ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เลี้ยงสัตว์

โดย : นายนพรัตน์ น้อยอินทร์ วันที่ : 2017-04-02-16:07:20

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 71 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านดง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หลังจากกลับจากทำงานต่างประเทศ ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง มาใช้ในการดำเนินชีวิต และตนเองมีความสนใจการเลี้ยงสัตว์และมีความรู้ด้านเกษตรกรรมเป็นทุนเดิม จึงได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง และปรึกษากับหน่วยงานราชการในการขอความรู้เพิ่มเติมในการเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย จนสามารทำเป็นอาชีพได้

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต และสร้างรายได้ ให้กับครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ฟางข้าว  หญ้า

อุปกรณ์ ->

คอก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.   เข้ารับการอบรมการเลี้ยงกระบือ กับสำนักงานปศุสัตว์ และทดลองเลี้ยงกระบือ ครั้งแรก ๓ ตัว ทำให้ทราบข้อได้เปรียบของการเลี้ยงกระบือ คือ

1.1 เลี้ยงง่าย ลงทุนต่ำ ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง   ทนทานต่อสภาพแวดล้อม และใช้ประโยชน์จากอาหารหยาบที่มีคุณภาพต่ำ

1.2 เหมาะกับระบบการเกษตรแบบพอเพียง หรือเกษตรยั่งยืน  โดยเลี้ยงกระบือไว้ใช้แรงงาน และผลิตลูกเพื่อเพิ่มรายได้ 

1.3 กระบือที่มีการคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม และมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรค จะผลิตลูกที่มีคุณภาพดีกว่า

1.4 พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง เหมาะกับการเลี้ยงกระบือในระยะสั้น

สำหรับการเลี้ยงจะไม่ยุ่งยาก แต่ต้องทำเป็นเวลา เพื่อที่ควายจะได้รู้เวลาของเขาเองโดยอัตโนมัติ โดยปล่อยในช่วงเช้าประมาณ 06.00 น. จากนั้น 11.00 น. ควาย ก็จะเดินกลับเข้าร่มเพื่อนอนน้ำ จากนั้นจะเตรียมฟางข้าว หญ้าสด เสริมให้กิน จนถึงช่วงเวลา 16.00 น. แดดจะเริ่มอ่อนจะปล่อยอีกที เพื่อให้ควายได้ออกกำลังกายเดินแทะเล็มหญ้าในทุ่งหญ้า และจะกลับเข้าคอกอีกทีตอน 18.00-18.30 น. อาหารที่ใช้ เลี้ยงควาย  ในช่วงเช้าจะปล่อยให้ควายเดินหากินตามธรรมชาติ บริเวณทุ่งหญ้าหรือที่นาที่เก็บเกี่ยวข้าวหมดแล้ว เนื่องจากควายกินมากกว่าโค 3 – 4 เท่า จึงทำให้หญ้าโตไม่ทัน จำเป็นต้องสั่งฟางข้าวก้อนละ 25 บาท ใส่ไว้ในรางอาหาร

ข้อพึงระวัง ->

กระบือที่มีการคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม และมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรค จะผลิตลูกที่มีคุณภาพดีกว่า

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิษณุโลก
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา