ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำขนมเค้ก

โดย : นางบุญสรอย สังข์นุ้ย วันที่ : 2017-03-23-11:00:17

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 75 หมู่ที่ 3 ตำบลลำสินธุ์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

             เนื่องจากพื้นที่บ้านโหล๊ะไฟ ประชากรส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพหลักในการทำสวนยางพารา และมีเวลาว่างหลังจากทำภารกิจในอาชีพหลักเสร็จสิ้นในแต่ละวันมากพอสมควร จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้างรายได้เพิ่มให้กับครอบครัว
 

วัตถุประสงค์ ->

ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ทำอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. แป้งสาลี

2. เนยเหลือง

3. นมสด

4. ไข่ไก่

5. น้ำมันพืช (ตราองุ่น)     

อุปกรณ์ ->

1. กะละมัง

2. ถาด

3. ตะแกรง

4. เครื่องบดแป้ง

5. เตาอบ

6. ถังแก๊ส

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เค้กที่มีส่วนผสมของไข่เป็นหลัก

เค้กชนิดนี้อาจมีไขมันบ้างเล็กน้อยหรือไม่มีเลย  
วิธีทำ :  ใช้โปรตีนจากไข่ขาวผสมกับครีมออฟทาทาร์ ตีจนขึ้นฟูตั้งยอดแข็ง  จึงเติมส่วนผสมของแป้งลงในไข่ขาวคนเบา ๆให้เข้ากัน   การขึ้นฟูของเค้กชนิดนี้ขึ้นอยู่กับการจับอากาศของไข่ในระหว่างการตีและทำให้เค้กขยายตัว  เพราะฟองที่เกิดจากการตีไข่ขาวมีความอ่อนตัว  ไม่เหมือนกับเค้กที่ใช้ไขมันในการผสมเป็นหลัก   เสร็จแล้วจึงเทใส่พิมพ์ที่สะอาดปราศจากไขมัน  มักนิยมใช้พิมพ์ปล่องตรงกลาง  อุณหภูมิการอบต่ำกว่าเค้กทั่วไป  เพราะเค้กชนิดนี้มีปริมาณน้ำตาลสูง  การทำเค้กประเภทนี้จึงต้องทำด้วยความระมัดระวัง  

เทคนิคการทำเค้ก

การทำเค้กแต่ละชนิดมีวิธีทำและส่วนผสมที่ต่างกัน  ผู้ทำเค้กควรจะมีเทคนิคในการทำคือ
          1. แป้ง   ควรร่อนแป้งทุกครั้งก่อนนำไปตวงใช้ (ยกเว้น การชั่งน้ำหนัก) เพื่อให้อากาศแทรกเข้าไปในระหว่างเนื้อแป้ง  จะทำให้แป้งฟูเบา  แป้งที่จับตัวเป็นก้อนจะกระจายแยกตัวออกจากกัน   ในปัจจุบัน นิยมการชั่งมากกว่าการตวง  เพราะจะได้ปริมาณที่แน่นอนกว่า  และหลังจากการชั่งก็มีความจำเป็นต้องร่อนแป้งให้แป้งกระจายตัวด้วยเช่นกัน
          2. ไขมัน  ไขมันสำหรับทำเค้ก  มีหลายประเภท  ขึ้นอยู่กับชนิดของเค้ก  ได้แก่  
    เนยสด  ทำจากนมวัว  ใส่สีและปรุงกลิ่น  มี 2 ชนิดคือ ชนิดเค็ม และชนิดจืด  เนยสด ควรนำออกจากตู้เย็นวางไว้ในอุณหภูมิห้องปกติก่อน เพื่อให้เนยอ่อนตัว  จะทำให้ตีได้ง่ายขึ้น และเค้กที่กำหนดให้ใช้ไขมันจากเนยสด  ควรผสมด้วยเนยขาวหรือมาการีน เพื่อให้เค้กเนื้อนุ่ม และมีปริมาตรดี
    • เนยขาว   ทำจากไขมันพืช   ไม่ใส่สีและเกลือ
    • เนยแข็ง  ทำจากโปรตีนนมวัว  ราคาแพง   เป็นส่วนผสมหลักในการทำชีสเค้ก
    • มาการีน  ทำจากไขมันพืช  ใส่สี  เกลือ  และปรุงกลิ่น  ส่วนใหญ่ทำมาจาก ไขมันปาล์ม  
    • น้ำมันพืช ใช้สำหรับทำเค้กชิฟฟ่อน  ควรใช้น้ำมันถั่วเหลือง หรือน้ำมันปาล์ม
          3. นม  นมที่ใช้สำหรับการทำเค้ก ได้แก่
    • นมสด คือนมที่รีดออกจากเต้านมของวัว  แพะ แกะ มาใหม่ ๆ และนำไปผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน
    • นมข้นจืดระเหย   คือ นมเข้มข้นที่ผ่านกระบวนการระเหยน้ำออกไปมากกว่าครึ่งหนึ่ง  หากนำมาใช้เป็น

       นมสด สามารถทำได้โดยการเติมน้ำสะอาดลงไปผสมในสัดส่วน 1 ต่อ 1  นมชนิดนี้ได้แก่
       นม ข้นจืดตราคาร์เนชั่น  (ขนมที่อบออกมาจะมีกลิ่นหอมและมีสีสวย)  นมข้นจืดตรานกเหยี่ยว  และนมข้นจืดตรามะลิ (นมข้นจืดตรามะลิ น้ำนมจะค่อนข้างใส ขนมที่อบออกมาจะมีสีขาว สีไม่สวย
    • นมผงขาดมันเนย  คือนมที่ได้จากการสกัดเอาส่วนประกอบที่เป็นน้ำและไขมันออกไปจนหมด  ขนมที่ทำจากนมชนิดนี้ จะมีรสชาติมัน  และกลิ่นไม่แรง
          4. น้ำตาลสำหรับผสมเค้ก
    • น้ำตาลทราย ควรเป็นน้ำตาลเม็ดละเอียด  สีขาว ถ้าใช้น้ำตาลทรายเม็ดใหญ่อาจทำให้ละลายไม่หมด  หน้าเค้กจะมีลักษณะเป็นจุด ๆ ไม่เนียนสวย   จึงควรนำไปปั่นให้ละเอียดก่อนนำมาใช้  (ตวงให้เรียบร้อยก่อนนำไปปั่น  เพราะน้ำตาลปั่นแล้ว จะมีความฟู  ทำให้สัดส่วนการตวงใช้น้ำตาลไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสูตรส่วนผสม)
    • น้ำตาลไอซิ่ง   คือน้ำตาลบดละเอียด  ผสมแป้งข้าวโพด 3 – 4 %  เพื่อไม่ให้น้ำตาลเกาะตัว
    • น้ำตาลอ้อย  น้ำตาลทรายแดง  น้ำตาลสีรำข้าว   ใช้ทำขนมที่ต้องการกลิ่นและสีเป็นการเฉพาะตัว เช่น เค้กผลไม้  เป็นต้น                                        -3-
          5. สารช่วยให้ขึ้นฟู   ได้แก่
    • ผงฟู ชนิด double Action  ขนมจะขึ้นฟู 2 ครั้ง เมื่อโดนของเหลวและความร้อน  ผงฟูที่ใช้ควรมีคุณภาพดี  ถ้าผงฟูเก่าหรือหมดอายุ  ปริมาณหรือขนาดเค้กจะไม่เป็นไปตามที่ต้องการ
    • โซดา   โซดามีฤทธิ์เป็นด่าง  หากใส่มากเกินอัตราส่วนกำหนด  ขนมจะเฝื่อนและฝาด
          6.  สารอื่น ๆ ได้แก่
    • เอสพี  หรือ โอวาเล็ต  เป็นสารที่ช่วยในการตีไข่ทั้งฟอง  เพื่อให้ส่วนผสมอยู่ตัว  ไม่ยุบง่าย สารชนิดนี้นำมาใช้สำหรับการทำสปันจ์เค้ก
    • ครีมออฟทาทาร์  (กรดมะขาม)  ใช้สำหรับการตีไข่ขาวโดยเฉพาะ  เพื่อให้ส่วนผสมขึ้นง่ายและอยู่ตัว  หากไม่มีครีมออฟทาทาร์ให้ใช้น้ำมะนาวทดแทน ในอัตราส่วน 2 เท่าตัว
    • EC 25 K  เป็นสารเคมีสำหรับใส่ในเค้กเนย (Butter Cake) ช่วยให้ขนมขึ้นเร็วและไม่ยุบตัว
          7. กลิ่นปรุงแต่ง  กลิ่นสำหรับปรุงแต่งเค้ก ควรใช้กลิ่นวานิลลาเป็นมาตรฐาน   กลิ่นวานิลลามีคุณสมบัติช่วยดับกลิ่นคาวไข่ไก่ได้เป็นอย่างดี
          8. สี  ได้แก่  
    • สีชนิดผง  ราคาต่ำสุด  ก่อนนำมาใช้ควรละลายน้ำอุ่นเล็กน้อย
    • สีน้ำมัน  เป็นสีที่มีราคาแพง  มีคุณภาพสูง  ขนมสีสวย  เป็นมันวาว  เหมาะสำหรับผสมในไขมันล้วน ๆ เช่น ผสมครีมแต่งหน้าเค้ก

ข้อพึงระวัง ->

             การอบเค้ก เป็นสิ่งสำคัญในการทำเค้ก   ผู้ทำเค้กต้องจดจำให้ได้ว่า เค้กแต่ละชนิดควรใช้อุณหภูมิเท่าใดในการอบ และความแตกต่างในเรื่องระยะเวลาที่ใช้อบก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง  เค้กบางชนิดใช้อุณหภูมิปานกลาง  บางชนิดใช้อุณหภูมิสูง  ฉะนั้น การอบขนมเค้กจึงต้องทำด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ  และก่อนเริ่มลงมือทำเค้กชนิดต่าง ๆ  ควรเปิดอุณหภูมิของเตาอบ ที่เหมาะสมกับการอบเค้กแต่ละชนิดไว้ก่อนล่วงหน้าอย่างน้อย 15 นาที  เพื่อให้ความร้อนในเตาอบกระจายอย่างทั่วถึงสม่ำเสมอ

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพัทลุง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา