ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทำนา

โดย : นายมนัส ตาคำ วันที่ : 2017-03-04-09:53:46

ที่อยู่ : 42 ม.4 ต.หงส์หิน อ.จุน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำนาเป็นอาชีพที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน  จากรุ่นสู่รุ่น  ทำให้คุ้นเคยกับการทำนามาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก แต่เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้สารเคมีกันมากขี้น ทำให้ข้าวที่กินมีการปนเปื้อนไม่ปลอดภัยเท่าที่ควร  

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว

เพื่อได้รับประทานข้าวที่ปลอดภัย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เมล็ดพันธ์

อุปกรณ์ ->

- คันไถ 
แอก 

- คราด 

ก๋วยกล้า 

- ม้าหาบข้าว

-ไม้หาบกล้า
- ตอก 

- จอบ 

- คันไถ

- เคียว

- ไม้หนีบ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เมื่อนำเมล็ดข้าวไปเพาะให้งอก โดยแชน้ำนานประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วนำเมล็ดขึ้นจากน้ำและเก็บไว้ในที่มี ีความชื้นสูงเมล็ด จะงอก ภายใน 48 ชั่วโมง จึงนำเมล็ดที่เริ่มงอกเหล่านี้ไปปลูกในดินที่เปียก ส่วนที่เป็นรากจะเจริญเติบโตลึกลงไปในดิน ส่วนที่เป็น ยอดก็จะสูงขึ้นเหนือผิวดินแล้วเปลี่ยนเป็นใบ ต้นข้าวเล็กๆนี้เรียกว่า “ต้นกล้า” หลังจากต้นกล้ามีอายุ ประมาณ 40 วัน จะมีหน่อใหม่เกิดขึ้นโดยเจริญเติบโตออกจากตา บริเวณโคนต้น ต้นกล้าแต่ละต้นสามารถแตกหน่อใหม่ประมาณ 5-15 หน่อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธ์ ข้าวระยะปลูก และความอุดมสมบูรณ์ของดิน แต่หน่อต้นกล้าให้ร่วงข้าวหนึ่งรวง แต่รวงข้าวมีเมล็ดข้าวประมาณ 100-200 เมล็ด โดยปกติต้นข้าวที่โตเต็มที่แล้วจะมีความสูงจากพื้นดินถึงปลายรวงที่สูงที่ สุดประมาณ100-200 เซนติเมตรซึ่งแตกต่างไปตามพันธุ์ ข้าว ตลอดจนถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินและความลึกของน้ำ

ข้อพึงระวัง ->

ปล่อยให้ดินนามีโอกาสแห้งสนิท เพื่อเป็นระยะเวลานานพอสมควร และถ้าสามารถไถพลิกดินล่างขึ้นมาตากให้แห้งได้ก็จะดียิ่งขึ้น ถ้าดินเปียกน้ำติดต่อๆกันโดยไม่มีโอกาสแห้ง จะเกิดการสะสมของสารพิษ เช่นแก๊สไข่เน่าเป็นต้น ซึ่งถ้าแก๊สนี้มีปริมาณมากก็จะเป็นอันตรายต่อต้นข้าวของเราได้ในโอกาศนั้น 
- ควรให้มีการปล่อยน้ำในนาขังไว้อย่างน้อยประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้กระบวนการสลายตัวของอินทรียเพื่อให้วัตถุเสร็จสิ้นก่อน ดินจะปรับตัวอยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าและจะปลดปล่อยธาตุอาหารที่จำเป็นออกมาให้แก่ต้นข้าวอีกด้วยดินกรดจัดหรือดินเปรี้ยวจัด หรือดินกรดกำมะถัน เป็นดินที่มีสารที่จะก่อให้เกิดความเป็นกรด  แก่ดินได้มากเมื่อสัมผัสกับออกซิเจนในอากาศ ดินพวกนี้จึงจำเป็นต้องขังน้ำไว้ตลอดเพื่อไม่ให้สารดังกล่าวได้สัมผัสกับออกซิเจน จึงควรที่จะขังน้ำไว้อย่างน้อย 1 เดือน ก่อนปักดำข้าว เพื่อให้ปฏิกิริยาต่างๆ ตลอดจนความเป็นกรดของดินลดลงสู่สภาวะปกติ และค่อนข้างเป็นกลางเสียก่อน ดินกลุ่มนี้ถ้ามีการขังน้ำตลอดปี หรือมีการทำนาปีละ 2 ครั้ง ก็จะเป็นการลดสภาวะความเป็นกรดของดิน และการเกิดสารพิษลงได้ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตของข้าวสูงขึ้น

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพะเยา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา