ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงโคขุน

โดย : นายกิติพงศ์ เวียงลอ วันที่ : 2017-03-04-10:06:57

ที่อยู่ : 102 ม.7 ต.ลอ อ.จุน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เริ่มจากเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมืองอยู่แล้ว และมีความอยากเลี้ยงโคขุน เนื่องจากราคาดีกว่าวัวปกติทั่วไป ได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงโคขุนจึงกลับมาทดลองเลี้ยงและได้ผล

วัตถุประสงค์ ->

-เลี้ยงไว้บริโภคในครัวเรือน

-เพื่อเพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-พันธุ์วัว

อุปกรณ์ ->

โรงเรือน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

แหล่งของโคที่นำมาขุน อาจได้จากลูกโคในคอกผู้เลี้ยงเองหรือซื้อลูกโคจากแหล่งขายโคต่างๆ เช่น ตลาดนัดโค-กระบือ

โคขุน และการเลี้ยงโคขุน หมายถึง การเลี้ยงโคที่ยังอายุน้อยให้เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้นๆ โดยการให้อาหารแก่โคที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งอาหารหยาบ และอาหารข้นอย่างเต็มที่ ในสภาพการเลี้ยงแบบขังคอกอย่างเดียวหรือร่วมกับการปล่อยแปลงหญ้า

-

การจัดเตรียมอาหารข้น
อาหารข้นประกอบด้วย อาหารประเภทพลังงาน อาหารประเภทโปรตีน เกลือแร่ วิตามิน และสารเสริมต่างๆ วัตถุดิบที่ต้องใช้ปริมาณมากที่สุด คือ อาหารพลังงาน เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ปลายข้าว รำ และมันสำปะหลัง การที่จะเลือกใช้ชนิดใดนั้น ขึ้นกับราคาในขณะนั้น และความสะดวกในการจัดหา

สำหรับอาหารโปรตีนที่นิยมใช้ คือ ใบกระถิน และยูเรีย แต่การใช้ยูเรียมีข้อจำกัด คือ สามารถใช้ยูเรียได้ไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ของอาหารข้น และต้องผสมให้เข้ากันดี มิฉะนั้นแล้ว ถ้าโคตัวใดได้รับยูเรียเข้าไปมากเกินไปก็จะถึงตายได้ และควรใช้กับโคที่มีตั้งแต่อายุ 7 เดือนขึ้นไป ส่วนเกลือป่น และกระดูกป่น จำเป็นต้องมีอยู่ในอาหารข้นประมาณ 1-2 เปอร์เซ็นต์ ถ้าโคกินฟางเป็นอาหารหลัก อาจเพิ่มแคลเซียมจากเปลือกหอย หรือปูนมาร์ล 0.5% วิตามินส่วนใหญ่จุลินทรีย์ในกระเพาะสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาอย่างเพียงพอ ยกเว้นวิตามินเอซึ่งร่างกายต้องการในปริมาณมาก อาจต้องเสริมลงในอาหารข้นบ้าง แต่ถ้าโคกินหญ้าสด หรืออาหารข้นที่มีข้าวโพด และใบกระถินอยู่พอควรก็ไม่ต้องเติม ส่วนรำเป็นอาหารที่ดี แต่มีปัญหาเรื่องการหืน จึงไม่ควรใช้รำเกิน 30 เปอร์เซ็นต์ ข้าวโพด และข้าวฟ่างที่ใช้ผสมอาหารควรบดเพียงหยาบๆ หรือเพียงบีบให้แบนยิ่งดี

ข้อพึงระวัง ->

อาหารที่เป็นพิษ
1. ข้าวนึ่ง
โคชอบกินข้าวนึ่ง เนื่องจากเป็นแป้งสุกที่ทีรสหวาน เมื่อโคกินเข้าไปจะเกิดการหมักของจุลินทรีย์ทำให้เกิดแอลกอฮอล์ และกรดในระบบทางเดินอาหาร จนกัดกระเพาะได้ ซึ่งไม่มียารักษา แต่ป้องกันได้โดยไม่ให้โคกินข้าวนึ่งหรือให้กินในปริมาณน้อย

2. ปุ๋ยยูเรีย
ปุ๋ยยูเรียที่ใช้สำหรับอาหารโคนิยมใช้สำหรับผสมกับอาหารหยาบ เพื่อช่วยในการหมัก และเป็นแหล่งเสริมโปรตีน ซึ่งต้องผสมในอัตราที่พอเหมาะ

3. มันสำปะหลัง
มันสำปะหลังสด ทั้งใบสด และหัวสด มีสารพิษไซยาไนด์ ถ้าโคกินมากจะทำให้โคป่วยตายได้ รวมถึงเกิดแก๊สในกระเพาะมากทำให้โคท้องโตจากแก๊สได้ แต่สามารถลดพิษได้โดยการนำใบหรือหัวที่ผ่าแล้วมาตากแดดแดดให้แห้งก่อน

4. ถุงพลาสติกหรือผ้า
โคมีพฤติกรรมที่ชอบเลีย และกินถุงพลาสติกหรือเสื้อผ้า เพราะมีรสจากการปนเปื้อนของอาหาร  สิ่งเหล่านี้ เมื่อโคกินเข้าไปจะย่อยไม่ได้ และเกิดอุดตันในระบบทางเดินอาหาร ทำให้โคจะกินอาหารน้อยลง และสูบผอม ซึ่งไม่มียารักษา ป้องกันได้โดยหมั่นเก็บถุงพลาสติก เศษผ้า หรือวัสดุต่างๆออกจากบริเวณเลี้ยงให้หมด

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพะเยา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา