ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทำเครื่องดนตรี สะล้อ ซอ ซึง

โดย : นายทนงชัย ชายวิชัย วันที่ : 2017-03-04-09:29:27

ที่อยู่ : ๗๔/๒ หมู่ ๑๔ บ้านดอนไชยพัฒนา ตำบลจุน อำเภอจุน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สะล้อป็นเครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้คันชักสี

ความเป็นมาของการทำสะล้อ ซอ ซึง สืบเนื่องมาจากพ่อเป็นคนที่มีความรู้ทางด้านช่างซอ ส่วนผมก็ได้คิดค้นมาเองจนถึงปัจจุบันเป็นผู้สอนดนตรีพื้้นเมืองให้เด็กนักเรียนตลอดมาจนถึงทุกวันนี้

วัตถุประสงค์ ->

-เพือสืบสานวัฒนธรรมล้านนาให้ชนรุ่นหลัง

-คงความเป็นเอกลักษณ์ของดนตรีล้านนา

-เพื่อถ่ายทอดให้กับคนรุ่นใหม่

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

-กะลา

-ไม้คันทวน

-ลูกบิด

-สายโลหะ

-หางม้า

-ยางสนหรือชัน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

สะล้อ ประกอบด้วยหน้ากล่องเสียงทำด้วยกะลามะพร้าว ซึ่งตัดด้านหนึ่งออกไปเหลือประมาณ ๒ / ๓ ของกะลาทั้งลูก ตรงที่ถูกตัดออกไปนั้นปิดด้วยไม้เรียบบาง ๆ ซึ่งเรียกว่า “ ตาดสะล้อ ” คันทวน ของสะล้อเป็นไม้กลมทำจากไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ ๖๔ เซนติเมตร เสียบทะลุกล่องเสียง ใกล้ ๆ ขอบที่ปิดด้วยตาด ปลายคันทวนเสียบลูกบิด ๒ อันในลักษณะทแยงเข้าไปในคันทวน มีไว้สำหรับผูกสายสะล้อและตั้งสาย สายนิยมใช้สายโลหะมากกว่าสายเอ็นเหมือนซอด้วงและซออู้ ส่วนมากทำจากลวดสายห้ามล้อรถจักรยาน คันชักสะล้อทำด้วยไม้ โค้งงอคล้ายคันศร ขึงด้วยหางม้าหรือสายไนลอน ทบไปทบมาหลายสิบทบ ไม่เอาคันชักขัดไว้ระหว่างสายเหมือนกับซออู้และซอด้วง สิ่งที่ใช้เสียดสีกับสายของคันชักเพื่อให้เกิดความฝืดในขณะสี ได้แก่ ยางสนหรือชัน ซึ่งติดไว้บนกะลาตรงจุดที่ใช้สายคันชักสัมผัสให้เกิดเสียง สะล้อมี ๓ ขนาด ได้แก่

๑ . สะล้อเล็ก มี ๒ สาย

๒ . สะล้อกลาง มี ๒ สาย

๓ . สะล้อใหญ่ มี ๓ สาย มีวิธีการเล่นซอสามสายแต่ไม่เอาคันชักไว้ระหว่างสาย

 

ข้อพึงระวัง ->

-

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพะเยา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา