ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทอผ้ามัดหมี่

โดย : นางสนิท จันทะวงสิงห์ วันที่ : 2017-03-28-11:26:56

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 109/2 หมู่ที่ 3 ตำบลนาบัว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ โดยเริ่มจากการนำผ้ามาทอเพื่อใช้สอยในครัวเรือน จนสามารถจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้ามัดหมี่

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เริ่มตั้งแต่การปลูกหม่อน  โดยใช้กิ่งต้นหม่อนปักชำ  เมื่อต้นหม่อนอายุประมาณ  ๓  เดือน  ก็สามารถเก็บใบหม่อนเพื่อไปเลี้ยงหนอนไหมได้  ซึ่งการเก็บใบหม่อนจะเก็บจากใบล่างขึ้นไปหาใบที่อยู่ข้างบน  ขึ้นอยู่กับขนาดของหนอนไหม  ถ้าหนอนไหมยังเป็นตัวอ่อนก็ต้องใช้ใบหม่อนใบอ่อน  หนอนไหมจะลอกคราบทั้งหมด  ๔  ครั้ง  แต่ละครั้งจะใช้เวลา  ๑  อาทิตย์

อาทิตย์แรก  ต้องหั่นใบหม่อนเป็นเส้นเล็กๆ  เพื่อเลี้ยงหนอนไหม

อาทิตย์ที่ ๒  เจาะใบหม่อนให้เป็นรู  เพื่อสะดวกต่อการเลี้ยงไหม

อาทิตย์ที่ ๓  ตัวหนอนไหมเริ่มโตขึ้น  สามารถกินใบหม่อนได้โดยไม่ต้องฉีกหรือเจาะให้เป็นรู

อาทิตย์ที่ ๔  หนอนไหมเริ่มไม่กินใบหม่อน  และหดตัวเป็นดักแด้  แล้วตัวหนอนก็จะเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีเหลือง  หนอนไหมจะใช้เวลา  ๑  วันในการทำรังไหม  เมื่อหนอนไหมทำรังแล้ว  ก็เอารังไหมออกไว้ประมาณ  ๒ – ๓  วัน  จึงจะสามารถนำรังไหมไปสาวได้

การสาวไหม ใช้น้ำฝนที่สะอาดในการสาวไหม  โดยให้น้ำร้อนประมาณ  ๗๐-๘๐  องศาเซลเซียส จะทำให้ได้เส้นไหมที่สวย และสม่ำเสมอ  แต่ถ้าน้ำร้อนเกินไป จะทำให้สาวไหมไม่ออก ต้องสาวไหมให้เสร็จภายใน    ๗  วัน ถ้าสาวไหมไม่หมดก็นำไปตากแดด  ประมาณ ๓ ชั่วโมง เพื่อให้ดักแด้ตาย แต่ข้อเสียของการตากแดด คือ ทำให้ไหมสีซีด

การฟอกไหมแย้อมสีนำเส้นไหมที่ได้จากการสาวไหมมาฟอกสี เพื่อให้เส้นไหมมีสีอ่อนลงจางลงเพื่อนำไปย้อมสีต่อไป  การฟอกไหม  จะหยดน้ำยาล้างจานเพื่อเพิ่มความมันเงาของเส้นไหม  และการย้อมสี  ต้องผสมสบู่เทียมเพื่อป้องกันการตกสีของผ้าไหม

การมัดหมี่ เป็นการนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมแล้ว  มาทำลวดลาย  โดยการนำเส้นไหมไปขึงให้ตึง  แล้วใช้เชือกฟางมัดเป็นจุดเล็กๆ ตามลายที่ต้องการและแต้มสีต่างๆ เพื่อเพิ่มลวดลายเมื่อทำลวดลายเสร็จแล้วก็ต้องแก้หมี่โดยการใช้มีดเล็กๆตัดเชือกฟางที่ทำลวดลายออก  แล้วนำหมี่ที่ได้ไปปั่นใส่หลอดเล็กๆ เพื่อที่จะไปทอเป็นผ้าไหมต่อไป

การทอผ้ามัดหมี่  การนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมสีตามที่ต้องการแล้วนำไปต่อกับฟืม (การประกอบเส้นไหมเข้ากับเครื่องมือทอผ้า)  ความยาวแล้วแต่ว่าใครจะกำหนด  แล้วนำไปติดตั้งบนกี่เพื่อทำการทอ

          ตั้งแต่เริ่มต้นจนกลายเป็นผ้าไหม  เป็นการจบกระบวนการผลิต  ใช้เวลาประมาณ  ๑-๒  เดือน ขึ้นอยู่กับความชำนาญในการทอ  และเวลาที่ว่างจากงานประจำ  (ทำการเกษตร) มากน้อยกว่ากันบ้าง  การทอผ้าไหม   ไหมเครือ  (ทางไหมที่จะทอร่วมกับลายมัดหมี่)

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิษณุโลก
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา