ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน

โดย : นายสุจินต์ เหล่าทอง วันที่ : 2017-05-18-14:52:46

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 69 หมู่ที่ 12 ตำบลโคกทราย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

            เกิดจากการร่วมเวทีประชาคมในการจัดทำแผนการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ในด้านส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน เพื่อเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้เสริมให้กับคนในชุมชน โดยนำโครงการที่คนในชุมชนต้องการมาบรรจุในแผนพัฒนาหมู่บ้าน และร่วมกันผลักดันให้แผนได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินงาน โครงการเลี้ยงปลาดุกเพื่อแปรรูปได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชน ในการจัดเวทีประชาคม อบรมให้ความรู้ และการสนับสนุนวัสดุสาธิตการประกอบอาชีพ

วัตถุประสงค์ ->

- เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริม เป็นการรวมกลุ่มเพื่อสร้างรายได้ ขยายโอกาสให้กับคนในชุมชนได้มีรายได้เพิ่มขึ้น และพัฒนาผลผลิต ให้ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ลูกปลาดุก
2. อาหารปลาดุก

อุปกรณ์ ->

1. ตาข่ายเขียวทำกระชัง
2. เชือกไนลอนขนาด 5 มิลลิเมตร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน
             
ในบรรดาปลาดุกทั้ง 3 ชนิด (ปลาดุกอุย ปลาดุกด้าน และปลาดุกยักษ์) และบิ๊กอุยนั้น ปลาดุกอุย นับว่าเป็นชนิดที่เลี้ยงยากที่สุด แต่ถ้านับตั้งแต่ช่วงอนุบาล ปลาดุกด้านจะมีปัญหามากที่สุด ส่วนปลาดุกยักษ์ และบิ๊กอุยนั้นเลี้ยงง่ายที่สุด วิธีการเลี้ยงโดยหลักการเหมือนกัน แต่ต่างกันในรายละเอียดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยา
             ปลาดุกอาจเลี้ยงในบ่อดิน บ่อคอนกรีต ร่องสวนนา หรือแม้แต่ในกระชัง แต่ที่เลี้ยงได้ผลดีที่สุด คือบ่อดิน ซึ่งกว่า 90% ของผลผลิตปลาดุกได้มาจากการเลี้ยงในบ่อดินทั้งสิ้น

บ่อดิน
           
ควรมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพี่อความสะดวกในการตีอวนจับปลา หรือการจัดโดยการระบายน้ำออกหมด ขนาดของบ่อไม่ควรใหญ่เกินไป เพราะจะดูแลยาก การให้อาหารไม่ทั่วถึง เมื่อเกิดปัญหาโรค-ปรสิค การลงยาจะสิ้นเปลืองมาก เมื่อน้ำเสียการถ่ายน้ำไม่สามารถทำได้ทันที ต้องใช้เวลานาน แต่ถ้าเล็กเกินไปก็จะเสียพื้นที่คันบ่อมากขึ้นโดยไม่จำเป็น ดังนั้นขนาดของบ่อที่เหมาะสมก็คือ 800-1,600 ตารางเมตร (0.5-1 ไร่)
             อย่างไรก็ตามควรจะพิจารณาสภาพพื้นที่เป็นหลัก ว่าใช้บ่อขนาดใดจึงจะใช้เนื้อที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการขุดบ่อ ควรขูดผิวดินประมาณ 15-20 เซนติเมตร ควรราดน้ำและอัดดินให้แน่นเพื่อทำให้คันบ่อแข็งแรงขึ้น ระดับน้ำในบ่อควรอยู่ในระดับ80-100 ซ.ม. ดินบ่อควรสูงกว่าระดับน้ำอย่างน้อย 50 ซ.ม. เพื่อป้องกันปลาหนี เพื่อป้องกันการพังทลายของดินบ่อ คันบ่อต้องมีส่วนลาดเอียงอย่างน้อย 1 : 2 (ด้านใน) ด้านนอกควรลาดเอียง  1: 1 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของดินด้วย ถ้าไม่ใช่ดินเหนียว ความลาดเอียงของดินบ่อควรมากกว่านี้ ความกว้างของสันดินบ่อกว้างอย่างน้อย 1.5 เมตร แต่ถ้ากว้างกว่านี้จะสะดวกต่อการทำงานมากขึ้น

การเตรียมบ่อ
           
การเลี้ยงในบ่อดินจำเป็นต้องมีการเตรียมบ่อที่ดี มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหากันบ่อเน่า ทำให้น้ำในบ่อเสีย และทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพปลาในที่สุด บ่อปลาดุกที่เลี้ยงมานานหลายๆ ปี โดยไม่มีการดูแลบ่อจะพบปัญหาปลาเป็นโรคบ่อยๆ ยากต่อการแก้ไข การเตรียมบ่อใหม่และบ่อเก่าที่เคยเลี้ยงปลามาก่อน มีขั้นตอนการเตรียมแตกต่างกันเล็กน้อยดังนี้

บ่อขุดใหม่
            
บ่อขุดใหม่ไม่มีปัญหาเรื่องเลน และศัตรูในบ่อ แต่จะมีปัญหาเรื่องดินเป็นกรดให้โรยปูนขาวตามพี-เอชของดิน (อย่างน้อย 30-50 กิโลกรัมต่อบ่อ 800 ตารางเมตร) ควรจะคลุกปูนให้ผสมกับหน้าดินลึกประมาณ 5 เซนติเมตร จากนั้นสูบน้ำเข้าบ่อจนได้ระดับน้ำ 30 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 5-7 วัน แล้วจึงวัดพี-เอช ค่าที่พอเหมาะควรอยู่ระหว่าง 7-8.5 ถ้าจะปล่อยปลาตุ้ม ก็ควรใส่ปุ๋ยเช่นเดียวกับที่ทำในบ่ออนุบาล ถ้าจะปล่อยปลานิ้ว เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่นิยมใส่ปุ๋ย แต่ถ้าจะใส่เพื่อเตรียมไรแดงให้ลูกปลาก็จะช่วยให้อัตรารอดสูงขึ้น โดยทำวิธีการเดียวกับการเตรียมบ่ออนุบาล

บ่อเก่า
            
เตรียมบ่อเช่นเดียวกับการเตรียมบ่ออนุบาล ดังนี้

- ลดน้ำแล้วตีอวนจับปลาเก่าออกให้หมด
- สูบน้ำออกเหลือเล็กน้อย
- ลงไซยาไนด์ 3-5 กรัม/ลูกบาศก์เมตร เก็บซากสัตว์ขึ้นให้หมด
- ถ้าเลนหนาควรลอกเลน
- โรยปูนขาว 30-50 กิโลกรัม/800 ตารางเมตร ทิ้งไว้ 2-3 วัน จนดินก้นบ่อแห้งหมาดๆ
- สูบน้ำเข้าจนได้ระดับน้ำ 30 เซนติเมตร
- ถ้าจะใส่ปุ๋ยก็ทำเช่นเดียวกับการเตรียมบ่ออนุบาล

ข้อพึงระวัง ->

             - เมื่อเลี้ยงไปได้ระยะหนึ่งน้ำในบ่อจะมีคุณภาพเสื่อมลง เนื่องจากสิ่งขับถ่ายออกมาจากตัวปลาและเศษอาหารที่เหลือตกค้างในบ่อ จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนน้ำโดยระบายน้ำออกประมาณ 3/4 ของน้ำในบ่อ และเติมน้ำใหม่เข้ามาแทนที่ จำนวนครั้งของการถ่ายน้ำออกจากบ่อขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่ให้ หากกำหนดปริมาณอาหารให้เหมาะสมให้ปลากินได้หมด การถ่ายเทน้ำจะมีจำนวนน้อยครั้ง ทั้งนี้ต้องสังเกตการกินอาหารของปลาประกอบไปด้วย หากปลากินอาหารน้อยลงจากปกติหรือมีอาหารเหลือลอยอยู่ในบ่อมาก ก็ถึงเวลาที่จะต้องถ่ายเทน้ำเพื่อช่วยปลาไม่ให้ตาย เนื่องจากน้ำเสีย หรือในบ่อมีกลิ่นมาก สีของน้ำเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นคล้ายน้ำข้าวต้องรีบเปลี่ยนน้ำทันที หากจำเป็นไม่อาจถ่ายเทน้ำได้ในช่วงนี้ ต้องใช้เกลือแกงในอัตรา 3-4 กิโลกรัมต่อน้ำ 10 ลูกบาศก์เมตร สาดไปทั่วบ่อหลังจากนั้น 3-4 วันจึงเปลี่ยนน้ำใหม่ โดยปกติแล้วการถ่ายเทน้ำในบ่อ เมื่อปลายังมีขนาดเล็กจะมีการถ่ายเทน้อยครั้ง และเมื่อปลาโตขึ้นจำนวนครั้งการถ่ายน้ำในแต่ละเดือนจะมีมากขึ้นตามไปด้วย

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพัทลุง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา