ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ผลิต/แปรรูปข้าวไรซ์เบอรี่

โดย : นายบุญธรรม เลิกจิ๋ว วันที่ : 2017-03-28-15:35:16

ที่อยู่ : 14 ม.12 ต.วัดพริก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เมื่อก่อนเกษตรกรได้ทำแบบนาหว่านน้ำตม หว่านไร่ละ 3 ถัง ต่อไร่ ในการทำนาของเกษตรกรต้องพึ่งพาสารเคมีในการทำนา จนเป็นสาเหตุให้ต้นทุนในการทำนาสูง สภาพดินเสื่อมโทรมทำให้ต้นข้าว อ่อนแอไม่ต้านโรคและแมลง  เกษตรกรจึงได้มีแนวคิดในการจัดการผลิต ให้สอดคล้องกับการสืบสานตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จึงคิดผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบอินทรีย์ ได้น้อมนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง      มาใช้ในการทำนา เกษตรกรได้ศึกษาการดูแลแบบอินทรีย์ข้าวตั้งแต่การเพาะปลูก  การบำรุงรักษา การกำจัดศัตรูพืชได้มีการศึกษาทดลองมาใช้กับข้าวไรซ์เบอร์รี่ปลอดสารพิษ  ในการเพาะปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่โดยการหยดข้าวประหยัดต่อพันธ์ใช้ 5 - 7 ก.ก ต่อไร่ และได้นำปุ๋ยชีวภาพแบบหมักขึ้นเอง เพื่อลดต้นทุนในการผลิต

โดยในระยะ 5 – 6 ปีที่ผ่านมาผู้บริโภค ในท้องถิ่นตื่นตัวในเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่จะสนับสนุนให้ชุมชนให้แปรรูป หรือกึ่งสำเร็จรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร การศึกษาจากคำอภิบายทางวิชาการเกี่ยวกับคุณประโยชน์ต่อสุขภาพของข้าวไรซ์เบอร์รี่       ที่พัฒนาจากพันธ์ข้าว หอมนิล และข้าวหอมมะลิ  105 โดยมหาวิลัยเกษตรศาสตร์ เกษตรกรตำบลวัดพริก จำนวน 6 คนได้ศึกษาดูงานทั้งด้านการปลูกการผลิตจนเข้าใจ  จึงได้รวมกลุ่มเพื่อปลูกครั้งแรกจำนวน 22 ไร่ โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ  และการป้องกัน ศัตรูพืชจากการใช้น้ำส้มควันไม้ และวัสดุพื้นบ้านเป็นส่วนผสม ได้ผลผลิตในรอบแรกได้ ประมาณ 10 ตัน  ได้นำมาทดลองแปรรูป โดยการจ้างสี และการจ้างบรรจุถุงแบบเรียบง่ายจำนวนไม่มาก ซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในเรื่องความหมอนุ่มและไม่มีความยุ่งยากในการหุง ( ไม่ต้องมีการแช่น้ำก่อน)

ด้วยความเชื่อถือและไว้วางใจจากผู้บริโภค สมาชิกได้ประชุมและมีการลงมติในการจัดตั้งกลุ่ม ภายใต้ชื่อกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรตำบลวัดพริก ( จัดตั้งเมื่อวันที่ 12 มิถุนายม 2557  ซึ่งได้เปิดรับสมัครสมาชิกในชุมชน ตำบลวัดพริก ในจำนวนหุ้นละ 500 บาท ถือได้ไม่เกินคนละ 40 หุ้น เพื่อระดมทุนในการจัดชื้อโรงสีข้าวกล้อง เครื่องแพ็กกลิ้ง สูญอากาศ และโรงเรือนสำหรับเก็บข้าว มีสมาชิกในกลุ่มจำนวน 58 คนจำนวนเงินทุน 550,000 บาท ได้นำเงินหุ้นมาจัดตั้งโรงสี และอุปกรณ์ในการบรรจุผลิตภัณฑ์ และเริ่ม        เพื่อดำเนินการผลิตและจัดส่งในเดือน สิงหาคม 2557 ภายใต้แบรน “ข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่ปลอดสารพิษบ้านเสาหิน”       

การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรตำบลวัดพริก มีวัตถุประสงค์ดังนี้

-          เพื่อผลิตและแปรรูปอาหารปลอดสารพิษ ในรูปข้าวกล้องบรรจุสุญญากาศ

-          เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรได้เรียนรู้การดำเนินธุรกิจอย่างครบวงจร

-          เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และเพิ่มคุณภาพชีวิตของกลุ่มเกษตรกร

ในเดือนมิถุนายน 2557 สมาชิกกลุ่มทำแปลงเพาะพันธ์ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ซึ่งเป็นแปลงเอกเทศ  เพื่อป้องกันการปนเปื้อนทางเกษตร และเพื่อป้องกันการกลายพันธ์ ของข้าวไรซ์เบอร์รี่ นอกเหนือจากการทำแปลงเพาะพันธ์ข้าว แล้วสมาชิกได้รวมตัวกันทำปุ๋ยชีวภาพ และน้ำหมักชีวภาพ เพื่อนำมาใช้ในการบำรุงรักษา และดูแล ข้าวไรซ์เบอร์รี่ให้มีคุณภาพและปลอดสารพิษ  ภายในช่วงเดือน มิถุนายน – เดือนธันวาคม ทางกลุ่มข้าวผลิตข้าวได้ 42  ตัน

จากนั้นทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้คิกที่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์จากข้าวไรช์เบอร์รี่โดยการทำแป้งจากข้าวไรช์เบอร์รี่ โดยมีร้านทำขนมมารับไปทำขนมจากข้าวไรช์เบอร์รี่ และได้มีหน่วยงานต่างๆมาศึกษาดูงานทางการเกษตร มาดูขั้นตอนการผลิตข้าว

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเสาหิน  ชื่อกลุ่ม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกร ตำบลวัดพริก ที่อยู่

เลขที่ 2 /1 หมู่ที่ 12 ตำบลวัดพริก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ขั้นตอนการผลิต และวิธีการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่

ข้าวไรซ์เบอรี่ เป็นข้าวที่ผสมระหว่างข้าวหอมนิลกับข้าวหอมมะลิ ซึ่งข้าวหอมนิลเป็นข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการแต่มีความแข็งในตัว เมื่อผสมกับข้าวหอมมะลิ จึงกลายมาเป็นข้าวไรซ์เบอรี่ ที่มีความหอมนุ่มเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการอาหารสูงทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับช่วงอากาศและฤดูกาล รวมถึงกระบวนการเพาะปลูกอย่างมีขั้นตอนจะช่วยเพิ่มคุณค่าของเมล็ดข้าวอย่างทวีคูณ และผลผลิตของกลุ่มข้าวไรซ์เบอร์รี่ได้รับการควบคุมและตรวจคุณภาพจากโรงพยาบาลพุทธชินราช  และได้การยอมรับให้เป็นผู้ผลิตข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่ให้กับโรงพยาบาล  เป็นการส่งผลิตภัณฑ์หลักของกลุ่มข้าวไรซ์เบอร์รี่  และได้มีตลาดหลักในกรุงเทพ ส่วนใหญ่เป็นตลาด ขององค์กร ( 4 บริษัท  และ 3 ธนาคาร ) มีขายปลีกบ้างแต่ไม่มากด้วยคุณภาพข้าวที่ดี  เป็นที่ยอมรับอย่างรวดเร็ว

ขั้นตอนการจัดเตรียมพื้นที่เพาะปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่

การเตรียมดินการไถดะ และไถแปรคือ การพลิกหน้าดิน ตากดินให้แห้งตลอดจนเป็นการคลุกเคล้าฟาง วัชพืช ฯลฯ ลงไปในดิน เครื่องมือที่ใช้ อาจเป็นรถไถเดินตามจนถึง รถแทรกเตอร์

การคราดหรือใช้ลูกทุบคือการกำจัดวัชพืช ตลอดจนการทำให้ดินแตกตัวและเป็นเทือกพร้อมที่ หยดข้าวไรซ์เบอร์รี่ได้ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ทำต่อจากขั้นตอนที่ 1 และขังน้ำไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้มีสภาพดินที่เหมาะสมในการคราดหรือการใช้ลูกทุบในบางพื้นที่อาจมีการใช้ โรตารี

การหมักฟางข้าว และกำจัดวัชพืชในแปลงนา
- ใช้ระยะเวลาการเตรียมดิน 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 7 วัน มีขั้นตอน ดังนี้
- ใช้จุลินทรีย์ประมาณ 5 ลิตร/ไร่ ปล่อยลงแปลงนา ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงแล้วย่ำ ให้ทั่ว 1 – 2 รอบ

หมักไว้ 7 วัน เพื่อล่อให้หญ้าขึ้น
          - ระบายน้ำเข้าพร้อมจุลินทรีย์ ให้ท่วมพื้นนาแล้วย่ำให้หญ้าจมดิน ระบายน้ำเข้า ให้ท่วมหญ้าหมัก     ไว้ 7 วัน

          - หว่านสมุนไพรกำจัดหอยเชอรี่
- ในการย่ำทำเทือก ให้ระบายน้ำออกจนแห้ง แล้ว หยดเมล็ดพันธุ์ข้าว ทิ้งไว้ 7 วัน
- ระบายน้ำเข้าพร้อมจุลินทรีย์ ให้ระดับน้ำประมาณครึ่งของต้นข้าว
- รักษาระดับน้ำอย่าให้แห้ง เพื่อจุลินทรีย์จะได้ย่อยสลายวัชพืชให้เน่าเปื่อย               

การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว
            -ใช้เมล็ดพันธุ์ 5- 7 กิโลกรัม/ไร่ ในการหยดข้าวไรซ์เบอร์รี่
            -แช่เมล็ดพันธุ์ไว้  1  วัน

การดูแลรักษาต้นข้าว ดังนี้
            - ข้าวอายุ 10 วัน ระบายน้ำ+จุลินทรีย์ + น้ำส้มคว้นไม้ อัตรา  5-10 ซี ซี ต่อลิตร/ไร่ เข้าแปลงนา
           - ข้าวอายุ 15 วัน ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากนั้นให้ตรวจข้าวว่าขึ้นสม่ำเสมอหรือไม่ ถ้าข้าวเสีย หรือข้าวขึ้นไม่สม่ำเสมอ ให้ทำการซ่อมกล้า โดยใช้เครื่องมือซ่อมกล้าข้าว เพื่อลดการช้ำของต้นข้าว และให้ต้นข้าวที่ขึ้นสม่ำเสมอกันทั่วแปลงนา
            - ข้าวอายุ 35 วัน ใส่จุลินทรีย์+น้ำส้มคว้นไม้ อัตรา  5-10 ซี ซี ต่อลิตร   อัตราส่วน 5 ลิตร/ไร่ มีการทำร่องเดิน เพื่อไม่ให้เหยียบต้นกล้าข้าว
            - ฉีดพ่นขับไล่แมลง โดยใช้สมุนไพร (น้ำสะเดาหมัก,น้ำส้มควันไม้) ถ้ามีแตนเบียน สามารถปล่อยแตนเบียนได้ เพื่อรักษาระบบนิเวศในนาข้าว

วิธีการทำสะเดาหมัก
            1. สะเดา 5 กิโลกรัม
            2. เหล้าขาว 4 ขวด
            3. น้ำ 5 ลิตร   หมักไว้ 3 วัน คั้นเอาแต่น้ำ อัตราการใช้ในนาข้าว 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร

การผลิตฮอร์โมนไข่เพิ่มผลผลิตข้าว

วัสดุ/อุปกรณ์ สูตรปกติ

ไข่ไก่เบอร์ 1 จำนวน 100 ฟอง (5 กก.)  , กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง จำนวน 3 กก.
ยาคูลล์ จำนวน 10 ขวด, ลูกแป้งข้าวหมาก จำนวน 5 ลูก, ถังพลาสติกมีฝาปิด ขนาด 10 ลิตร จำนวน 1 ใบ

วัสดุ/อุปกรณ์ สูตรเร่งรัด

ไข่ไก่เบอร์ 1 จำนวน 3 ฟอง, กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ,

ยาคูลล์ จำนวน 1 ขวด, ลูกแป้งข้าวหมาก จำนวน 1/2 ลูก  ขวดพลาสติกขนาด 600 มล. จำนวน 1 ขวด

ขั้นตอนการทำ

 นำไข่ไก่มาบดทั้งเปลือกให้ละเอียด แล้วนำมาใส่ถังพลาสติกนำส่วนผสมที่เหลือมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วคนทุกวัน ๆ ละ 1 ครั้ง หมักทิ้งไว้ 5-7 วัน

การนำไปใช้

น้ำฮอร์โมนไข่ในอัตรา 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นข้าวตั้งแต่อายุ 60 วันขึ้นไป จะทำให้ต้นข้าวมีความอุดมสมบูรณ์ มีการผสมเกสรที่ดี ได้รวงข้าวที่มีขนาดใหญ่ เมล็ดสมบูรณ์ โดยทำการฉีดพ่นทุก ๆ วัน โดยเฉพาะในช่วงที่ข้าวเริ่มตั้งท้อง
** ควรฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น

การเก็บรักษา ควรเก็บรักษาไว้ในถังพลาสติกมีฝาปิด และวางไว้ในที่ร่ม ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้นาน 5-6 เดือน

วิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
            1. ขี้วัว 2,500 กิโลกรัม
            2. รำแป้ง 120 กิโลกรัม
            3. แกลบดิบ 500 กิโลกรัม
            4. ขี้เลื่อย (เหลือจากเพาะเห็ด) 300 กิโลกรัม


            5. หัวเชื้อจุลินทรีย์ 5 ลิตร
            6. ฮอร์โมนสูตรรกหมู 5 ลิตร
           - เมื่อข้าวอายุ 130 วัน เก็บเกี่ยว
หมายเหตุ ปัจจุบันนี้ ได้มีการลดขั้นตอนในการฉีดสมุนไพรและฮอร์โมนลง โดยฉีดพ่นในช่วงข้าวอายุ 50และ 60 วันเท่านั้น เพราะต้นข้าวมีความแข็งแรง โดยสังเกตจากต้นข้าวกอใหญ่ มีความตั้งตรงมีสีเขียวตามธรรมชาติ ถ้าข้าวยังไม่แข็งแรงสามารถฉีดสมุนไพรและฮอร์โมน ในช่วง 75 วันเพิ่มเติมได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิษณุโลก
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา