ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงปลานิลในกระชัง

โดย : นายชัยรัตน์ หนูมาก วันที่ : 2017-05-08-09:31:50

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ หมู่ที่ 12 ตำบลปันแต

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

             เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้แต่ละครอบครัวมีรายจ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีวิตสูงขึ้น เนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่ในการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป เช่น ลูกทุกคนต้องได้เรียนหนังสือสูงๆ ต้องมีเครื่องอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยใช้ในครัวเรือน หรือครอบครัวมีรายได้หลักอย่างเดียว ทำให้รายจ่ายมากกว่ารายได้ ทางชุมชนเล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจึงร่วมกันหาทางออกเพื่อให้คนในชุมชนมีความอยู่ดี กินดี มีกิน มีใช้ แบบพอเพียงและยั่งยืน ประกอบกับสภาพแวดล้อมของชุมชนมีความเหมาะสมที่จะประกอบอาชีพเลี้ยงปลา โดยมีปราชญ์หรือผู้รู้ภายในชุมชนเป็นแบบอย่าง การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นรูปแบบการเลี้ยงที่ให้ผลผลิตสูง ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเชิงเศรษฐศาสตร์ และการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำทั่วไป อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินสามารถหันมาเลี้ยงปลาได้ หากปล่อยปลาในอัตราที่เหมาะสมจะทำให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นสามารถช่วยลดระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลงได้ นอกจากนี้ยังสะดวกในการดูแลจัดการการเคลื่อนย้าย รวมทั้งการเก็บเกี่ยวผลผลิตและมีการลงทุนต่ำกว่ารูปแบบการเลี้ยงอื่นๆ ในขณะที่ผลตอบแทนต่อพื้นที่สูง อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงปลานิลในกระชังอาจจะมีข้อเสียอยู่บ้าง เช่น ปัญหาโรคพยาธิที่มากับน้ำซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนั้นยังอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องสภาพแวดล้อมหากไม่มีการคำนึงถึงปริมาณและที่ตั้งของกระชัง ตลอดจนความเหมาะสมของลำน้ำ ดังนั้นการเลี้ยงยังขึ้นอยู่กับอาหารสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวทำให้สิ้นเปลืองในการลงทุน 

วัตถุประสงค์ ->

- ต้องการส่งเสริมให้ชุมชนมีการรวมกลุ่มประกอบสัมมาชีพเพื่อสร้างรายได้ ขยายโอกาสให้คนในชุมชนมีงานทำ มีรายได้เพิ่ม มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ลูกปลานิล ขนาด  2  นิ้ว 1200 ตัว

2. อาหารปลา(กินพืช) 4 กระสอบ

อุปกรณ์ ->

1. กระชังปลาขนาด 3 ซม. 4x4 เมตร 1 ลูก

2. ถังพลาสติก ขนาด 200 ลิตรพร้อมฝาปิด 6 ลูก

3. เหล็ก ขนาด 6 หุน ยาว 6 เมตร 10 เส้น

4. ตาข่าย(สะเล็ม) ขนาด 4x4 เมตร 16 เมตร   

5. ตาข่าย (เขียว) ขนาด 4x4 เมตร 16 เมตร

6. เชือกไนลอน 100 เมตร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

- กระชังที่ใช้เลี้ยงต้องมีความแข็งแรง ขนาด 3 x 3 x 2 เมตร หรือ 4 x 6 x 2.6 เมตร ขนาดของกระชังที่ใช้ขึ้นอยู่กับขนาดปลาที่ใช้เลี้ยง วัสดุโครงของแพทำจากโครงเหล็ก ส่วนวัสดุทำจากถังพลาสติก ขนาด 200 ลิตร การแขวนกระชังไม่ควนแขวนให้ติดกันเกินไปและควรสวมกระชังชั้นนอก ขนาดตา 2 นิ้ว อีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันกระชังเสียหาย  

             บริเวณที่จะทำการเลี้ยงปลาในกระชังจะต้องมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากการเลี้ยงปลาในกระชัง เน้นการจัดการเลี้ยงโดยใช้อาหารเป็นหลัก คุณภาพน้ำจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการเลี้ยงปลาในกระชัง โดยปกติแหล่งน้ำที่นำมาเลี้ยงปลาในกระชังควรเป็นแหล่งน้ำที่มีความสมบูรณ์ คือ น้ำจะต้องใสสะอาด มีคุณภาพดี การเลี้ยงปลาในกระชังสามารถทำได้ทั้งในบ่อขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถถ่ายน้ำได้หมด หรือในอ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงทั่วไป โดยมีหลักในการพิจารณาถึงทำเลที่เหมาะสม ดังนี้
          - การถ่ายเทของกระแสน้ำ
          - ความลึกของแหล่งน้ำ เมื่อกางกระชังแล้วระดับพื้นกระชังควรสูงจากพื้นก้นบ่อหรือพื้นน้ำไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เพื่อให้น้ำถ่ายเทได้ดีตลอด
          - ห่างไกลจากสิ่งรบกวน บริเวณที่ลอยกระชังควรห่างจากแหล่งชุมชน
          - ชนิดปลาที่จะเลี้ยงและอัตราปล่อย
          การเลี้ยงในกระชังมีความเหมาะสมต่อการเลี้ยงปลานิล เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย มีความอดทน มีตลาดรองรับ
         - อาหาร การให้อาหารและการจัดการระหว่างการเลี้ยง ควรจะใช้อาหารที่มีคุณค่าทางโปรตีนค่อนข้างสูง
         - การจัดการระหว่างการเลี้ยง ควรมีการตรวจสอบกระชังเพื่อซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดทุกๆ สัปดาห์ รวมทั้งสุ่มปลามาตรวจสอบน้ำหนักเพื่อปรับปริมาณอาหารที่ให้ได้อย่างเหมาะสม
 

ข้อพึงระวัง ->

1.อย่าให้อาหารมากเกินไป
2.ระวังศัตรูปลามารบกวน

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพัทลุง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา