ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำปุ๋ยหมัก

โดย : นางจันทร์หอม ฤทธิเดช วันที่ : 2017-05-03-10:58:01

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 3 ตำบลนาปะขอ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

วัตถุประสงค์ ->

- เพื่อลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

- น้ำเอ็นไซม์ 1 + น้ำตาล 1 + น้ำ 100
- แกลบสด                                                1 กิโลกรัม
- แกลบดำ                                                1 กิโลกรัม
- มูลสัตว์ต่าง ๆ กากถั่วต่าง ๆ ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว      3 กิโลกรัม
- รำละเอียด                                              1 กิโลกรัม
- ขยะสดต่าง ๆ                                           1 กิโลกรัม
- อินทรียวัตถุที่หาได้ในพื้นที่                             1 กิโลกรัม

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีทำ

          1. ผสมน้ำเอ็นไซน์ น้ำตาล และน้ำ ในถังพลาสติก แล้วใช้บัวรดน้ำตักรดทีละชั้น
          2. เกลี่ยกองปุ๋ยหมัก หรือคลุมด้วยแกลบสด หรือฟาง เพื่อไม่ให้ถูกแสงแดดประมาณ 5 วัน  ตรวจดูความร้อนในวันที่ 2 หรือ3 ไม่ต้องกลับกองปุ๋ย ถ้าปุ๋ยกองใหญ่มากใช้เวลา 20 วัน
          3. บรรจุปุ๋ยหมักชีวภาพที่คลุกเคล้ากันดีแล้ว ในกระสอบปุ๋ย สามารถเก็บไว้นานเป็นปี
          - ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ได้จะประกอบด้วยจุลินทรีย์ สารอินทรีย์ต่าง ๆ ที่มีสารอาหารเหมาะสำหรับพืชนำไปใช้ทันที ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่นหอม มีใยสีขาวของเชื้อรา ในระหว่างการหมักถ้าไม่เกิดความร้อนแสดงว่ามีข้อผิดพลาด อุณหภูมิในการหมักที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 40 - 50 องศาเซลเซียส ถ้าให้ความชื้นสูงเกินไป จะเกิดความร้อนนานเกินไป ฉะนั้นความชื้นที่พอดีประมาณ 30 %

วิธีใช้

          1. ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับดินในแปลงปลูกผักทุกชนิดในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อ 1 ตารางเมตร
          2. พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตง ฟักทอง ควรใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพคลุกกับดินรองก้นหลุมก่อนปลูกกล้าผักประมาณ 2 กำมือ รดน้ำให้ชุ่ม ๆ
          3. ไม้ผลควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง ฟาง และปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 กิโลกรัม สำหรับไม้ผลที่ปลูกแล้วใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพแนวทรงพุ่ม 2 กำมือ ต่อ 1 ตารางเมตร แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้ง ใบไม้แห้ง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
          4. ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้กระถางควรใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ เดือนละ 1 ครั้ง ต่อ1 กำมือ  ใช้ 1 กิโลกรัม ต่อ 2-3 ตารางเมตร  
           - ปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เวลาสลายสารอาหารสำหรับพืชเร็วกว่าปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เมื่อใส่ลงดินจะมีความชื้นพอเหมาะ เชื้อจุลินทรีย์ที่ได้ปุ๋ยหมักชีวภาพจะทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้เป็นประโยชน์ต่อต้นไม้ จึงไม่จำเป็นต้องให้ในปริมาณมาก ๆ และในดินควรมีอินทรียวัตถุพวกปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก  และมีความชื้นเพียงพอ ต้นพืชจึงจะได้ประโยชน์เต็มที่จากการใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ แต่ถ้าใส่ครั้งละมากเกินไปอาจทำให้ต้นไม้ตายได้ ส่วนจะให้ครั้งละปริมาณเท่าไหร่ บ่อยครั้งเท่าไหร่ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด กรุณาปริมาณและสังเกตความเหมาะสมด้วย      

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพัทลุง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา