ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การแปรรูปลูกหยี

โดย : นางสุมณฑา ทองนาคขาว วันที่ : 2017-03-24-14:51:20

ที่อยู่ : บ้านที่ 100 หมู่ที่ 12 ตำบลเกาะเต่า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

             ลูกหยี เป็นผลไม้พื้นเมืองภาคใต้ชนิดหนึ่ง  ลักษณะผลเป็นพวง รับประทานเป็นผลสุก ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกเปลือกจะมีสีดำ เนื้อในเป็นสีน้ำตาลรสหวานอมเปรี้ยว แต่นิยมเอามาปรุงรสมากกว่าจะรับประทานสด ๆ ซึ่งทำได้หลายอย่าง เช่น กวน ฉาบน้ำตาล หรือทรงเครื่อง  ปรุงรสใหม่ จะจำหน่ายได้ราคาดีกว่า
             ต้นหยี เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญชอบ ขึ้นในที่ดอน ป่า หรือเชิงเขา ลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เฉพาะกิ่งใบจะมีใบเป็นชุดกิ่งละ 5-7 ใบ ลักษณะคล้ายใบพิกุล ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร กว้าง 5 เซนติเมตร อายุยืนเป็นร้อยปี กว่าจะให้ผลได้ต้นหยีต้องมีอายุ 30 ปีเป็นอย่างน้อย เมื่อให้ผลและถูกเก็บเกี่ยวแล้วจะหยุดให้ผลไปปีหนึ่ง ทั้งนี้เพราะการเก็บเกี่ยวผลต้องใช้วิธีรานกิ่งลงมาเนื่องจากต้นสูงใหญ่มาก กว่าจะแตกกิ่งใหม่และให้ผลอีกจึงต้องใช้เวลาถึง 2 ปี ต้นหยีต้นหนึ่งสามารถทำรายได้ให้กับเจ้าของตั้งแต่ 10,000-15,000 บาท
          ลักษณะ ผลของลูกหยี เมื่อดิบจะเป็นสีเขียว เมื่อสุกเปลือกจะเป็นสีดำ เนื้อในสีน้ำตาล ขนาดผลโตเต็มที่เท่าปลายนิ้วชี้ รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดมีสีดำหรือน้ำตาล ลักษณะแบน การเก็บลูกหยี เมื่อรานกิ่งลงมาแล้ว เด็ดผลออกจากก้าน จากนั้นจึงเอาไปผึ่งแดดให้แห้ง แล้วเอาใส่กระสอบ ฝัดให้เปลือกสีดำกะเทาะออก ใช้กระด้งฝัดเอาเปลือกดำออกจนเหลือแต่เนื้อในสีน้ำตาล นำไปตากแดดอีกครั้งหนึ่ง
              ถ้าจะรับประทานสดก็เพียงแต่แกะ เปลือกสีดำออกก็รับประทานได้แล้ว แต่ถ้าจะให้มีรสอร่อยและเพื่อจำหน่ายให้ได้ราคาจะต้องปรุงรสอีก การปรุงรสลูกหยีให้ได้รสอร่อย นิยมทำกัน 3 วิธีคือ ทำเป็นลูกหยีกวน ลูกหยีทรงเครื่อง และลูกหยีฉาบน้ำตาล

วัตถุประสงค์ ->

สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้ให้กับผู้ผลิต

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ลูกหยี          10  ก.ก.
2. เกลือ           1  ขีด
3. น้ำตาลทราย  5  ก.ก.

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพัทลุง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา