ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การสานเข่ง

โดย : นายนพ หวลอารมณ์ วันที่ : 2017-03-04-10:16:24

ที่อยู่ : 165 หมู่ 16 บ้านสร้อยศรีพัฒนา ตำบลจุน อำเภอจุน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เข่ง เป็นภาชนะที่ใช้กันมาแต่โบราณ เพราะทำจากไม้ไผ่ ซึ่งเป็นวัตถุดิบ ที่หาได้ในท้องถิ่น และนิยมใช้เพราะ แข็งแรงทนทาน อายุการใช้งานนาน ทำให้เป็นที่นิยม ผมจึงเริ่มสานเข่งขายเพื่อสร้างรายได้เสริม

วัตถุประสงค์ ->

-เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

-เพื่อทำไว้เองในครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-ไม่ไผ่

อุปกรณ์ ->

-เหล็ก

-มีด

-น้ำ

-เส้นพลาสติกสำหรับทำขอบและหูหิ้วเข่ง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-เป็นการเลือกไม้ก่อน ไม้ที่ทำจะใช้ไม้ ไผ่บ้าน เพราะมีขนาดใหญ่จักเป็นตอกได้ง่าย อายุไม้ไม่ควรต่ำกว่าหนึ่งปี ยิ่งแก่เท่า ใดยิ่งดี เพราะไม้ที่อ่อนจะทำให้เข่งไม่แข็งแรงทนทานต่อการใช้งาน โดยจะ ตัดเอาส่วนต้น การจักเป็นตอกจะลำบากถ้า เอาส่วนปลายเส้นต้องไม่สม่ำเสมอและไม้มักจะ ปลายด้วน เพราะจักแล้วเส้นตอกมักจะขาดและ ไม่มีแมลงเจาะเพราะไม้ที่มีแมลงเจาะแล้ว เมื่อจักเป็นตอกจะได้เส้นตอกน้อย
-นำไม้มาตัดเป็นท่อน ๆ ประมาณ 2-3 วาแล้วผ่าซีกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ เรียกว่า "จักตอก" โดยการผ่าจากลำต้นไป ทางปลายไม้ให้ได้ขนาดความกว้างประมาณ 1เซนติเมตร หนาประมาณ 1 มิลลิเมตร ใช้เป็นส่วนที่ใช้สานเรียก ว่า "ตอกสาน" และแยกทำเป็นชิ้นเล็ก ๆ หนาประมาณ 1 มิลลิเมตรกว้าง 2 มิลลิเมตร เพื่อใช้สาน ตรงขอบปากเข่งเพิ่มความแข็งแรงอีก 5- 11เส้นเรียก ตอกไพ ตัดไม้ให้ได้ตามความ ยาวอีก 3-4 ศอก แล้วผ่าจักเป็นตอก หนา 1.5 กว้าง 1 เซนติเมตร ใช้เป็นโครงสร้าง ของเข่งเรียกว่า ตอกทางชั่ง
-เริ่มสานโดยใช้ตอกทางชั่ง สานลายขัดจน ได้ขนาดเท่ากับเข่งแม่แบบ แล้วนำไปวาง ไว้ที่ก้นเข่งแม่แบบ แล้วตักตอกให้งอ ไปตามเข่งแม่แบบแล้วใช้ตอกสานโดยสาน ขัดไปเรื่อย ๆ จนเหลือขอบแข่งประมาณ 2 นิ้วเปลี่ยนมามาใช้ตอกไฟ สานแทนจนถึงขอบ เข่งแล้วหักพับตอกชั่งสอดสานย้อนกลับมา ทางกันเข่งแล้วใช้ตอกสอดทำเป็นหูหิ้ว ทั้งสองข้างจะได้เข่ง 1 ใบเทคนิคการทำ เข่งจะต้องเลือกไม้ที่ไม่อ่อนจนเกินไป อาจ ใช้ส่วนผิวของไม้ เรียกว่า ติวไม้สานทั้ง หมดเพื่อความแข็งแรง หรือสานเป็นบางส่วนสลับ กันเพื่อลวดลายให้สวยงามน่าใช้ก็ได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพะเยา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา