ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปุ๋ยอินทรีย์

โดย : นายสมบูรณ์ นาวาล่อง วันที่ : 2017-10-05-15:00:50

ที่อยู่ : 11/2 บ้านนาปาตอ หมู่ที่ 5 ตำบลโคกเคียน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มนุษย์รู้จักการทำปุ๋ยหมักตอนไหนอาจระบุให้ชัดเจนได้ยาก แต่จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ในสมัยจักรวรรดิ์อัคคาเดียน บริเวณที่ราบลุ่มเมโสโปเมียมีบันทึกเรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเพาะปลูกพืช จนมาถึงสมัยโรมัน และกรีกก็มีหลักฐานบันทึกไว้เช่นกัน โดยมีการใช้สารอินทรียใส่ในแปลงปลูกพืช และมีการพัฒนาการนำอินทรีย์วัตถุมากองรวมกันก่อนที่จะนำไปใช้คล้ายกับวิธีการทำปุ๋ยหมักด้วยการกองในปัจจุบัน

Sir Albert Howard ถือว่าเป็นผู้ริเริ่ม และมีการศึกษาเกี่ยวกับปุ๋ยหมักไว้เป็นผู้แรกๆ โดยกำหนดแนวทางการทำปุ๋ยหมักไว้ว่า ปุ๋ยหมักที่ดีต้องใช้เศษพืชกับมูลสัตว์ในอัตราส่วน 3 : 1 และควรนำวัสดุมากองรวมกันเป็นชั้นๆ พร้อมให้คลุกกลับกองปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ ต่อมาสถาบัน ICAR เมือง Bangalore ประเทศอินเดียได้พัฒนาวิธีการทำปุ๋ยหมักแบบใหม่ขึ้น ด้วยการนำดินมากลบกองปุ๋ยหมักเพื่อทำให้เกิดสภาพไร้อากาศ แต่วิธีนี้จะมีการย่อยสลายของจุลินทรีย์ช้ากว่าแบบมีอากาศ แต่จะมีข้อดีที่ไม่ต้องดูแลมาก เรียกวิธีนี้ว่า Bangalore Method

ระหว่างปี ค.ศ. 1920-1930 ประเทศในแถบทวีปยุโรปได้มีการพัฒนากระบวนการทำปุ๋ยหมัก และมีการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการจัดการ ทำให้สามารถทำปุ๋ยหมักได้ในปริมาณมาก และทำได้สะดวกขึ้น ซึ่งขณะนั้น Dr. Giovanni Beccari ประเทศอิตาลี ได้คิดค้นกระบวนหมักแบบไม่ใช้อากาศในขั้นแรก และต่อมาจะใช้กระบวนการหมักแบบใช้อากาศ เรียกวิธีนี้ว่า Beccari Process และต่อมาประเทศฝรั่งเศสได้ปรับปรุงกระบวนการหมักด้วยการพ่นอากาศเข้าในกองปุ๋ยหมักเพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศ และระบายของเหลวออก เรียกวิธีนี้ว่า Verder Process

ปี ค.ศ. 1931 Jean Bordas ได้ดัดแปลงกรรมวิธีการหมักแบบ Indore Process โดยตัดขั้นตอนแรกที่ปล่อยให้ย่อยสลาย โดยกระบวนการที่ไม่ต้องการอากาศออก แต่มีการพ่นอากาศเข้าไปในถังที่ใช้สำหรับทำปุ๋ยหมัก ในประเทศเนเธอร์แลนด์เมื่อปี 1932 ได้มีการใช้วิธี V.I.M. Process โดยยึดวิธีการของ Indore Process เป็นหลักซึ่งใช้ขยะเทศบาลเป็นวัตถุดิบในการทำปุ๋ยหมักเป็นกองยาวและสูงมีการระบายน้ำส่วนเกินออกและนำกลับไปพ่นในกองใหม่อีกครั้งหนึ่ง และอาศัยเครื่องสำหรับบดขยะให้ละเอียด ต่อมาในประเทศสหรัฐอเมริการ ในช่วงปี ค.ศ. 1942 J.I Rodale ได้ส่งเสริมให้ใช้ปุ๋ยหมักจากวิธี Indore Process สำหรับการเพาะปลูก ตั้งแต่นั้นมา ได้การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับหลักการการผลิตปุ๋ยหมักได้อย่างแพร่หลาย โดยได้มีการปรับปรุง และพัฒนากระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมาตลอด

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี

2. เพื่อบำรุงรักษาดิน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-

ข้อพึงระวัง ->

สูตรของผสมหมักแต่ละสูตร เป็นสูตรเฉพาะ(ลับ)

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพังงา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา