonia solani   การป้องกันและกำจัด ใช้สาร อีเรเซอร์-1 ( Eraser-1 )  อัตรา 10 ซี.ซี. ต่อน้ำ 1 บัว  หรือในแปลงเพาะระบบ Semi – Froating

    5.1.1.2     โรคใบจุดสีน้ำตาล ( BROWN SPOT ) ที่เกิดจากเชื้อ Alternaria  alternate  ฉีดพ่นป้องกันด้วยยา Eraser-1  อัตรา 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ  20 ลิตร

    5.1.1.3     โรคตากบ  (FROG  EYE )  เกิดจากเชื้อ Cercospora  nicotianae
    การป้องกันและกำจัด ( เช่นเดียวกับข้อ 5.1.1.2  )

    5.1.1.4    โรคแอนแทรคโนส (Anth racnose)  เกิดจากเชื้อ Colletotrichum  tabacum
การป้องกันและกำจัด ( เช่นเดียวกันกับข้อ 5.1.1.2 )

     5.1.1.5    โรคเหี่ยวด้านเดียว (Fusarium wilt ) หรือที่เรียกว่า “โรคตายผาก” เกิดจากเชื้อ  Fusarium  oxysporum
การป้องกันและกำจัด       
        (1) ปรับสภาพความเป็นกรดของดิน  โดยใช้สารที่เป็นด่างอาทิ  ปูนโดโลไมท์ ,ซอยส์แอสท์
        (2) ใช้สาร  อีเรเซอร์-1 ( Eraser – 1 )  อัตรา 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ  20 ลิตร  รดหรือฉีดพ่นที่รอบต้นกล้า
    5.1.1.6  โรคแข้งดำ  (BLACK  SHANK )  เกิดจากเชื้อ Phytophthora  parasitica var. nicotinae
    การป้องกันและกำจัด     ใช้สารคาร์บ๊อกซิล-พลัส ( Carboxyl-plus ) อัตรา 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นประมาณ  2 -3 ครั้ง หลังปลูก

    5.1.1.7  โรคแข้งเน่า ( SORESHIN )  เกิดจากเชื้อ Rhizoctonia solani 
การป้องกันและกำจัด  เช่นเดียวกับโรคเหี่ยวด้านเดียว ( ข้อ 5.1.1.5 )

    5.1.1.8  โรคราสีน้ำเงิน ( BLUE  MOLD )  ที่เกิดจากเชื้อ  Peronospora   tabacina
การป้องกันและกำจัด  ฉีดพ่นป้องกันด้วยสาร อีเรเซอร์ – 1 ( Eraser – 1 )

5.1.2    โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial  diseases )
    5.1.2.1    โรคเหี่ยวเฉา  ( GRANVILLE  WILT )  เกิดจากเชื้อสาเหตุ  Pseudomonas  solanacearum  ชุบรากกล้าและฉีดพ่นด้วยสาร  คาร์บ๊อกซิล-พลัส ( Carboxyl – Plus )

    5.1.2.2 โรคใบจุดเหลี่ยม ( ANGULAR  LEAFSPOT )  หรือไฟลามทุ่ง ( WILD FIRE ) ซึ่งเกิดจากเชื้อสาเหตุ  Pseudomonas  syringae  pv  tabacina   ให้พ่นป้องกันด้วย “อีเรเซอร์-1”  อัตรา  20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร  หลังจากย้ายกล้าปลูก  ประมาณ20-25 วัน  ให้พ่นทุก  7 วัน 

5.1.3 โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (VIRAL DISEASES)
เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกับยาสูบ มีโดยประมาณ 18 ชนิด  ดังต่อไปนี้
   5.1.3.1    MOSAIC  เกิดจากเชื้อ TOBACCO MOSAIC VIRUS (TMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Myzus Persicae ฯลฯ
   5.1.3.2    VEIN BANDING เกิดจากเชื้อ POTATO VIRUSY (PVY) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Aphis spp., Myzuz spp., Neomyzus spp., Acrythoosiphen spp.
   5.1.3.3    ETCH เกิดจากเชื้อ TOBACCO ETCH VIRUS มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Aphis spp., Aulacorthium., Macrosiphiun.,  Myzuz spp. ฯลฯ
   5.1.3.4    TOMATO SPOTTED WILT เกิดจากเชื้อ TOMATO SPOTTED WILT VIRUS (TSWV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยไฟ อาทิ Thrip tabaci, Frankliniella
   5.1.3.5    CUCUMBER MOSAIC VIRUS  เกิดจากเชื้อ CUCUMBER MOSAIC VIRUS (CMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Myzus persicae, Aphis gossypii
   5.1.3.6    VEIN MOTTLE เกิดจากเชื้อ TOBACCO VETH MOTTLE VIRUS (TVMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Myzus persicae
   5.1.3.7    ROSETTE AND BUSHY TOP เกิดจากเชื้อ TOBACCOROSETTE AND BUSHY TOP VIRUS (TRBTV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน (Aphids) อาทิ Myzus sp.
   5.1.3.8    PAENUT STUNT เกิดจากเชื้อ PAENUT STUNT VIRUS (PSV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน
   5.1.3.9    ALFALFA MOSAIC เกิดจากเชื้อ ALFALFA MOSAIC VIRUS (AMV) มีพาหะนำเชื้อโดยเพลี้ยอ่อน อาทิ Aphis gossypii, Macrosiphium pisi, Macrosiphium solanifolii, Aphis fabae
   5.1.3.10    LEAF CURL เกิดจากเชื้อ TOBACCO LEAF CURL VIRUS (TLCY) มีพาหะนำเชื้อโดย แมลงหวี่ขาว (whitefly) อาทิ Bemisia tabaci Bemisia gossypiperda, Trialeurodes natatensis Aleurotuberculatus psidii (in Taiwai)
   5.1.3.11    BEET CURLY TOP เกิดจากเชื้อ BEET CURLY TOP VIRUS (BCTV) มีพาหะนำเชื้อโดย เพลี้ยจักจั่น (Leafhopper) อาทิ Circulifer tenellus
   5.1.3.12    RATTLE VIRUS เกิดจากเชื้อ TOBACCO RATTLE VIRUS (TRV) มีพาหะนำเชื้อโดย ไส้เดือนฝอย (nematode) อาทิ Trichodorus spp.
   5.1.3.13    RING SPOT เกิดจากเชื้อ  TOBACCO RINE SPOT VIRUS (TRSV) มีพาหะนำเชื้อโดย ไส้เดือนฝอย (nematode) อาทิ Xiphinema americanum
   5.1.3.14    STEAK เกิดจากเชื้อ TOBACCO STEAK VIRUS (TSV) มีพาหะนำเชื้อโดย ตั๊กแตน (grasshopper)
   5.1.3.15    NECROSIS เกิดจากเชื้อ TOBACCO NECROSIS VIRUS (TNV) มีพาหะนำเชื้อโดย เชื้อรา (Fungus) อาทิ Olpidium brassicae
   5.1.3.16    STUNT เกิดจากเชื้อ TOBACCO STUNT VIRUS (TSV) มีพาหะนำเชื้อโดย เชื้อรา (Fungus) อาทิ Olpidium brassicae
   5.1.3.17    WOUND TUMOR เกิดจากเชื้อ WOUND TUMOR VIRUS (WTV) มีพาหะนำเชื้อโดย เพลี้ยจั๊กจั่น (Leafhopper) อาทิ Agallia constricta. Agallia quadripunctata, Agalliopsis novella
   5.1.3.18     LETTUCE BIG VEIN เกิดจากเชื้อ LETTUCE BIG VEIN VIRUS (LBVV) มีพาหะนำเชื้อโดย เชื้อรา (fungus) อาทิ Olpidium spp.
ลักษณะอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (Viral diseases) จะมีลักษณะโดยทั่วไปที่แสดงอาการ อาทิ แผลจุดเป็นดวง, ด่างลายเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทั้งต้น, แคระแกร็น, หยุดและชะงักการเจริญเติบโต, ลักษณะรูปร่างผิดปกติ, แตกตา, กิ่ง, ช่อ ยอด มากกว่าปกติ
5.1.4  โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย  ( VIRAL  DISEASES )
5.1.4.1    ไส้เดือนฝอยรากปม ( ROOT-KNOT  NEMATODE ) อาทิ Meloidogyne  javanica
5.1.4.2    ไส้เดือนฝอยรากแผล  (ROOT  LESION  NEMATODE )  อาทิ  Pratylenchus spp.
5.1.4.3    ไส้เดือนฝอยรากเน่าสีน้ำตาล ( BROWN  ROOT  ROT  NEMATODE ) อาทิPyatylenchus spp.

5.1.5    โรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (NON – PARASITIC  DISEASES )
5.1.5.1    โรคที่เกิดจากการขาดธาตุอาหารบางตัว ( NUTRITIONAL  PROBLEMS )
5.1.5.2    โรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ ( ENVIRONMENTAL  PROBLEMS )

6. การตอนยอด   ( TOPPING  AND  SUCKERING )
    การปลูกยาสูบเวอร์จิเนีย  เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีนั้น  หลังจากที่เราได้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ  มาทั้งหมดแล้ว   เราก็ควรที่จะมีการตอนยอด   ซึ่งการตอนยอดมีอิทธิพลต่อผลผลิตและคุณภาพของใบยามาก  จุดประสงค์ของการตอนยอด  ก็เพื่อให้ใบยาที่เหลืออยู่บนต้นเจริญเติบโตได้มากขึ้น ทั้งนี้เพราะการตอนยอดจะไปเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้กับใบยา  ทำให้ใบยามีความหนา  มีความยาวมากขึ้น
    จุดสำคัญของการตอนยอด  และถือ เป็นหัวใจสำคัญนั่นคือ    การปฏิบัติในไร่  ตั้งแต่การเตรียมดิน..  การใช้ปุ๋ย..  การให้น้ำ..  การดูแลปฏิบัติรักษา  ต้องดีและถูกต้อง  จนมาถึงขั้นตอนของการตอนยอด  นั่นคือ
    6.1     จะตอนยอด   เมื่อได..เวลาใด
    6.2     จะตอนยอดแบบใด..วิธีใด

การปฏิบัติที่ถูกต้องที่จะขอแนะนำ      เป็นวิธีการง่าย  ๆ  ดังต่อไปนี้คือ
1.    ตอนยอดเมื่อ..  ต้นยาสูบเริ่มส่งคอดอก
2.    เด็ดยอด..  พร้อมกับใบที่เล็กกว่า  1 คืบทิ้ง
3.    หยอดยาคุมแขนงทันที  เมื่อเด็ดยอดแล้วเสร็จ  โดยให้ใช้สารคุมหน่อ  EKK # 99  อัตรา  20 ซี.ซี. ต่อน้ำ  1 ลิตร   หยอดลงบนส่วนบนต้นยาสูบที่หักยอดทิ้งแล้ว  อัตราต้นละ  10 ซี.ซี.  แล้วค่อย ๆ ส่ายลำต้นเล็กน้อยให้น้ำยาไหลวนดีขึ้น

ข้อดีของการตอนยอด
1.    เพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้แก่ใบยาที่คงเหลืออยู่ในต้น
2.    กระตุ้นให้มีการสร้างรากให้มากขึ้น  และเป็นการเพิ่มปริมาณนิโคติน
3.    ใบยาสูบจะมีความกว้าง..   ความหนา  และความยาวมากขึ้น
4.    ลดแรงงานในการเก็บเกี่ยว ..  การคัดแยกเสียบ  ให้น้อยลง
5.    ช่วยลดโรคและแมลง
6.    ช่วยลดต้นทุนค่าใบยาสดลง
7.    ช่วยเพิ่มคุณภาพและเกรดใบยาให้สูงขึ้น

7. การเก็บเกี่ยว  ( REAPING )
    การเปลี่ยนสีของใบยา  พิกเมนท์  ( PIGMENT )  หรือเม็ดสีในใบยา  จะประกอบไปด้วย สีเขียวของคลอโรฟิลด์  ( Chlorophylle )  สีเหลืองของแคโรทีนและแซนโดฟิล  หรือเรียกรวมกันว่า  “แคโรทีนอยด์”  เมื่อใบยาสูบเริ่มแก่เม็ดสีเขียวของคลอโรฟิลก็จะเริ่มลดลง  ใบขณะที่ปริมาณแคโรทีนนอยด์คงที่  จึงทำให้เห็นสีเหลืองมากขึ้นการเปลี่ยนแปลงนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของคาร์โบไฮเดรต  และโพลีฟินอล  ในขณะบ่มใบยาปริมาณคาร์โบไฮเดรตจะเปลี่ยนไป  แป้งจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลและโพลีฟินอลจะถูกออกซิไดซ์โดยเอ็นไซม์  Polyphenoloxidazed  enzyme  โพลีฟินอลส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับสีของใบยาแห้ง สารเหล่านี้เมื่ออยู่ในใบยาสดจะไม่มีสี  อัตราธาตุอาหารไนโตรเจนและโปแตสเซียม ( N : K )  มีส่วนเกี่ยวพันกับปริมาณของโพลีฟินอลมาก  ถ้าไนโตรเจนสูงและโปแตสเซียมต่ำ  จะทำให้มีปริมาณโพลีฟินอลต่ำ  ใบยาสูบบ่มแล้วจะมีสีน้ำตาลมาก
    การปลูกใบยาสูบในสภาพที่แห้งแล้ง  จะทำให้ปากใบของใบยาปิดเพื่อลดการคายน้ำเมื่อการคายน้ำของใบยามีน้อย  ก็จะทำให้อุณหภูมิของใบยาสูงขึ้นและทำให้การดูดธาตุอาหารฟอสเฟต  ( P2O5 )  ได้น้อยลง  ทำให้การขยายตัวของเซลล์น้อยลง   ทำให้ใบยาสูบมีโครงสร้างทึบ  เมื่อนำใบยาดังกล่าวไปบ่มปากใบจะไม่ค่อยเปิดทำให้การคายน้ำในขณะบ่มช้าใบยาสูบก็จะถูกลวกจนเป็นฝ้าได้  และอีกประการหนึ่ง  ยาสูบที่ปลูกในสภาพที่แห้งแล้งมันจะสร้างสารพวกไขมัน  ( Lipid )  ฉาบอยู่ตามผิวใบยา  ทำให้ใบยากรอบ กระด้าง ขาดความยืดหยุ่น จนมีลักษณะ กระด้าง 
( Strachy )  ผิวพื้นเหมือนเนื้อไม้ ( Woody )  เหนียว  ( Lethery ) มีความแห้งกรอบเพราะเนื้อใบยาทึบมาก ( Slick )
    การเก็บเกี่ยวใบยาสดเพื่อนำมาบ่ม  นับว่ามีความสำคัญมาก  ทั้งนี้เพราะว่า  ใบยาแห้งที่มีคุณภาพดีนั้นนอกเหนือจากการปฏิบัติบนไร่ปลูกอย่างถูกต้องทุกอย่างแล้ว  การเก็บเกี่ยวใบยาสดให้ถูกต้องจะเป็นขั้นตอนสุดท้าย ถ้าขั้นตอนตรงนี้ผิดพลาด  ก็ทำให้การผลิตใบยาให้มีคุณภาพดี ล้มเหลวได้เช่นกัน
 

ข้อพึงระวัง ->

โรคและแมลง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา