ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำปุ๋ยอินทรีย์และอินทรีย์เคมี

โดย : นายจำนง อรุณรัตน์ วันที่ : 2017-05-05-14:05:17

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ หมู่ที่ 7 ตำบลแหลมโตนด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

             เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้แต่ละครอบครัวมีรายจ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีวิตสูงขึ้น เนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่ในการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป เมื่อก่อนปี พ.ศ.2540 เกษตรกรในตำบลแหลมโตนด ทำการเกษตรโดยใช้ปุ๋ยเคมีจำนวนมาก เมื่อนานเข้าทำให้เกิดสภาพแวดล้อมและมลพิษที่เสื่อมเสีย ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการทำนาสูงขึ้น อาหารที่รับประทานไม่ปลอดภัย นายจำนง  อรุณรัตน์ จึงคิดวิธีผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้เองในการทำนาข้าว ในสวนผลไม้ แปลงผัก ซึ่งได้ผลดี ทำให้ลดต้นทุนในการทำการเกษตรได้อาหารปลอดภัย ทำให้มีความสำเร็จในการประกอบอาชีพ จนเกิดการผลิตข้าวครบวงจร โดยใช้หลัก ปลูกเอง แปรรูปเอง ใช้เอง ขายเอง จนเป็นที่รู้จักและนิยมของผู้บริโภค

วัตถุประสงค์ ->

- เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนลดต้นทุนในการผลิต
- สร้างรายได้เพิ่ม
- ขยายโอกาสให้คนในชุมชนมี มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สิ่งแวดล้อมดี

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. มูลสัตว์ (มูลวัว มูลสุกร มูลไก่)
2. ยูเรีย (46-0-0)

3. ฟอสเฟส (0-3-0)

อุปกรณ์ ->

1. จอบ
2. ถังน้ำ ขนาด 2 ลิตร
3. รถแทรกเตอร์ใช้จอบหมุน หรือโรตารี่

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.นำมูลสัตว์กองบนพื้นซีเมนต์ จำนวน 1 ตัน
2. ยูเรีย (46-0-0) จำนวน 2 กิโลกรัม
3.ฟอสเฟส (0-3-0) จำนวน 25 กิโลกรัม
4. น้ำเปล่า  จำนวน 200 ลิตร
5. ถังน้ำ ขนาดความจุ 200 ลิตร
               คลุกเคล้าวัสดุตามข้อที่ 1-3 ให้เข้ากันด้วยจอบหรือโรตารี่ (จอบหมุนที่ติดกับรถไถ) ราดน้ำให้มีความชื้น 50 % นำกระสอบป่านมาคลุมปิดให้มิดชิด และปฏิบัติดังนี้
               - ครบ 3 วัน กลับกองปุ๋ย 1 ครั้ง
               - ครบ 10 วัน กลับกองปุ๋ย 1 ครั้ง
                - ครบ 3 วัน กลับกองปุ๋ย 1 ครั้ง
                - ครบ 17 วัน กลับกองปุ๋ย 1 ครั้ง
                - ครบ 24 วัน กลับกองปุ๋ย 1 ครั้ง
การกลับกองปุ๋ยทำให้ระบายความร้อน ถ้าไม่กลับปุ๋ยจะไหม้ ความร้อนในกองปุ๋ย 60-70 องศาเซลเซียส เมื่อครบ 24 วันให้ตีปนรวนกันให้ละเอียด นำไปใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ถ้าต้องการให้มีคุณภาพสูง มีค่า N P K ครบ ให้ผสมปุ๋ยเคมีตามชนิดของพืช  

ข้อพึงระวัง ->

1. ต้องกลับกองปุ๋ยตามกำหนดเวลา ป้องกันปุ๋ยไหม้จะทำให้ไม่มีประสิทธิภาพ
2. มูลสัตว์ต้องไม่ดับกลิ่นด้วยโซดาไฟ
3. มูลสัตว์ที่นำมาใช้ต้องแห้ง ไม่มีสิ่งเจอปน เช่น หิน กรวด เศษเหล็ก พลาสติก เศษไม้
4. การทำปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์เคมีต้องใช้ปุ๋ยเคมีให้ตรงกับชนิดของพืช  

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพัทลุง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา