ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำผ้าปัก

โดย : นางศิริพร บุญกาล วันที่ : 2017-04-23-22:31:35

ที่อยู่ : 9/5 ม.1 ต.ตากแดด อ.เมืองพังงา จ.พังงา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากชาวตากแดด ส่วนมากนิยมนำผ้าปาเต๊ะเป็นเครื่องแต่งกายประจำท้องถิ่น โดยนิยมแต่งกับชุดบ้าบ๋า ย่าหยา  โดยพยายามมุ่งเน้นออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ผู้คนให้ความนิยมในท้องถิ่นของเมืองพังงา เน้นให้มีลวดลายที่โดดเด่น สะดุดตา และสวยงามประณีตต่อผู้พบเห็น วัสดุ สี ลูกปัด วัตถุดิบ ที่เลือกใช้ในงานต้องเป็นวัสดุที่คัดสรรอย่างมีคุณภาพ ด้วยลวดลายที่บ่งบอกถึงความงามที่มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนอย่างลงตัว ซึ่งเป็นที่นิยมของสตรีทุกวัย

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นการสร้างรายได้ และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ รวมทั้งเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กับคนในชุมชนด้วย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ผ้าปาเต๊ะ (เนื้อดี)

2.เลื่อมหรือลูกปัดสี (ตามชอบ)

3.ด้าย (สีด้ายให้เข้ากับลูกปัด)

4.ผ้ากาว (สำหรับอัด)

อุปกรณ์ ->

1.เข็มปักผ้า

2.กรรไกร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

  1. เมื่อเริ่มปักผ้า ต้องทำการเทียบสีลูกปัดกับผ้าปาเต๊ะ เพื่อให้สีลูกปัดเกิดความสวยงามสะดุดตา ในการปักผ้าให้ออกแบบมาในลักษณะไหน เราต้องใส่ความคิดสร้างสรรค์ ใส่ตามจินตนาการของผู้ปัก อาจจะปักให้ดูอ่อนหวาน เก๋ เปรี้ยว หรือต้องการให้มีความโดดเด่น สามารถเล่นลวดลายได้หลายแบบไม่มีการกำหนดตายตัว สามารถนำสีเพ้นท์เข้ามาเติมแต่งได้ตามชอบ เพื่อเพิ่มความสวยงามแปลกตา และจำเป็นต้องใช้ความชำนาญและประสบการณ์ในการปักด้วย เช่นกัน
  2. ตั้งแต่เริ่มต้นจนผลิตภัณฑ์เสร็จเรียบร้อย เป็นกระบวนการการผลิตที่ใช้เวลาอย่างน้อย 10-12 วัน (หากเป็นผ้าที่มีความละเอียดมากๆ อาจจะต้องใช้เวลาปักอย่างน้อย 12-15 วัน / ชิ้นงาน) ได้ผลิตภัณฑ์ที่พร้อมออกจำหน่ายต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพังงา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา