ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะชำกล้าไม้

โดย : นายหมวก สะสาง วันที่ : 2017-03-04-09:58:50

ที่อยู่ : ๑๕๒/๒ หมู่ ๔ บ้านเซี๊ยะ ตำบลจุน อำเภอจุน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเพาะชำกล้าไม้เป็นการขยายพันธ์ุไม้ผล เพื่อกินหรือขาย และอีกอย่างคือการช่วยปลูกป่าเพื่อลดโลกร้อน โดยใช้กล้าไม้ที่มีคุณภาพซึ่งคุณภาพของกล้าไม้ก็มีผลสืบเนื่องมาจากการใช้เมล็ดไม้พันธุ์ดีมีคุณภาพและการปฏิบัติในการเพาะชำกล้าไม้ตั้งแต่เมล็ดจนเป็นต้นกล้าและบำรุง รักษาก่อนนำไปปลูก

วัตถุประสงค์ ->

-เพื่อขยายพันธุ์ไม้ผลไว้ปลูกกิน

-เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

-เพื่ออนุรักษ์ป่าไม้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-พันธุ์ไม้ที่ต้องการขยายพันธุ์

อุปกรณ์ ->

ถุงพลาสติกสีดำชนาด
4x6 นิ้ว : ขนาดที่ใช้เพาะชำทั่วไป
3x5 นิ้ว : ขนาดที่ใช้เพาะชำกล้าไม้ที่โตเร็ว
6 x 10 นิ้ว : ขนาดที่เปลี่ยนจากถุง 4 x 6 เมื่อมีอายุ 1 ปี

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเพาะเมล็ดไม้ (Seed sowing)
          
1. นำเมล็ดชำลงถุงดินโดยตรง วิธีนี้ใช้กับเมล็ดขนาดใหญ่ เช่น มะค่าโมง 
          2. เพาะในกระบะเพาะหรือแปลงเพาะก่อนย้ายชำ โดยวิธหว่านให้กระจายทั้งกระบะเพาะ หรือแปลง
ระยะห่างระหว่างเมล็ดขึ้นอยู่กับขนาด   เมล็ดชนิดไม้ปัจจัยที่จำเป็นต่อการงอกของเมล็ดไม้ใน ระยะแรกมี 
ความชื้น(น้ำ) ออกซิเจน อุณหภูมิ และ แสงสว่างที่เหมาะสม
                               
    การเตรียมถุงดิน (Soil bag preparation or Potting)
            
- ต้องเตรียมถุงให้เหมาะกับขนาดของกล้าไม้ ขนาดที่ใช้เพาะชำทั่วไป 4 X 6 นิ้ว 
            - วิธีการกรอกดิน กรอกดินให้เต็มและกดมุมถุงให้แน่น
            - การเก็บมุมก้นถุงเข้าในเพื่อให้ก้นถุงแบน และการวางถุงสะดวก เพื่อการจัดวาง เรียงถุงให้เป็นระเบียบ โดยจัดเรียงให้เป็น
แถว เพื่อสะดวก ในการทำงาน การตรวจนับจำนวนกล้าไม้ และการรอดตาย
  
    การย้ายชำ ( Pricking ) 
            
ขนาดของกล้าอ่อนในการย้ายชำกล้าไม้ แต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดไม้
                  หลักในการพิจารณาว่าต้นกล้าแข็งแรงสมบูรณ์ มีรากอ่อน ( Radicle ) ลำต้นอ่อน ( Hypocotyl ) ยอดอ่อน
( Plumule ) ที่จะพัฒนาเป็นต้นกล้าที่สมบูรณ์ได้และไม่ควรย้ายชำหากต้นกล้ามีรากที่ยาวเกินไปเพราะจะขดงอทำให้
เจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ 

    การบำรุงรักษากล้าไม้ ( Tending )
         
 การบำรุงรักษากล้าไม้ คือการปฏิบัติต่อกล้าไม้ หลังการย้ายชำกล้าอ่อนจนกระทั่งกล้าไม้มีอายุและขนาดตามที่ต้องการ 
พร้อมที่จะนำไป ปลูกในพื้นที่จริง มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
           1.การรดน้ำ ( Watering)
                -ในสัปดาห์แรกของการย้ายชำ ควรรดน้ำทั้งเช้า - เย็น ด้วยฝักบัวฝอยละเอียด เพราะกล้าไม้มีขนาดเล็ก ไม่แข็งแรง และ
รากของกล้า ไม้ยังไม่หยั่งลึกลงในวัสดุชำ
                - หลังจากสัปดาห์แรกควรรดน้ำวันละครั้ง ให้วัสดุชำชุ่มชื้นทั่วทั้งถุง หากดินในถุงชำแห้งเร็วเพิ่มการรดน้ำเป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น 
           2. การใส่ปุ๋ย (Fertilizer Application)
                กล้าไม้ที่เจริญเติบโตในถุงชำ การให้ปุ๋ยกับกล้าไม้ก็ไม่จำเป็นเท่าใดนัก แต่ในกล้าไม้หลายชนิดที่ต้องใช้ระยะเวลาเจริญ
เติบโตให้ได้ ขนาดที่ต้องการนานหลายเดือน การให้ปุ๋ยแก่กล้าไม้นับว่ามีความสำคัญยิ่ง
           3. การกำจัดวัชพืช (Weeding)
                เมื่อกล้าไม้อายุเกิน 1 เดือน ควรทำการถอนวัชพืชทุกสัปดาห์ หรือเดือนละครั้ง ถ้าต้นกล้าไม่สมบูรณ์มีโรคและแมลง
รบกวน ก็ควรทำ การถอนและเผาทำลายทิ้ง บางครั้งอาจต้องใช้สารเคมีกำจัดหรือควบคุมวัชพืช 
           4. การป้องกันและกำจัดวัชพืช (Pest and disease control) 
               เช่น แมลงกัดกินใบ เชื้อราทำลาย โดยหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอ ถ้าตรวจสอบพบควรรีบกำจัดด้วยการใช้สารเคมีป้องกัน
กำจัดแมลงศัตรู พืช

     การคัดกล้าและการจัดเรียงลำดับความสูง ( Culling and Grading ) 
            
กล้าไม้ภายหลังจากการย้ายชำจะมีการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน เนื่องมาจากลักษณะทางกรรมพันธุ์ ของเมล็ด และปัจจัย
สิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ทำให้กล้าไม้มีทั้งสมบูรณ์ มีขนาดโตและต้น แคระแกรน หากปล่อยไว้ไม่ทำการใดๆ กล้าไม้ต้นเล็กแคระแกรนจะ ถูกเบียดบังไม่เจริญเติบโตหรืออาจตายไปในที่สุด ดังนั้นขณะที่ทำการเลื่อนและตัดรากกล้าไม้ภายในแปลงชำเดียวกันก็จะทำการคัด
กล้าและจัดเรียงลำดับความสูงของกล้าควบคู่กันไปด้วย โดยเรียงลำดับเป็นแถว ๆ ต้นกล้าที่มีความสูงที่สุดจัดไว้บริเวณหัวแปลงเรียง ไปต่ำสุดที่ท้ายแปลง เพื่อให้ต้นกล้าได้รับแสงสว่างและน้ำอย่างทั่วถึงกล้าไม้ที่มีลักษณะไม่ดี มีโรคและแมลงทำลาย ไม่
่สามารถจะบำรุงให้ เป็นกล้าที่สมบูรณ์ได้ ควรคัดและทำลายทิ้งกล้าไม้ที่คาดว่าจะสามารถบำรุงให้สมบูรณ์ได้อาจคัดแยก
ไปเรียงเป็นแปลงอีกต่างหากเพื่อสะดวกต่อการให้ปุ๋ยเป็นกรณีพิเศษ     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อพึงระวัง ->

-ให้ระวังโรคตามฤดูกาล

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพะเยา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา