ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

โดย : นายครื้น พ่านเผือก วันที่ : 2017-05-16-12:05:23

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 62 หมู่ที่ 5 ตำบลชัยบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

             ในการผลิตพืชผักหรือข้าวอินทรีย์ที่เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ประสงค์จะมีความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีในการเพาะปลูกทุกขั้นตอน เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีความห่วงใยในสุขภาพของตนนั้นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการผลิตพืชผักหรือข้าวอินทรีย์คือการผลิตและใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ แต่เนื่องจาก              การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีปกติที่ปฏิบัติกันมา ต้องมีการพลิกกลับกองเพื่อนำออกซิเจนให้กับจุลินทรีย์ไปใช้ในกิจกรรมการย่อยสลายทางชีวภาพ ซึ่งการพลิกกลับกองต้องใช้แรงงานและสิ้นเปลืองเวลา ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่สนใจที่จะผลิตพืชผักและข้าวอินทรีย์มากเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่พืชผักและข้าวอินทรีย์เป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากของผู้บริโภคทั้งในประเทศและเพื่อการส่งออก

วัตถุประสงค์ ->

- เพื่อลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เศษพืช (ฟางข้าว หรือเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หรือผักตบชวา)
2. มูลสัตว์ (วัว/ไก่)

อุปกรณ์ ->

- ไม้สำหรับแทงกองปุ๋ย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. นำฟางข้าวหรือแกลบ 4 ส่วน วางเป็นชั้นบางๆ สูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร ฐานกว้าง 2.5 เมตร โดยไม่ต้องเหยียบ โปรยทับด้วยมูลสัตว์ 1 ส่วน แล้วรดน้ำ (ตัวอย่างเช่น วางฟาง 16 เข่ง หนา 10 ซม. โรยทับด้วยมูลสัตว์ 4 เข่ง เป็นต้น) ทำเช่นนี้ 15-17 ชั้น รดน้ำแต่ละชั้นให้มีความชื้นขึ้นกองเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีความสูง 1.50 เมตร กองปุ๋ยจะมีความยาวเท่าไรก็ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณเศษพืชและมูลสัตว์ ความสำคัญของการที่ต้องทำเป็นชั้นบางๆ 15-17 ชั้นก็เพื่อให้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในมูลสัตว์ได้ใช้ทั้งธาตุคาร์บอนที่มีอยู่ในเศษพืชและธาตุไนโตรเจนที่มีในมูลสัตว์ในการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์ ซึ่งจะทำให้การย่อยสลายวัตถุดิบเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
2. รักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอตลอดเวลา (มีค่าประมาณร้อยละ 60–70) โดยมี 2 ขั้นตอนดังนี้
             1) รดน้ำภายนอกกองปุ๋ยวันละครั้ง โดยไม่ให้มีน้ำไหลนองออกมาจากกองปุ๋ยมากเกินไป
             2) เมื่อครบวันที่ 10 ใช้ไม้แทงกองปุ๋ยให้เป็นรูลึกถึงข้างล่างแล้วกรอกน้ำลงไป ระยะห่างของรูประมาณ 40 เซนติเมตร ทำขั้นตอนที่สองนี้ 5 ครั้ง ระยะเวลาห่างกัน 10 วัน เมื่อเติมน้ำเสร็จแล้วให้ปิดรู เพื่อไม่ให้สูญเสียความร้อนภายในกองปุ๋ย ขั้นตอนนี้แม้ว่าอยู่ในช่วงของฤดูฝนก็ยังต้องทำเพราะน้ำฝนไม่สามารถไหลซึมเข้าไปในกองปุ๋ยได้ จากข้อดีที่น้ำฝนไม่สามารถชะล้างเข้าไปในกองปุ๋ยได้ จึงสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีนี้ในฤดูฝนได้ด้วย
3. เมื่อกองปุ๋ยมีอายุครบ 60 วัน ก็หยุดให้ความชื้น กองปุ๋ยจะมีความสูงเหลือเพียง 1 เมตร แล้วทำปุ๋ยอินทรีย์ให้แห้งเพื่อให้จุลินทรีย์สงบตัวและไม่ให้เป็นอันตรายต่อรากพืช วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ให้แห้งอาจทำโดยทิ้งไว้ในกองเฉยๆ ประมาณ 1 เดือน หรืออาจแผ่กระจายให้มีความหนาประมาณ 20–30 ซม. ซึ่งจะแห้งภายในเวลา 3–4 วัน สำหรับผู้ที่ต้องการจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ก็อาจนำปุ๋ยอินทรีย์ที่แห้งแล้วไปตีป่นให้มีขนาดเล็กสม่ำเสมอ ซึ่งจะมีราคาประมาณกิโลกรัมละ 5-7 บาท สามารถเก็บได้นานหลายปี

ข้อพึงระวัง ->

       - ต้องรักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอตลอดเวลาทั้งภายในและภายนอกกองปุ๋ยด้วยวิธีการ 2 ขั้นตอนข้างต้น บริเวณใดที่แห้งเกินไปหรือแฉะเกินไปจุลินทรีย์จะไม่สามารถย่อยสลายได้ ทำให้วัสดุไม่ย่อยสลาย กระบวนการอาจใช้เวลานานถึง 6 เดือนถึง 1 ปีก็ได้

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพัทลุง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา