ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำนา, ทำไร่

โดย : นายดาวเรือง อุ่นวงค์ วันที่ : 2017-03-15-20:26:44

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 222 หมู่ที่ 7 ตำบล ท่างาม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น และได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม  หาเทคนิคใหม่ๆ จนประสบผลสำเร็จได้

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

           เป็นวิธีการทำนาที่มีการนำเมล็ดข้าวไปเพาะในแปลงที่เตรียมไว้ (แปลงกล้า)ให้งอกเป็นต้นกล้า  แล้วถอน   นำ ต้นกล้าไปปักลงในกระทงนา ที่เตรียมเอาไว้ และมีการดูแลรักษาจนให้ผลผลิตการทำนาดำนิยมให้พื้นที่ที่ มีแรงงานเพียงพอ การปลูกข้าวแบ่งออกได้ 3 วิธี ด้วยกัน ดังนี้

การปลูกข้าวในนาดำ เรียกว่า การปักดำซึ่งวิธีการปลูกแบ่งออกได้เป็น 2 ตอน

 ตอนแรก ได้แก่ การตกกล้าในแปรนาในแปลงนาขนาดเล็ก

 ตอนที่สอง ได้แก่ การถอนต้นกล้าเอาไปปักดำในนาผืนใหญ่

ขั้นตอนและวิธีการปลูกข้าวนาดำ

 การเตรียมดิน

การเตรียมดินสำหรับปลูกข้าวแบบปักดำ ต้องมีการไถดะ การไถแปร และ การคราด

 1.  การไถดะ และไถแปร   คือ การพลิกหน้าดิน ตากดินให้แห้งตลอดจนเป็นการคลุกเคล้า ฟาง วัชพืช  ฯลฯ  ลงไปในดิน เครื่องมือที่ใช้ อาจเป็นรถไถเดิมตามจนถึงรถแทรกเตอร์

  2. การคราดหรือใช้ลูก    คือ   การกำจัดวัชพืช ตลอดจนการทำให้ดินแตกตัว และเป็น เทือกพร้อมที่จะปักดำได้ ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นที่ทำต่อจาก ขั้นที่ 1 และ ขังน้ำไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้มีสภาพดิน ที่ เหมาะสมในการคราดหรือการใช้ลูกทูบในบางพื้นที่อาจมีการใช้โรตารี ปกติการไถและคราดในนาดำมักจะใช้แรงวัว ควาย หรือแทรกเตอร์ขนาด เล็ก ที่เรียกว่า ควายเหล็กหรือไถยนต์เดินตามทั้งนี้เป็นเพราะพื้นที่นาดำนั้นได้มีคันนาแบ่ง กั้นออกเป็นแปลงเล็ก ๆ คันนามีไว้สำหรับกักเก็บน้ำหรือปล่อยน้ำทิ้งจากแปลงนานาดำจึงมีการบังคับน้ำ ในนา ได้บ้างพอสมควร ก่อนที่จะทำการไถจะต้องรอให้ดินมีความชื้นพอที่จะไถได้เสียก่อนปกติจะต้องรอ ให้ฝนตกจนมีน้ำขังในผืนนาหรือไขน้ำเข้าไปในนาเพื่อทำให้ดินเปียก

3. การตกกล้า   หมายถึง การเอาเมล็ดไปหว่านให้งอกและเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นต้นกล้า เพื่อเอาไป     ปักดำ การ เตรียมต้นกล้าให้ได้ต้นที่แข็งแรง เมื่อนำไปปักดำก็จะได้ข้าวที่เจริญเติบโตได้รวดเร็วและมีโอกาสให้ผลผลิตสูง ต้นกล้าที่แข็งแรงดีต้องมีการเจริญเติบโตและความสูงสม่ำเสมอกันทั้งแปลงมี กาบใบสั้น มีรากมากและรากขนาดใหญ่ ไม่มีโรคและแมลงทำลาย

  - การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ที่ใช้ตกกล้าต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธิ์ปราศจาก

 สิ่งเจือปนมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง (ไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์) ปราศจากการทำลาย

  -การแช่และหุ้มเมล็ดพันธุ์ นำเมล็ดข้าวที่ได้เตรียมไว้บรรจุในภาชนะ
          นำไปแช่ในน้ำสะอาด นานประมาณ 12-24 ชั่วโมง จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ขึ้นมาวางบนพื้นที่น้ำไม่ขังและมี    การ ถ่ายเทของอากาศดี นำกระสอบป่านชุบน้ำจนชุ่มมาหุ้มเมล็ดพันธุ์โดยรอบ รดน้ำทุกเช้าและเย็น เพื่อรักษาความชุ่มชื้น หุ้มเมล็ดพันธุ์ไว้นานประมาณ30-48 ชั่วโมง เมล็ดข้าวจะงอกขนาด “ตุ่มตา (มียอดและรากเล็กน้อยโดยรากจะยาวกว่ายอด) พร้อมที่จะนำไปหว่านได้

การตกกล้า การตกกล้ามีหลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและวัตถุประสงค์

1.  การตกกล้าในสภาพเปียก หรือการตกกล้าเทือก

2.  การตกกล้าในสภาพดินแห้ง

3.  การตกกล้าใช้กับเครื่องปักดำข้าว

  การปักดำ

         การปักดำ เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ๒๕-๓๐วันจากการตกกล้าในดินเปียก หรือกตกกล้าในดินแห้ง ก็ จะโตพอที่จะถอนเอาไปปักดำได้ขั้นแรกให้ถอนต้นกล้าขึ้นมาจากแปลงแล้วมัดรวม กัน เป็นมัด ๆ   ถ้าต้นกล้าสูงมากก็ให้ตัดปลายใบทิ้งสำหรับต้นกล้าที่ได้มาจากการตกกล้าในดินเปียกจะต้องสลัด  เอา ดินโคลนที่รากออกเสียด้วยแล้วเอาไปปักดำในพื้นที่นาที่ได้เตรียมไว้ การปักดำจะต้องปักดำ ให้เป็นแถวเป็นแนวและมีระยะห่างระหว่างกอมากพอสมควรโดยทั่วไปแล้วการปักดำ มักใช้ต้นกล้า จำนวน ๓-๔ ต้นต่อกอ

   การดูแลรักษาต้นข้าว

          ในระหว่างการเจริญเติบโตของต้นข้าวตั้งแต่ การปักดำต้นข้าวต้องการน้ำและปุ๋ยสำหรับการเจริญเติบโตในระยะนี้ต้นข้าวอาจ ถูกโรคและแมลงศัตรูข้าวหลายชนิดเข้ามาทำลายต้นข้าว ผู้ปลูกจะต้องหมั่นออกไปตรวจดูต้นข้าวที่ปลูกไว้เสมอ ๆโดยแปลงกล้าและแปลงปักดำจะต้องมีการใส่ปุ๋ยมีน้ำเพียงพอกับความ ต้องการของต้นข้าว และพ่นยาเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูข้าว นอกจากนี้ชาวนาจะต้องหมั่นกำจัดวัชพืช ในแปลงปักดำอีกด้วย เพราะวัชพืชเป็นตัวที่แย่งปุ๋ยไปจากต้นข้าว

 

 การเก็บเกี่ยวข้าว

         เมื่อ ดอกข้าวได้บานและมีการผสมเกสรแล้วหนึ่งสัปดาห์ก็จะเริ่มเป็นแป้งเหลวสีขาว สัปดาห์ที่สอง แป้งเหลวนั้นก็จะแห้งกลายเป็นแป้งค่อนข้างแข็งสัปดาห์ที่สามแป้งก็จะแข็งตัว มากยิ่งขึ้นเป็นรูปร่างของ เมล็ดข้าวกล้อง สัปดาห์ที่สี่นับจากวันที่ผสมเกสรจึงเป็นที่เชื่อถือได้ว่าเมล็ดข้าวแก่ พร้อมเก็บเกี่ยวออกดอกแล้วประมาณ 28-30 วัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะใช้เคียวสำหรับเกี่ยวข้าวทีละหลายๆรวงเคียวที่ใช้เกี่ยวข้าวมีอยู่ ๒ ชนิด ได้แก่

1.  เคียวนาสวนเมือง   เคียวนาสวนเป็นเคียววงกว้างใช้สำหรับเกี่ยวข้าวนาสวนซึ่งได้ปลูกไว้แบบปักดำ    
2.  เคียวนาเมือง  เป็น เคียววงแคบและมีด้ามยาวกว่าเคียวนาสวนเคียวนาเมืองใช้เกี่ยวข้าวนาเมืองซึ่ง ได้ปลูกไว้แบบหว่านข้าวที่เกี่ยวแล้วจะกองทิ้งไว้บนพื้นที่นาเป็นรูปต่าง ๆ กัน เวลา ๕-๗ วัน แล้วจึงขนมาที่ ลานสำหรับนวดข้าว ที่นวดแล้วจะถูกขนย้ายไปเก็บไว้ในยุ้งฉางหรือส่งไปขายที่โรงสีทันทีก็ได้

 การนวดข้าว

        การนวดข้าว หมายถึง การเอาเมล็ดข้าวออกจากรวงขั้นแรกจะต้องขนข้าวที่เกี่ยวจากนา ไปกองไว้บนลานสำหรับนวด การกองข้าวสำหรับนวดก็มีหลายวิธี แต่หลักสำคัญมีอยู่ว่าการกองจะต้องเป็นระเบียบถ้ากองไม่เป็นระเบียบมัด ข้าวจะอยู่สูง ๆ ต่ำ ๆ ทำให้เมล็ดข้าวได้รับความเสียหายและ คุณภาพต่ำปกติชาวนามักจะนวดข้าวหลังจากที่ได้ตากข้าวให้แห้งเป็นเวลา ๕-๗ วัน การนวดข้าวก็ใช้แรงสัตว์ เช่นวัว ควายขึ้นไปเหยียบย่ำเพื่อขยี้ให้เมล็ดหลุดออกจากรวงข้าวเรียกว่า ฟางข้าวที่กล่าวนี้เป็นวิธีหนึ่งของการนวดข้าวซึ่งที่จริงแล้วการนวดข้าวมี หลายวิธี เช่น การนวดแบบฟาดกำข้าวการนวดแบบใช้คำย่ำ การนวดแบบใช้ควายย่ำการนวดโดยใช้เครื่องทุ่นแรงย่ำ

การตากข้าว

       เพื่อรักษาคุณภาพเมล็ดข้าวให้ได้มาตรฐานอยู่เป็นเวลานานๆหลังจากนวดและทำ ความสะอาดเมล็ดแล้วจึง จำเป็นต้องเอาข้าวเปลือกไปตากอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะเอาไปเก็บไว้ในยุ้งฉาง การตากข้าวในระยะนี้ควรตาก บนลานที่สามารถแผ่กระจายเมล็ดข้าวให้ได้รับแสงแดดโดยทั่วถึงกัน และควรตากไว้นานประมาณ ๓-๔  แดด เพื่อลดความชื้นในเมล็ดโดยให้เมล็ดข้าวผ่านอากาศร้อน

การเก็บรักษาข้าว 

       หลังจากชาวนาได้ตากเมล็ดข้าวจนแห้งและมีความชื้นในเมล็ดแล้ว นั้นชาวนาก็จะเก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง เพื่อ ไว้บริโภคและแบ่งขาย เมื่อข้าวมีราคาสูงและอีกส่วนหนึ่งชาวนาจะแบ่งไว้ทำพันธุ์ ฉะนั้นข้าวพวกนี้จะต้องเก็บไว้เป็นอย่างดีโดยรักษาให้ข้าวนั้นมีคุณภาพได้ มาตรฐานอยู่ตลอดเวลาและไม่สูญเสียความงอกข้าวพวกนี้ ควรเก็บไว้ในยุ้งฉางที่ดี ซึ่งทำด้วยไม้ยกพื้นสูงอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อจะได้ระบายความชื้นและความร้อนออกไปจากยุ้งฉาง นอกจากนี้หลังคาของฉางจะต้องไม่รั่วและสามารถกันน้ำฝนไม่ให้หยดลงไปในฉางได้ ก่อนเอาข้าวขึ้นไปเก็บไว้ในยุ้งฉางจำเป็นต้องทำความสะอาดฉางเสียก่อนโดยปัด กวาดแล้วพ่นด้วยยาฆ่าแมลง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิษณุโลก
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา